กฟผ.ชี้ท่อก๊าซรั่วค่าFTเพิ่ม2.5สต./หน่วย
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เปิดเผยว่าจากเหตุการณ์ท่อส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยของบริษัท ปตท.รั่ว กระทบต่อการจัดส่งก๊าซให้ กฟผ. ประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และหากมีการปิดซ่อม 2 สัปดาห์ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าประมาณ 1,000 ล้านบาท หรือ คิดเป็นค่า FT ประมาณ 2.5 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากต้องใช้น้ำมันเตา ในการผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติที่ขาดไป โดยในเรื่องนี้จะให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พิจารณาว่า ใครจะเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ นายสุทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หากเหตุการณ์รุนแรง ต้องมีการซ่อมแซมมากถึง 60 วัน ทาง กฟผ.ได้เตรียมจัดส่งน้ำมันเตาไปยังโรงไฟฟ้าต่างๆ เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าแล้ว ส่วนการใช้น้ำมันดีเซล จะเป็นแนวทางสุดท้ายในการใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากมีราคาสูง
พร้อมกันนี้ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เปิดเผยว่าจากเหตุการณ์ท่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยของบริษัท ปตท.รั่ว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่ากังวล หากเกิดขึ้นในปี 2557 เพราะปัจจุบันในการสำรองไฟฟ้าของทาง กฟผ.อยู่ที่ร้อยละ 25 ซึ่งหากในปี 2557 ยังไม่มีการปรับแผน จะเหลือการสำรองเพียงร้อยละ 15 ซึ่งหากเกิดปัญหาดังกล่าวในลักษณะนี้อาจเกิดไฟดับได้ เพราะประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 70 ดังนั้นรัฐบาลชุดใหม่ควรมีการปรับแผนในการลดใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงหาแนวทางเลือกอื่นทดแทน หลังการเลื่อนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป นายสุทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โรงไฟฟ้าในขณะนี้ที่เหมาะกับประเทศไทยหากจะมีการสร้างเพิ่มขึ้นนั้น น่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน เนื่องจากปัจจุบันถ่านหินมีเทคโนโลยีในการลดการปล่อยมลพิษได้แล้ว รวมถึงมีราคาถูก
พร้อมกันนี้ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เปิดเผยว่าจากเหตุการณ์ท่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยของบริษัท ปตท.รั่ว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่ากังวล หากเกิดขึ้นในปี 2557 เพราะปัจจุบันในการสำรองไฟฟ้าของทาง กฟผ.อยู่ที่ร้อยละ 25 ซึ่งหากในปี 2557 ยังไม่มีการปรับแผน จะเหลือการสำรองเพียงร้อยละ 15 ซึ่งหากเกิดปัญหาดังกล่าวในลักษณะนี้อาจเกิดไฟดับได้ เพราะประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 70 ดังนั้นรัฐบาลชุดใหม่ควรมีการปรับแผนในการลดใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงหาแนวทางเลือกอื่นทดแทน หลังการเลื่อนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป นายสุทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โรงไฟฟ้าในขณะนี้ที่เหมาะกับประเทศไทยหากจะมีการสร้างเพิ่มขึ้นนั้น น่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน เนื่องจากปัจจุบันถ่านหินมีเทคโนโลยีในการลดการปล่อยมลพิษได้แล้ว รวมถึงมีราคาถูก