สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ - ธนาคารกสิกรไทย

สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ - ธนาคารกสิกรไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ   สรุปภาวะตลาดเงิน           - USD/THB อยู่ที่ระดับ 30.45 โดยเงินบาทปรับแข็งค่า โดยมีแรงหนุนการลงทุนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวดีขึ้น แต่การแข็งค่าเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากนักลงทุนยังเลี่ยงการเข้าซื้อเงินบาทล็อตใหญ่   วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ 30.50           - EUR/USD อยู่ที่ 1.434 ปรับตัวลงจาก 1.441 ในช่วงต้นสัปดาห์ อันเป็นผลจากการปรับตัวขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ หลังเฟดไม่มีการ  ส่งสัญญาณถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม วันนี้คาดปรับตัวลงไปที่ 1.426           - USD/JPY ขยับขึ้นไปที่ระดับ 80.34 ตามการปรับตัวขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่เฟดย้ำว่าจะยุติโครงการ QE2 ตามเดิม วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ 81.20   ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์           - ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนส.ค. ขยับขึ้น 1.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดตลาดที่ 95.41 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมีแรงหนุนหลังทางการสหรัฐฯ รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันปรับตัวลงเกินคาดในช่วงสัปดาห์ทีผ่านมา อย่างไรก็ดีการแข็งค่า ของดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ราคาน้ำมันลดช่วงบวกลงในช่วงท้ายตลาด           - ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนส.ค. ปรับตัวขึ้น 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดตลาดที่ 1,553.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำทะยานขึ้นแตะระดับ 1,557.75 ในช่วงระหว่างวัน ก่อนลดช่วงบวกในช่วงท้ายตลาดจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งสัญญาณถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม   ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ           - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยุติการปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วัน โดยวานนี้ดัชนีปรับตัวลงหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีการปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้และปีหน้าลง และไม่ได้มี   การระบุว่าจะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงต่อไป           - โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 80.34 จุด ปิดตลาดที่ 12,109.67 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 8.38 จุดปิดที่ 1,287.14 และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 18.07 จุด ปิดตลาดที่ 2,669.19 จุด   อัตราดอกเบี้ย สหรัฐฯ        Fed Funds rate                    0-0.25%              Discount rate                       0.75% ไทย          ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (Repo rate)  3.0%   ยอดซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาติ           - ตลาดหุ้นไทย ปิดลบ 3.86 จุด ปิดตลาดที่ 1,023.86 จุด โดยดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในช่วงบ่าย หลังมีแรงขายหุ้นในกลุ่มพลังงานและแบงก์ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิออกมา 608.49 ล้านบาท           - ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงเพราะนักลงทุนบางส่วนไม่มั่นใจการลงทุน โดยมีความกังวลปัญหาหนี้ในยุโรป    และการเมืองในประเทศ จึงทยอยขายออกมาในช่วงที่ราคาปรับตัวขึ้น แต่คาดว่าการที่ราคาอ่อนตัวลงจะเป็นจังหวะให้นักลงทุน   ระยะกลางและยาวทยอยเข้าซื้ออีกครั้ง   ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์           - ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนส.ค. ขยับขึ้น 1.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดตลาดที่ 95.41 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมีแรงหนุนหลังทางการสหรัฐฯ รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันปรับตัวลงเกินคาดในช่วงสัปดาห์ทีผ่านมา อย่างไรก็ดีการแข็งค่า ของดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ราคาน้ำมันลดช่วงบวกลงในช่วงท้ายตลาด           - ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนส.ค. ปรับตัวขึ้น 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดตลาดที่ 1,553.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำทะยานขึ้นแตะระดับ 1,557.75 ในช่วงระหว่างวัน ก่อนลดช่วงบวกในช่วงท้ายตลาดจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ไม่ได้ส่งสัญญาณถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม   ตลาดเงินนิวยอร์ค           - EUR/USD อยู่ที่ 1.434 ปรับตัวลงจาก 1.441 ในช่วงต้นสัปดาห์ อันเป็นผลจากการปรับตัวขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ หลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) วานนี้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป และไม่มีการส่งสัญญาณถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม           - วานนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่   0-0.25% ต่อไป พร้อมย้ำว่าจะยุติโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์วงเงิน    6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมาตรการ QE2 สิ้นเดือนมิ.ย.นี้เช่นเดิม           - อย่างไรก็ดีแม้เฟดจะมีมุมมองในเชิงลบต่อเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้นและมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วง  ครึ่งหลังของปีนี้ แต่เฟดยังไม่มีการระบุว่าจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม   ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ           - USD/JPY ขยับขึ้นไปที่ระดับ 80.34 ตามการปรับตัวขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่เฟดย้ำว่าจะยุติโครงการ QE2 ตามกำหนดเดิมและยังไม่มีการระบุถึงการออกมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม           - GBP/USD อยู่ที่ 1.6066 เทียบกับ 1.6237 ในวันอังคาร โดยปอนด์ยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอและปัจจัยลบเพิ่มเติมหลังดอลลาร์สหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงท้ายตลาด           - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยุติการปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วัน โดยวานนี้ดัชนีปรับตัวลงหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีการปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้และปีหน้าลง และไม่ได้มี   การระบุว่าจะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงต่อไป           - โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 80.34 จุด ปิดตลาดที่ 12,109.67 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 8.38 จุดปิดที่ 1,287.14 และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 18.07 จุด ปิดตลาดที่ 2,669.19 จุด   ตลาดเงินเอเชีย            - สกุลเงินเอเชีย ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกัน นำโดยเงินบาทและมาเลเซียริงกิต ตอบรับข่าวในเชิงบวกจากกรีซ แต่การแข็งค่ายังเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากนักลงทุนยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับปัญหาของกรีซ อีกทั้งยังเป็นการชะลอการทำธุรกรรมใน ช่วงก่อนรู้ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในช่วงค่ำ           - USD/THB อยู่ที่ระดับ 30.45 โดยเงินบาทปรับแข็งค่า โดยมีแรงหนุนการลงทุนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวดีขึ้น แต่การแข็งค่าเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากนักลงทุนยังเลี่ยงการเข้าซื้อเงินบาทล็อตใหญ่เนื่องจากสถานการณ์การเมืองยังมีความไม่แน่นอน อีกทั้งตลาดยังรอผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)   ดัชนีค่าเงินบาท           - USD/PHP ปรับตัวสวนทางสกุลเงินภูมิภาค โดยวานนี้ดีดตัวขึ้นไปที่ระดับ 43.39 ทั้งนี้เปโซปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงแรกโดยมีแรง หนุนจากภาวการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวรับข่าวเชิงบวกจากกรีซ ก่อนย่อตัวลงในช่วงท้ายตลาดหลังไม่สามารถปรับตัวผ่านแนวต้านทางเทคนิคขึ้นไปได้           - USD/IDR ปรับตัวลงไปที่ระดับ 8,585 โดยรูเปียห์ปรับแข็งค่า ขึ้นตามทิศทางสกุลเงินภูมิภาค แต่เผชิญแนวต้านจากความวิตกเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของปัญหาหนี้ของกรีซที่ยังเป็นปัจจัยกดดันภาวะการลงทุนในช่วงนี้           - USD/KRW ปรับตัวลงเช่นกัน โดยวานนี้อยู่ที่ระดับ 1,073.9 ทั้งนี้วอนปรับแข็งค่าสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ในช่วงระหว่างวันเนื่องจากมีแรงซื้อจากกองทุนต่างประเทศตอบรับข่าวครม. ชุดใหม่ของกรีซได้รับมติไว้วางใจจากรัฐสภาและความต้องการเงินวอนของกลุ่มผู้ส่งออกเพื่อชำระบัญชี           - USD/TWD ปรับตัวลงเล็กน้อย โดยวานนี้อยู่ที่ระดับ 28.85 หลังได้แรงหนุนจากการลงทุนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นวานนี้           - USD/MYR ปรับตัวนำสกุลเงินภูมิภาค โดยร่วงลง 0.23% สู่ระดับ 3.021 โดยมีแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น แต่ภาวะการลงทุนยังค่อนข้างระมัดระวังในช่วงก่อนรู้ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ   หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ปรากฏอ้างอิงจาก Reuters ซึ่งอาจไม่ใช่ราคาทำการจริงในตลาด   ท่านสามารถรับฟังข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติได้ที่ <โทร 0 2888 8822 หลังเลือกภาษา กด 711 ทิศทางค่าเงินวันนี้ .... กด 721 สรุปความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน> หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่           www.twitter.com/KBankFX           www.facebook.com/KBankFX             วารุณี สิทธิถาวร           ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน           โทรศัพท์: 02 470 1031           E-mail: warunee.si@kasikornbank.com             โดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ประจำวันที่ 23 มิถุนายน 2554

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook