บรรยากาศ วันสารทจีนทั่วไทย
ชาวไทยเชื้อสายจีน ต่างประกอบพิธีกรรมวันสารทจีน กันอย่างคึก โดยเฉพาะเขต หรือ ชุมชนที่อาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีน อาทิ ย่านเยาวราช สำเพ็ง จรัญสนิทวงศ์ เช่นเดียวกัน ชาวไทยเชื้อสายที่อาศัยอยู่ใน ซ.โชคชัย 4 ได้เตรียมอุปรกรณ์การเซ่นไหว้ มาตั้งโต๊ะบูชา บริเวณหน้าบ้าน ตลอดจนหน้าร้านต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงเช้าผ่านมา ก่อนทำพิธี เพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับ ประเพณีวันสารทจีน จะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7[1] ตามปฏิทินจีน ซึ่งนอกจากจะเป็นประเพณีที่ลูกหลาน จะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีกุศโลบายสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้าและมีความสุข โดยชาวไทยเชื้อสายจีน จะใช้ขนมเทียน ขนมเข่ง ในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือ ขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือ ผลไม้ตามใจชอบ
ทั้งนี้ การไหว้นั้น ชาวไทยเชื้อสายจีน จะประกอบพิธีกรรมบูชาเทพเจ้า และบรรพบุรุษตามธรรมเนียม โดยมีการจุดธูปจุดเทียน เผากระดาษเงิน กระดาษทอง และจุดประทัด
ทางด้าน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตที่รับผิดชอบ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด จัดหน่วยชุดเคลื่อนที่เร็ว เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์เพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้น ในช่วงเทศกาลสารทจีน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตลอด 24 ช.ม. พร้อมขอความร่วมมือประชาชนระมัดระวังด้วยอีกทางหนึ่ง
ขณะที่ ชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดนครราชสีมา ยังคงสืบสานประเพณีสารทจีนอย่างเหนียวแน่น ตามศาลเจ้าต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา หน้าอาคารบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ และที่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวโคราช มีผู้นำเครื่องเซ่นไหว้บูชา สิ่งศักดิ์ และบรรพบุรุษ ตามประเพณีความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน เหมือนเช่นทุกปี แต่ประหยัดปริมาณเครื่องเซ่นไหว้ให้น้อยลง เนื่องจาก ราคาเนื้อหมู ไก่ และเป็ด รวมถึง ขนมชนิดต่าง ๆ มีการปรับราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะ เนื้อหมูที่ตอนนี้สูงถึง กิโลกรัมละ 160 บาทแล้ว ขณะที่ หัวหมู อยู่ที่กิโลกรัมละ 220-240 บาท ส่วน เป็ด ต้มสุก ราคาเฉลี่ยตัวละ 350-400 บาท ไก่ ต้มสุก ราคาเฉลี่ย ตัวละ 250-300 บาท แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้น แต่ชาวไทยเชื้อสายจีน ก็ยังจำเป็นที่จะต้องซื้อหา หมู เห็ด เป็ด ไก่ นำไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และบรรพบุรุษของตัวเองตามความเชื่อ เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามเอาไว้ และเพื่อเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว
ส่วนบรรยากาศ ที่ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ถ.นางงาม เขตเทศบาลนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดสงขลา ได้นำเครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่ ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และดอกไม้ธูปเทียน มากราบไหว้พระ และเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวสงขลาเคารพนับถือ สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว หลังจากนั้น ก็จะกลับไปไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับ
สำหรับวันสารทจีน จะตรงกับ 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจีน ในปี 2554 ตรงกับวันที่ 14 สิงหาคม 2554 ถือว่าเป็นการไหว้เจ้ากลางปี ซึ่งชาวจีนถือว่า เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เป็นเดือนสำคัญที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว สำหรับ การไหว้ในเทศกาลสารทจีน แบ่งการไหว้ออกเป็น 3 ช่วง ไหว้เจ้าในช่วงตอนเช้า ไหว้บรรพบุรุษตั้งโต๊ะไหว้นอกบ้านในช่วงสาย และไหว้วิญญาณพเนจร ผีไม่มีญาติ หรือ ไหว้ "หอเฮียตี๋" จะต้องไหว้นอกบ้าน ในช่วงบ่าย
ทั้งนี้ การไหว้นั้น ชาวไทยเชื้อสายจีน จะประกอบพิธีกรรมบูชาเทพเจ้า และบรรพบุรุษตามธรรมเนียม โดยมีการจุดธูปจุดเทียน เผากระดาษเงิน กระดาษทอง และจุดประทัด
ทางด้าน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตที่รับผิดชอบ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด จัดหน่วยชุดเคลื่อนที่เร็ว เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์เพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้น ในช่วงเทศกาลสารทจีน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตลอด 24 ช.ม. พร้อมขอความร่วมมือประชาชนระมัดระวังด้วยอีกทางหนึ่ง
ขณะที่ ชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดนครราชสีมา ยังคงสืบสานประเพณีสารทจีนอย่างเหนียวแน่น ตามศาลเจ้าต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา หน้าอาคารบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ และที่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวโคราช มีผู้นำเครื่องเซ่นไหว้บูชา สิ่งศักดิ์ และบรรพบุรุษ ตามประเพณีความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน เหมือนเช่นทุกปี แต่ประหยัดปริมาณเครื่องเซ่นไหว้ให้น้อยลง เนื่องจาก ราคาเนื้อหมู ไก่ และเป็ด รวมถึง ขนมชนิดต่าง ๆ มีการปรับราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะ เนื้อหมูที่ตอนนี้สูงถึง กิโลกรัมละ 160 บาทแล้ว ขณะที่ หัวหมู อยู่ที่กิโลกรัมละ 220-240 บาท ส่วน เป็ด ต้มสุก ราคาเฉลี่ยตัวละ 350-400 บาท ไก่ ต้มสุก ราคาเฉลี่ย ตัวละ 250-300 บาท แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้น แต่ชาวไทยเชื้อสายจีน ก็ยังจำเป็นที่จะต้องซื้อหา หมู เห็ด เป็ด ไก่ นำไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และบรรพบุรุษของตัวเองตามความเชื่อ เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามเอาไว้ และเพื่อเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว
ส่วนบรรยากาศ ที่ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ถ.นางงาม เขตเทศบาลนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดสงขลา ได้นำเครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่ ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และดอกไม้ธูปเทียน มากราบไหว้พระ และเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวสงขลาเคารพนับถือ สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว หลังจากนั้น ก็จะกลับไปไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับ
สำหรับวันสารทจีน จะตรงกับ 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจีน ในปี 2554 ตรงกับวันที่ 14 สิงหาคม 2554 ถือว่าเป็นการไหว้เจ้ากลางปี ซึ่งชาวจีนถือว่า เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เป็นเดือนสำคัญที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว สำหรับ การไหว้ในเทศกาลสารทจีน แบ่งการไหว้ออกเป็น 3 ช่วง ไหว้เจ้าในช่วงตอนเช้า ไหว้บรรพบุรุษตั้งโต๊ะไหว้นอกบ้านในช่วงสาย และไหว้วิญญาณพเนจร ผีไม่มีญาติ หรือ ไหว้ "หอเฮียตี๋" จะต้องไหว้นอกบ้าน ในช่วงบ่าย