เอแบคโพลคนไม่เชื่อมั่นรบ.ผิดหวังนโยบาย

เอแบคโพลคนไม่เชื่อมั่นรบ.ผิดหวังนโยบาย

เอแบคโพลคนไม่เชื่อมั่นรบ.ผิดหวังนโยบาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ภายหลังจัดตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 ระหว่างวันที่ 15 - 31 สิงหาคม 2554 พบว่า คนรายได้มากกว่า 75,000 บาท ร้อยละ 42.3 เห็นว่า รายได้ของตนเองในปัจจุบันดีขึ้น แต่คนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท ที่มองว่ารายได้ของตนเองดีขึ้น มีอยู่เพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้น แต่ผู้มีรายได้น้อยกลุ่มนี้ ร้อยละ 39.3 มองว่า รายได้ปัจจุบันของพวกเขากำลังแย่ลง ที่น่าพิจารณาคือ คนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนผู้ที่มองว่า รายได้ของตนเอง ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น สูงกว่าคนในภาคอื่น ๆ คือ ภาคเหนือ มีอยู่ร้อยละ 30.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอยู่ร้อยละ 23.3 คนภาคกลาง มีอยู่ร้อยละ 21.2 คนกรุงเทพฯและคนภาคใต้ มีจำนวนผู้ที่มองว่า รายได้ของตนเองจะดีขึ้น ต่ำกว่าคนในภาคอื่น โดยคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ ร้อยละ 16.4 และคนภาคใต้ ต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 13.5 เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค เกิดจากปัจจัยลบ คือ กระแสข่าวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ที่ทำให้ประชาชนผิดหวังในเรื่อง ค่าแรง 300 บาทต่อวัน และเงินเดือน 15,000 บาท ของผู้จบปริญญาตรี รวมถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ยังสูงอยู่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาภัยพิบัติที่กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร และความวุ่นวายทางการเมือง ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสูงขึ้นกว่าช่วงปลายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ คือ แนวนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่มุ่งไปยังการกระตุ้นเศรษฐกิจประชาชนรากหญ้า และระดับครัวเรือน เช่น การเพิ่มรายได้ การปรับลดราคาน้ำมัน ราคาเนื้อหมูที่เริ่มลดลง แต่อย่างไรก็ดี ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยภาพรวมยังไม่พ้นขีดวิกฤตที่จะมุ่งสู่ระดับเชื่อมั่นได้ ในช่วงเวลานี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook