กทม. เผย โรงฆ่าสัตว์ไร้เอกชนร่วมโครงการ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ของ กทม. บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 3 มูลค่ากว่า 900 ล้านบาท ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้ เนื่องจากไม่มีภาคเอกชนรายใดสนใจเข้าร่วมโครงการ แต่ยอมรับว่าโรงฆ่าสัตว์ กทม. มีปัญหาหนักมาก ซึ่งตนรับมรดกตกทอดมาจากอดีต ผู้ว่าฯกทม. ตั้งแต่สมัย นายสมัคร สุนทรเวช จนถึงสมัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เนื่องจากเกิดปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน และไม่สามารถประสานกับภาคเอกชน ให้มาร่วมโครงการได้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อไปว่า สาเหตุที่ภาคเอกชนไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเป็นโรงฆ่าสัตว์ขนาดใหญ่ ต้องมีการชำแหละสุกรจำนวนมากต่อวัน เพื่อให้เกิดการคุ้มทุน ทำให้บริษัทรายย่อย ไม่สามารถเข้ามาดำเนินกิจการได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้ติดต่อประสานไปยังบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ด้านการเกษตร เช่น กลุ่มบริษัท ซีพี แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ เนื่องจากเห็นว่า ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีก 200 ล้านบาท รวมถึงต้องเสียค่าเช่าที่ให้กับ กทม. ตามเงื่อนไข พ.ร.บ.ร่วมทุน อีกทั้งทางบริษัท ก็มีโรงฆ่าสัตว์ของตัวเองอย่างครบวงจรแล้ว จึงไม่สนใจเข้าร่วม นอกจากนี้ กทม. ได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม (เคที) ซึ่งเป็นวิสาหกิจของ กทม. เข้ามาบริหารและปรับปรุงซ่อมแซมระบบให้สามารถใช้งานได้ แต่เคทีก็ปฏิเสธที่จะรับงานอีกเช่นกัน
ทั้งนี้ แม้โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ของ กทม. จะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาว กทม. ได้บริโภคเนื้อหมูที่ถูกสุขอนามัย และมีการบริหารจัดการที่ทันสมัย แต่ กทม. ก็ไม่มีอำนาจในการแก้ปัญหาราคาหมูแพง เนื่องจากเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ โดยตรง อย่างไรก็ตามโรงฆ่าสัตว์ กทม. ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2546-2547 ภายหลังเกิดปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน โดยอ้างว่าขาดสภาพคล่อง และยังขนย้ายอุปกรณ์ต่างๆที่มีราคาแพงกลับไปด้วย สร้างความเสียหายต่อ กทม. อย่างมาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อไปว่า สาเหตุที่ภาคเอกชนไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเป็นโรงฆ่าสัตว์ขนาดใหญ่ ต้องมีการชำแหละสุกรจำนวนมากต่อวัน เพื่อให้เกิดการคุ้มทุน ทำให้บริษัทรายย่อย ไม่สามารถเข้ามาดำเนินกิจการได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้ติดต่อประสานไปยังบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ด้านการเกษตร เช่น กลุ่มบริษัท ซีพี แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ เนื่องจากเห็นว่า ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีก 200 ล้านบาท รวมถึงต้องเสียค่าเช่าที่ให้กับ กทม. ตามเงื่อนไข พ.ร.บ.ร่วมทุน อีกทั้งทางบริษัท ก็มีโรงฆ่าสัตว์ของตัวเองอย่างครบวงจรแล้ว จึงไม่สนใจเข้าร่วม นอกจากนี้ กทม. ได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม (เคที) ซึ่งเป็นวิสาหกิจของ กทม. เข้ามาบริหารและปรับปรุงซ่อมแซมระบบให้สามารถใช้งานได้ แต่เคทีก็ปฏิเสธที่จะรับงานอีกเช่นกัน
ทั้งนี้ แม้โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ของ กทม. จะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาว กทม. ได้บริโภคเนื้อหมูที่ถูกสุขอนามัย และมีการบริหารจัดการที่ทันสมัย แต่ กทม. ก็ไม่มีอำนาจในการแก้ปัญหาราคาหมูแพง เนื่องจากเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ โดยตรง อย่างไรก็ตามโรงฆ่าสัตว์ กทม. ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2546-2547 ภายหลังเกิดปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน โดยอ้างว่าขาดสภาพคล่อง และยังขนย้ายอุปกรณ์ต่างๆที่มีราคาแพงกลับไปด้วย สร้างความเสียหายต่อ กทม. อย่างมาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย