ชาวพัทลุงแห่เข้าวัดทำบุญวันสารทเดือนสิบ
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.พัทลุง ว่า ตามวัดต่างๆ ในพื้นที่ จ.พัทลุง ประชาชนแห่เข้าวัด เพื่อทำบุญเนื่องในวันสารทเดือนสิบแรก ที่ถือเป็นประเพณีของชาวใต้ ที่ถือกันว่า ในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรตชนมาเยี่ยมลูกหลาน ซึ่งลูกหลานก็ทำบุญต้อนรับครั้งหนึ่ง และในวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ หลังหรือเรียกว่าวันส่งเปรต เป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
การทำบุญทั้ง 2 ครั้ง เป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิ เป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา โดย
พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตน เพื่อร่วมพิธีตั้งเปรต และชิงเปรต อาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่ง ฝ่ายมารดาครั้งหนึ่ง จึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบอาชีพจากถิ่นห่างไกล
จากบ้านเกิด ได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์ และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น และยังมีขนมต่างๆ เพื่อต้อนรับตายาย เช่น ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับให้ผู้ล่วงลับใช้เดินทาง ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ ขนมเจาะรู หรือ ขนมเจาะหู หรือ ขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
การทำบุญทั้ง 2 ครั้ง เป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิ เป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา โดย
พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตน เพื่อร่วมพิธีตั้งเปรต และชิงเปรต อาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่ง ฝ่ายมารดาครั้งหนึ่ง จึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบอาชีพจากถิ่นห่างไกล
จากบ้านเกิด ได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์ และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น และยังมีขนมต่างๆ เพื่อต้อนรับตายาย เช่น ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับให้ผู้ล่วงลับใช้เดินทาง ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ ขนมเจาะรู หรือ ขนมเจาะหู หรือ ขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์