'ปลาช่อน นามกระฉ่อนแห่งท้องทุ่ง'

'ปลาช่อน นามกระฉ่อนแห่งท้องทุ่ง'

'ปลาช่อน นามกระฉ่อนแห่งท้องทุ่ง'
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หน้าคล้ายงู ตัวอ้วนพลี แถมลำตัวก็ยาว นี่คือคุณลักษณะพิเศษของปลาชนิดหนึ่ง ที่อยู่คู่กับครัวไทยมาช้านาน เพราะด้วยความที่เป็นปลาเนื้อเยอะ ให้รสชาติหวานอร่อย และมีก้างน้อย จึงทำให้ความนิยมในตัวปลาประเภทนี้ ถึงกับติด 1 ใน 5 ของปลาที่คนไทยนิยมบริโภคกัน แถมยังเกิดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ต้องป้อนเข้าสู่ตลาดเพื่อเลี้ยงคนทั้งประเทศ ปลาช่อน นั้นเอง แต่จะมีใครสักกี่คน ที่จะรู้ว่า ปลาช่อนที่เราบริโภคกันนั้น นอกจากจะเต็มไปด้วยความอร่อยแล้ว ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวชีวิตและความลับซุกซ่อนอยู่อีกมากมาย เพราะฉะนั้นเพื่อไขความลับของเจ้าปลาช่อน ในครั้งนี้ จึงไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน

เมื่อพูดถึงปลาช่อน ใครๆ ก็ต้องนึกถึงปลาช่อนแม่ลา จ.สิงห์บุรี ซึ่งเป็นปลาพระเอกขึ้นชื่อที่โด่งดังไปทั่วประเทศ ซึ่งเป็นปลาที่ได้จากลำน้ำแม่ลา สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นแหล่งเกษตรกรรมทำมาหากินให้กับคนในหมู่บ้านแม่ลา ต.แม่ลา อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี ในอดีตนั้น เป็นลำน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาน้อยใหญ่หลากหลายชนิด ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หนึ่งในนั้น ก็คือ ปลาช่อนแม่ลา ซึ่งมีนักชิมหลายต่อหลายคน ได้การันตีถึงรสชาติความอร่อย แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่อยู่ในธรรมชาติ ก็ไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนทั้งประเทศดังนั้นจึงมีการเลี้ยงปลาช่อนเป็นฟาร์มขนาดใหญ่เกิดขึ้น

เมื่อ 40 ปีก่อน มีการเลี้ยงปลาช่อนเกิดขึ้นครั้งแรกใน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี จนทำให้ปัจจุบันปลาช่อนเลี้ยงที่ส่งขายไปให้ผู้คนได้บริโภคกันทั่วประเทศนั้น 80% นั้น มาจากที่นี่ เพราะด้วยปริมาณบ่อเลี้ยงปลาช่อนที่มีมากนับพันๆ บ่อ มีปริมาณปลาช่อนต่อปีมากถึง 10 ล้านตัว ทำให้ชื่อเสียงของปลาเลี้ยงที่ จ.สุพรรณบุรี เลื่องลือไปทั่วประเทศ แต่คุณผู้ชมเคยทราบกันหรือไม่ว่า ปลาช่อนเลี้ยงในบ่อที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ จริงๆ แล้วส่วนหนึ่งก็มาจากธรรมชาติ โดยจะมีชาวบ้านนั้นตระเวนออกไปตามท้องทุ่งนาและแหล่งน้ำเพื่อไปช้อนลูกครอก หรือว่าลูกปลาช่อน วันหนึ่งได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ตัว โดยจะนำมาเลี้ยงดูอย่างดีให้เติบใหญ่ตัวอ้วนพลี จนพร้อมที่จะเปิดบ่อขายปลาช่อน

ติดตามชม กบนอกกะลา ตอน ปลาช่อนนามกระฉ่อนแห่งท้องทุ่ง ได้ในวันศุกร์ 26 ส.ค.นี้ ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook