สธ.ประกาศคุมอาหารปนเปื้อนจากญี่ปุ่น

สธ.ประกาศคุมอาหารปนเปื้อนจากญี่ปุ่น

สธ.ประกาศคุมอาหารปนเปื้อนจากญี่ปุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี พ.ศ.2554 เพื่อควบคุมมาตรฐานอาหารและคุ้มครองสุขภาพประชาชนไทยให้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ซึ่ง นายบุณย์ธีร์ กล่าวว่า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าว กำหนดให้อาหารนำเข้าประเทศไทยทุกประเภท ยกเว้นวัตถุเจือปนอาหารวัตถุแต่งกลิ่นรส วัตถุที่ใช้รักษาคุณภาพอาหาร ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ในเขตพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ ฟุกุชิมะ กุมมะ อิบารากิ โทจิงิ มิยางิ โตเกียว ชิบะ คานากาวะ และ ชิซูโอกะ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานอาหารปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี โดยตรวจสอบได้ไม่เกินค่ากำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรฐานอาหารปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี 2 ชนิด ได้แก่ ไอโอดีน-131 กำหนดไม่เกิน 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม หรือ เบคเคอเรลต่อลิตร และซีเซียม-134 และ ซีเซียม-137 รวมกันไม่เกิน 500 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม หรือ เบเคอเรลต่อลิตร คาดว่าจะสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ภายในต้นเดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม ผู้นำอาหารจากพื้นที่ 9 จังหวัด ที่กล่าวมาจะต้องแสดงหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ ที่ประจำด่านนำเข้าทุกครั้ง โดยระบุประเภท ชนิดอาหาร ปริมาณสารกัมมันตรังสี และพื้นที่ผลิตอาหาร จากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ ผู้ที่นำอาหารเข้าจากที่อื่น นอกเหนือจาก 9 จังหวัด ต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้าที่มีการเพาะปลูก หรือเพาะเลี้ยง หรือ ผลิตในเขตดังกล่าว โดยจะต้องมีหนังสือยอมรับจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ของประเทศญี่ปุ่น แสดงที่ด่านนำเข้าทุกครั้งเช่นกัน แต่ถ้ากรณีไม่มีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้า ผู้นำเข้าสามารถใช้หลักฐานแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ หรือ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับรองความสามารถมาตรฐานสากลแทนก็ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook