นายก ส.อสังหาฯ ห่วงขึ้นค่าแรง 300
นายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน เชื่อว่า จะกระทบต่อราคาที่อยู่อาศัยในการก่อสร้าง โดยในส่วนของบ้าน อาจจะทำให้ราคาปรับขึ้นในส่วนของต้นทุน จากเดิม ค่าแรงอยู่ที่ร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 35 หรือปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ส่วนการก่อสร้างคอนโดมิเนียม หรือ อาคารชุดนั้น จะทำให้ยอดต้นทุนปรับขึ้นร้อยละ 10 เช่นกัน แต่ในส่วนของค่าแรงจากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 20 ของต้นทุนการก่อสร้างจะปรับขึ้นมาเป็นร้อยละ 30
ด้าน นายธํารง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า จากปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันนั้น จะทำให้ราคาการก่อสร้างบ้านประมาณ 1,000,000 บาท จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ถึงหลังละ 100,000 บาท ซึ่งอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาล ได้มีการกำหนดในส่วนนี้อย่างชัดเจน โดยภาพเอกชนจะมีการทำหนังสือถึงรัฐบาลชุดใหม่ ในการเรียกร้องให้รัฐบาล มีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลา 4 ปี เพื่อให้ภาคเอกชนได้มีการปรับตัว
นอกจากนี้ นายกิตติพล กล่าวถึง โครงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0% 5 ปี ให้กับสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกว่า โครงการดังกล่าว จะเป็นการช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ให้ประชาชนออกมาซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น จากก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่ได้มีการชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า แม้จะมีมาตรการนี้ออกมา แต่ยอดการขายโดยรวมของภาคอสังหาริมทรัพย์ ในปีนี้นั้น คงไม่ขยายตัวเท่ากับปี 2553 ที่ผ่านมา
ด้าน นายธำรง กล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นการช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ให้ขยายตัวได้ดี แต่การปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคารนั้น คงจะต้องมีการตรวจสอบที่เข้มงวดให้กับลูกค้า เพื่อป้องกันปัญหาฟองสบู่ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ด้าน นายธํารง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า จากปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันนั้น จะทำให้ราคาการก่อสร้างบ้านประมาณ 1,000,000 บาท จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ถึงหลังละ 100,000 บาท ซึ่งอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาล ได้มีการกำหนดในส่วนนี้อย่างชัดเจน โดยภาพเอกชนจะมีการทำหนังสือถึงรัฐบาลชุดใหม่ ในการเรียกร้องให้รัฐบาล มีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลา 4 ปี เพื่อให้ภาคเอกชนได้มีการปรับตัว
นอกจากนี้ นายกิตติพล กล่าวถึง โครงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0% 5 ปี ให้กับสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกว่า โครงการดังกล่าว จะเป็นการช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ให้ประชาชนออกมาซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น จากก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่ได้มีการชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า แม้จะมีมาตรการนี้ออกมา แต่ยอดการขายโดยรวมของภาคอสังหาริมทรัพย์ ในปีนี้นั้น คงไม่ขยายตัวเท่ากับปี 2553 ที่ผ่านมา
ด้าน นายธำรง กล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นการช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ให้ขยายตัวได้ดี แต่การปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคารนั้น คงจะต้องมีการตรวจสอบที่เข้มงวดให้กับลูกค้า เพื่อป้องกันปัญหาฟองสบู่ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต