ยธ.ผุดไอเดียสร้างคุกใหม่ขังนักโทษกม.
นายถิรชัย วุฒิธรรม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผย วาระการประชุมระหว่าง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ว่า กระทรวงยุติธรรม จะนำพื้นที่เรือนจำเก่า ข้างกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด หรือ บช.ปส. ที่ทางการยกเลิกเป็นที่คุมขังตั้งแต่ปี 2553 เพื่อให้ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ใช้เป็นสำนักงาน แต่ก็ไม่ได้มีการนำไปใช้ เนื่องจากไม่มีความเหมาะสมจึงเห็นควรว่าจะนำพื้นที่กลับมาปรับปรุงให้เป็นสถานที่คุมขังพิเศษ สำหรับนักโทษทางการเมืองและนักโทษต่างชาติ เพื่อลดปัญหาความแออัด ป้องกันมิให้มีการปลุกระดมให้กับนักโทษอื่น ๆ พร้อมกับยืนยันว่า ภายในเรือนจำนั้น ไม่ได้ปรับปรุงไว้เพื่อรองรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และยืนยันว่า เรือนจำที่กำลังจะปรับปรุง จะไม่ให้แตกต่างไปจากเรือนจำทั่วไป
ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เรียก พล.ต.อ.เพียวพันธ์ ดามาพงศ์ รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และ นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ หลังมีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นเรือนจำ บริเวณสโมสรตำรวจ หลังไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลาหลายปี โดยเห็นว่า น่าจะนำพื้นที่ดังกล่าว จัดทำเป็นเรือนจำ ที่มีความทันสมัยให้กับนักโทษคดีทางการเมือง
ทั้งนี้ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า การดูแลเรือนจำทั่วประเทศ ที่มีกว่า 100 แห่ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานักโทษก่อการจลาจล รวมถึงจะมีการเน้นการฝึกอบรมอาชีพให้กับนักโทษ เพื่อให้มีอาชีพติดตัวไปหลังพ้นโทษ เพื่อไม่ให้ก่อเหตุซ้ำ รวมไปถึง การดูแลจัดการ การจัดสรรงบประมาณ เพราะที่ผ่านมา เรือนจำต้องใช้งบประมาณ ประมาณ 3 พันล้านบาทเป็นค่าอาหาร
ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เรียก พล.ต.อ.เพียวพันธ์ ดามาพงศ์ รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และ นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ หลังมีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นเรือนจำ บริเวณสโมสรตำรวจ หลังไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลาหลายปี โดยเห็นว่า น่าจะนำพื้นที่ดังกล่าว จัดทำเป็นเรือนจำ ที่มีความทันสมัยให้กับนักโทษคดีทางการเมือง
ทั้งนี้ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า การดูแลเรือนจำทั่วประเทศ ที่มีกว่า 100 แห่ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานักโทษก่อการจลาจล รวมถึงจะมีการเน้นการฝึกอบรมอาชีพให้กับนักโทษ เพื่อให้มีอาชีพติดตัวไปหลังพ้นโทษ เพื่อไม่ให้ก่อเหตุซ้ำ รวมไปถึง การดูแลจัดการ การจัดสรรงบประมาณ เพราะที่ผ่านมา เรือนจำต้องใช้งบประมาณ ประมาณ 3 พันล้านบาทเป็นค่าอาหาร