กสิกรห่วงค่าจ้าง300ทำนายจ้างถอดใจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานบทวิเคราะห์เรื่อง "คาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 12.0-14.0 ขณะที่จุดสนใจคงอยู่ที่นโยบายรัฐบาลในปี 2555" โดยระบุว่า ภาพรวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5 เดือนแรกขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) จำนวนนายจ้างและสมาชิก รวมทั้งจำนวนเงินนำส่งเข้ากองทุนโดยช่วง 5 เดือนแรก ของปี 2554 (เดือน ม.ค. – พ.ค. 54) พบว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 592,859 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 18,784.04 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2553 โดยส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากผลด้านราคา โดยเฉพาะดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET INDEX) ที่ขยายตัวร้อยละ 3.98 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2553 จำนวนนายจ้างและสมาชิกยังคงขยายตัว เมื่อเทียบกับในปี 2553 โดย ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2554 จำนวนนายจ้างอยู่ที่ 11,702 ราย เพิ่มขึ้น 706 ราย จาก ณ สิ้นปี 2553 ขณะที่จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น 147,770 คน ส่งผลให้มีจำนวนเงินนำส่งเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้น 27,726 ล้านบาท
ส่วนปัจจัยที่ยังคงต้องติดตาม ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องมายังอุตสาหกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในปี 2555 ได้แก่ ผลด้านนโยบายของภาครัฐภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะการปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้างของแรงงาน ซึ่งแม้ว่าจะส่งผล
ให้รายได้ต่อเดือนของลูกจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน ปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อความสามารถในการส่งเงินสะสมจากฝั่งลูกจ้าง แต่ก็อาจกระทบกับต้นทุนการดำเนินงานของฝั่งนายจ้าง จนอาจลดแรงจูงใจ และความสามารถในการส่งเงิน
สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในกรณีที่การปรับขึ้นอัตรา
เงินเดือนเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ จำนวนเงินนำส่งทั้งจากฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างที่เพิ่มขึ้น จากปัจจัยนี้โดยลำพัง จะผลักดันให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2-4 เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้น
ของ NAV ในกรณีที่อัตราเงินเดือนเพิ่มตามปกติ (คำนวณจาก NAV เดือน พ.ค. 54)
ส่วนปัจจัยที่ยังคงต้องติดตาม ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องมายังอุตสาหกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในปี 2555 ได้แก่ ผลด้านนโยบายของภาครัฐภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะการปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้างของแรงงาน ซึ่งแม้ว่าจะส่งผล
ให้รายได้ต่อเดือนของลูกจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน ปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อความสามารถในการส่งเงินสะสมจากฝั่งลูกจ้าง แต่ก็อาจกระทบกับต้นทุนการดำเนินงานของฝั่งนายจ้าง จนอาจลดแรงจูงใจ และความสามารถในการส่งเงิน
สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในกรณีที่การปรับขึ้นอัตรา
เงินเดือนเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ จำนวนเงินนำส่งทั้งจากฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างที่เพิ่มขึ้น จากปัจจัยนี้โดยลำพัง จะผลักดันให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2-4 เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้น
ของ NAV ในกรณีที่อัตราเงินเดือนเพิ่มตามปกติ (คำนวณจาก NAV เดือน พ.ค. 54)