สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ - ธนาคารกสิกรไทย
สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ สรุปภาวะตลาดเงิน - USD/THB แข็งค่าอยู่ที่ระดับ 31.07 โดยวานนี้ค่าเงินบาทปรับแข็งค่านำค่าเงินภูมิภาค โดยปัจจัยสำคัญมาจากการที่นักลงทุนได้เข้าซื้อหุ้นมากขึ้น วันนี้คาดปรับตัวลงไปที่ 30.85 - EUR/USD อยู่ที่ระดับ 1.343 โดย ECBได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% และจะอัดฉีดเงินเข้าระบบด้วยการซื้อตราสารหนี้กว่า 4 หมื่นล้านยูโร วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ 1.346 - USD/JPY อยู่ที่ 76.68 โดยเงินเยนแข็งค่าเล็กน้อย จากการคาดการของกลุ่มธุรกิจว่าเงินเยนมีโอกาสที่จะแข็งค่าต่อไปได้ ทั้งความเสี่ยงจากการที่กรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ 77.00 ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ - ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น2.91 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 82.59 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ทางยูโรโซนจะมีเงินอัดฉีดเข้าระบบเพื่อเพิ่มทุนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งตัวเลขด้านแรงงานสหรัฐฯที่ดีขึ้น ได้ส่งผลให้นักลงทุนมองแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้น - ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 11.60ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 1,653.20 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ โดยราคาทองปรับตัวขึ้นตามสินทรัพย์เสี่ยงหลังแนวโน้มการแก้ปัญหาหนี้ยูโรโซนออกมาในทิศทางที่ดี โดยนักลงทุนมองว่าราคาทองที่ลดลงแรงก่อนหน้าน่าจะสามารถปรับขึ้นได้ ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ - ตลาดหุ้นไทย ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเกือบ 6% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาค โดยมีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มแบงก์ และพลังงาน คาดว่านักลงทุนกลับมาซื้อคืนช่วงสั้น (cover short) จาดความคาดหวังต่อการแก้ปัญหาหนี้ของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ดีปัญหาน้ำท่วมที่อาจกระทบต่อภาคการผลิตในไทย จากโรงงานที่ต้องปิดชั่วคราว อาจกระทบต่อการลงทุน และตลาดหุ้นได้ - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น โดยดาวโจนส์ปิดบวกกว่า 1.7% จากการคลายความกังวลของนักลงทุนต่อสถานการณ์หนี้ในยุโรป โดยความหวังที่ทางอีซีบีจะเพิ่มทุนให้ธนาคารพาณิชย์ ได้หนุนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น อีกทั้งตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกปรับลดลงจากเดือนก่อน อัตราดอกเบี้ย ไทย ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (Repo rate) 3.50% สหรัฐฯ Fed Funds rate 0-0.25% ยูโรโซน Refinancing Rate 1.50% อังกฤษ Repo Rate 0.50% ญี่ปุ่น Official Cash Rate 0.00-0.10% ตลาดหุ้นที่สำคัญ - ตลาดหุ้นไทย ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเกือบ 6% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาค โดยมีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มแบงก์ และพลังงาน คาดว่านักลงทุนกลับมาซื้อคืนช่วงสั้น (cover short) จาดความคาดหวังต่อการแก้ปัญหาหนี้ของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ดีปัญหาน้ำท่วมที่อาจกระทบต่อภาคการผลิตในไทย จากโรงงานที่ต้องปิดชั่วคราว อาจกระทบต่อการลงทุน และตลาดหุ้นได้ - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น โดยดาวโจนส์ปิดบวกกว่า 1.7% จากการคลายความกังวลของนักลงทุนต่อสถานการณ์หนี้ในยุโรป โดยความหวังที่ทางอีซีบีจะเพิ่มทุนให้ธนาคารพาณิชย์ ได้หนุนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น อีกทั้งตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกปรับลดลงจากเดือนก่อน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ - ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น2.91 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 82.59 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ทางยูโรโซนจะมีเงินอัดฉีดเข้าระบบเพื่อเพิ่มทุนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งตัวเลขด้านแรงงานสหรัฐฯที่ดีขึ้น ได้ส่งผลให้นักลงทุนมองแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้น - ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 11.60ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 1,653.20 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ โดยราคาทองปรับตัวขึ้นตามสินทรัพย์เสี่ยงหลังแนวโน้มการแก้ปัญหาหนี้ยูโรโซนออกมาในทิศทางที่ดี โดยนักลงทุนมองว่าราคาทองที่ลดลงแรงก่อนหน้าน่าจะสามารถปรับขึ้นได้ อย่างไรก็ดีนักลงทุนอาจขายทองเพื่อนำเงินไปชดเชยการขาดทุนหุ้นหากสถานการณ์หนี้กรีซมีปัญหาขึ้นอีก ซึ่งกดดันราคาทองไม่ให้ขึ้นมาก ตลาดเงินนิวยอร์ค - EUR/USD อยู่ที่ระดับ 1.343 โดยยูโรปรับตัวในทิศทางแข็งค่าราว 0.6% วานนี้โดยตลาดรักษาระดับช่วงเปิดตลาดจนมีข่าวผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% โดยค่าเงินยูโรร่วงลงจากการที่นักลงทุนผิดหวังว่าไม่ได้มีการลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเงินยูโรปรับแข็งค่าจากการที่มีข่าวว่าทางอีซีบีจะอัดฉีดเงินเข้าระบบด้วยการซื้อตราสารหนี้กว่า 4 หมื่นล้านยูโร ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ - USD/JPY อยู่ที่ 76.68 โดยเงินเยนแข็งค่าเล็กน้อย จากการคาดการของกลุ่มธุรกิจว่าเงินเยนมีโอกาสที่จะแข็งค่าต่อไปได้ อีกทั้งความเสี่ยงจากการที่กรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ ส่งผลให้มีความต้องการเงินเยนมากขึ้น - GPB/USD อยู่ที่ระดับ 1.5436 โดยปอนด์อ่อนค่า จากการที่ทางธนาคารกลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% และมีการเพิ่มปริมาณเงินที่ใช้ในการซื้อคืนพันธบัตรอีก 7.5 หมื่นล้านปอนด์ เป็น 275,000 ล้านปอนด์ซึ่งจะทำให้มีเงินเข้าสู่ระบบ ให้ค่าเงินจะลดลง ตลาดเงินเอเชีย - สกุลเงินเอเชีย ส่วนใหญ่ปรับแข็งค่านำโดยริงกิต วอน และสิงคโปร์ดอลลาร์จากข่าวที่จะมีการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ของยูโรโซนซึ่งช่วยหนุนให้นักลงทุนมีความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยเงินทุนที่ไหลเข้าภูมิภาคเอเชียในตลาดหุ้นมีผลสำคัญ - USD/THB แข็งค่าอยู่ที่ระดับ 31.07 โดยวานนี้ค่าเงินบาทปรับแข็งค่านำค่าเงินภูมิภาค โดยปัจจัยสำคัญมาจากการที่นักลงทุนได้เข้าซื้อหุ้นมากขึ้น โดยวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิเกือบพันล้านบาท โดยนอกจากประเด็นด้านความคลี่คลายปัญหาหนี้ยูโรโซนแล้ว นักลงทุนกำลังจับตาดูว่าทางเฟดจะมีการอัดฉีดเงินเข้าระบบอีกหรือไม่ หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ปรากฏอ้างอิงจาก Reuters ซึ่งอาจไม่ใช่ราคาทำการจริงในตลาด ท่านสามารถรับฟังข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติได้ที่ <โทร 0 2888 8822 หลังเลือกภาษา กด 711 ทิศทางค่าเงินวันนี้ .... กด 721 สรุปความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน> หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.twitter.com/KBankFX www.facebook.com/KBankFX วารุณี สิทธิถาวร ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน โทรศัพท์: 02 470 1031 E-mail: warunee.si@kasikornbank.com โดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2554