นักวิทย์เผยดาวอังคารเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต

นักวิทย์เผยดาวอังคารเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ยานออพเพอทูนิตี ซึ่งมีภารกิจสำรวจดาวอังคารเป็นเวลา 7 ปีครึ่ง ได้เดินทางมาถึงขอบของหลุมขนาดใหญ่ ความยาว 22 กิโลเมตร ชื่อ เอนเดฟเวอร์ เมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว และกำลังส่งภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบกลับมา
ยังโลก

คณะนักวิจัยที่นำโดย อเมริกัน มาร์เทียน ออบิเตอร์ กล่าวว่า หินก้อนแรกที่ทำการสำรวจซึ่งมีขนาดเท่ากับม้าวางเท้า และมีความชัดเจนว่า เกิดจากการตกกระทบของอุกกาบาต มีความแตกต่างจากหินก้อนอื่นที่พบบนดาวอังคาร เนื่องจากมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับหินภูเขาไฟ แต่มีธาตุสังกะสี และโบรไมด์มากกว่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หินชนิดนี้ มีส่วนประกอบของแร่ดินที่ก่อตัวขึ้นในสภาพอากาศที่เปียกชื้น มีความเป็นกรดน้อย และเป็นไปได้ที่จะเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต

นอกจากนี้ ยังพบแนวหินรอบๆ ขอบหลุมขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะคล้ายหินตะกอน ซึ่งเต็มไปด้วยแร่ธาตุ ที่คาดว่ามาจากน้ำ ข้อมูลนี้เกิดจากการสำรวจในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักวิจัยใช้เครื่องมือซึ่งที่ติดอยู่กับแขนหุ่นยนต์ของยานออพเพอทูนิตี ระบุส่วนประกอบทางเคมีของหินดังกล่าว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook