เอเซียพลัส หุ้นไทย จับตาน้ำเข้ากทม.
รายงานบทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส สุดสัปดาห์นี้คงต้องลุ้นกันตัวโก่งว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ เหมือนปี 2485 ซึ่งเป็นปีที่น้ำท่วมใหญ่ ซึ่งเรียกว่าฝน 100 ปี และเป็นปีที่น้ำท่วมใหญ่ เพราะขณะนี้น้ำเหนือไหลได้เข้ามาถึง จ.ปทุมธานีแล้ว และจะเห็นกันว่าเสาร์-อาทิตย์นี้ น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ต้องเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม และผู้ที่ทำหน้าที่กู้ภัยทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะทหาร และประชาชน อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ทุกสิ่งทุกอย่างดูแย่มากในเดือน ต.ค.2554 นั้นหมายความว่า งวดสุดท้ายของปีนี้คงเห็นผลกระทบ ต่อ GDP Growth ชะลอตัวจากงวด ไตรมาส3/2554 แน่ หากเทียบเคียงกับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ใน กทม. ปี 2538 ส่งผลให้ GDP ชะลอตัว 2 ไตรมาสคือช่วงไตรมาส 4/2538-ไตรมาส 1/2539
ขณะที่ SET Index ปรับตัวลดลง 2 เดือน กว่า 15% แต่หลังจากนั้นดัชนีฯ ก็ฟื้นตัวขึ้นมาระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่เท่าจุดสูงสุดเดิม และในที่สุดดัชนี ก็ลงต่อ เพราะประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาขาดดุลการค้า ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด กดดันให้เงินบาทอ่อนค่า และนำไปสู่การลดค่าเงินใน ก.ค. 2541 ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง สำหรับครั้งนี้ผลกระทบคงไม่แตกต่างกันกันมากนัก และที่สำคัญคงกระทบต่อกำไรของตลาดในงวดไตรมาส 4/2554
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักคือ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ใน จ.อยุธยา และใกล้เคียง รถยนต์และชิ้นส่วน ประกันภัย และ ธ.พ. เป็นต้น โดยนักวิเคราะห์เอเซีย พลัสอยู่ระหว่างการปรับลดประมาณการ คาดว่าจะกระทบเฉพาะปี 2554 เท่านั้น ส่วนปี 2555 คาดว่า ผลกระทบน่าจะน้อยกว่า ประกอบกับสมมติฐานเดิมมีความระมัดระวังสูงและที่สำคัญยังมิได้คำนึงถึงผลกระทบด้านบวกจากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่เลวร้ายก็ยังมีผู้ที่ได้ประโยชน์ หรือ กระทบจากปัญหาน้ำท่วมน้อย
โดยเฉพาะทหาร และประชาชน อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ทุกสิ่งทุกอย่างดูแย่มากในเดือน ต.ค.2554 นั้นหมายความว่า งวดสุดท้ายของปีนี้คงเห็นผลกระทบ ต่อ GDP Growth ชะลอตัวจากงวด ไตรมาส3/2554 แน่ หากเทียบเคียงกับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ใน กทม. ปี 2538 ส่งผลให้ GDP ชะลอตัว 2 ไตรมาสคือช่วงไตรมาส 4/2538-ไตรมาส 1/2539
ขณะที่ SET Index ปรับตัวลดลง 2 เดือน กว่า 15% แต่หลังจากนั้นดัชนีฯ ก็ฟื้นตัวขึ้นมาระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่เท่าจุดสูงสุดเดิม และในที่สุดดัชนี ก็ลงต่อ เพราะประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาขาดดุลการค้า ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด กดดันให้เงินบาทอ่อนค่า และนำไปสู่การลดค่าเงินใน ก.ค. 2541 ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง สำหรับครั้งนี้ผลกระทบคงไม่แตกต่างกันกันมากนัก และที่สำคัญคงกระทบต่อกำไรของตลาดในงวดไตรมาส 4/2554
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักคือ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ใน จ.อยุธยา และใกล้เคียง รถยนต์และชิ้นส่วน ประกันภัย และ ธ.พ. เป็นต้น โดยนักวิเคราะห์เอเซีย พลัสอยู่ระหว่างการปรับลดประมาณการ คาดว่าจะกระทบเฉพาะปี 2554 เท่านั้น ส่วนปี 2555 คาดว่า ผลกระทบน่าจะน้อยกว่า ประกอบกับสมมติฐานเดิมมีความระมัดระวังสูงและที่สำคัญยังมิได้คำนึงถึงผลกระทบด้านบวกจากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่เลวร้ายก็ยังมีผู้ที่ได้ประโยชน์ หรือ กระทบจากปัญหาน้ำท่วมน้อย