อาถรรพ์แก่งกระจาน ชาวกะหร่างเผยเคยเป็นหลุมศพ

อาถรรพ์แก่งกระจาน ชาวกะหร่างเผยเคยเป็นหลุมศพ

อาถรรพ์แก่งกระจาน ชาวกะหร่างเผยเคยเป็นหลุมศพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานรับเคยเตือนทหาร เรื่องสภาพอากาศก่อนขึ้นบินแล้ว จนท.ชาวกะหร่างเผยจุดฮ.ตกเป็นหลุมศพ 

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดเผยความคืบหน้าอาการป่วยจากโรคพยาธิในกระแสเลือดว่า ขณะนี้อาการดีขึ้นโดยแพทย์ให้ยามารับประทาน ซึ่งพยาธิดังกล่าวไม่อันตรายและมีอายุเพียง 1 เดือนก็จะตายเอง ซึ่งตนและเจ้าหน้าที่อุทยานทุกคนได้ไปตรวจร่างกายที่ ร.พ.เวชศาสตร์เขตร้อน

ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ ยังระบุเรื่องความเชื่ออาถรรพ์เจ้าหน้าที่อุทยานทุกคนที่ทำงานกับผืนป่ามีความเชื่อในเรื่องนี้ทุกคนและก่อนปฏิบัติภารกิจก็จะมีการไหว้บูชา ส่วนเรื่องจุดที่ แบล็กฮอว์กตก เป็นพื้นที่เคยเดินเท้าสำรวจมาไม่ใช่พื้นที่อาถรรพ์ตามที่มีข่าว แต่เหตุที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุและยอมรับว่าก่อนที่ทหารจะใช้ ฮ. บินขึ้นไปนั้นตนได้เตือนถึงทัศนวิสัยและลักษณะลมที่แปรปรวนแล้วแต่ก็มาเกิดเหตุสลดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในพื้นที่อ.แก่งกระจาน ได้ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับนายทหารและผู้เสียชีวิตทั้งหมดและวิจารณ์ถึงเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่ามาจากความอาถรรพ์เพราะมีแต่ ฮ. ของทหารที่ประสบเหตุ แต่ของเจ้าหน้าที่หน่วยอื่นไม่ประสบเหตุ

ด้าน เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเป็นชาวกะหร่าง หนึ่งในทีมกู้ศพ เผยว่า การเข้าป่าถ้าใครใจไม่แข็งพอจะเจอกับสิ่งเล้นลับที่ไม่สามารถอธิบายได้ นอกจากนี้ยังบอกว่าจุดที่ฮ.ตกนั้นเคยเป็นแนวรบของพม่า-กะเหรี่ยง-กะหร่าง เป็นจุดทิ้งศพซึ่งตรงกับบริเวณที่ แบล็กฮอว์ก ตกพอดี ซึ่งจุดนั้นจะมีบรรยากาศคล้ายป่าช้า ไม่มีคนหรือสัตว์ป่าเดินเข้าไป นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ชาวกะหร่าง ยังเผยช่วงเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่นอนเฝ้าศพทหารทั้ง 5 นายอยู่บริเวณเนิน 1100 นั้น ทุกคนในทีมได้ยินเสียงคนเดินวนรอบเต็นท์นอน พร้อมกับเห็นแสงไฟบริเวณศพของทหารทั้ง 5 นาย เจ้าหน้าที่ทุกคนที่อยู่ในทีมกู้ศพได้ทำพิธีบอกกล่าวว่าจะำนำทุกคนกลับบ้านให้ได้ 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ชาวกะหร่าง" หรือที่เรามักเรียกรวมๆกันว่า "ชาวกะเหรี่ยง" ซึ่งเป็นกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่ง ที่รู้จักกันในนามชาวปาเกอะญอ (หรือปาเกอญอ) ซึ่งมีวัฒนธรรม ภาษา ที่แตกต่างจากกะเหรี่ยงเผ่าอื่นๆ ชาวกะหร่างที่เรียกตัวเองว่า กะหร่าง นี้ พบเจอบ่อยในเขตแนวชายแดนไทย-พม่า แถบจังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ชาวกะหร่างบริเวณบ้านห้วยสัตว์ใหญ่ อาศัยอยู่บริเวณนี้มานานหลายชั่วอายุคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook