น้ำท่วมกทม.AREAคาดอสังหาฯสูญ7.4หมื่นล.
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA กล่าวว่า จำนวนที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้วทั้งหมด และที่อยู่ในมือของประชาชนผู้ซื้อในพื้นที่น้ำท่วมแล้ว ในปัจจุบันมีอยู่ 329,569 หน่วย ที่เป็นแนวราบ คือ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว (ยกเว้นห้องชุด) รวมกัน 295,439 หน่วย ใน 1,467 โครงการ รวมมูลค่าถึง 726,161 ล้านบาท ตกเป็นเงินหน่วยละ 2.458 ล้านบาท โดยเฉลี่ย
ทั้งนี้ประเมินความเสียหายที่อยู่อาศัยแนวราบ จะเป็นเงิน 51,436 ล้านบาท โดยการประมาณการว่า 85% ของบ้านในพื้นที่นี้ซึ่งได้รับความเสียหาย มูลค่าของที่อยู่อาศัยหน่วยหนึ่งเป็นส่วนของอาคารราวหนึ่งในสาม และอาคารเสียหายในส่วนงานสถาปัตยกรรม และมีงานระบบประกอบอาคารไปประมาณ 25% ของมูลค่าอาคาร ความเสียหายส่วนนี้อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ได้แก่ ซอยกันตนา (ฝั่งตะวันตก) ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ติวานนท์-สรงประภา นครอินทร์ นวนคร-รพีพัฒน์ บางบัวทอง ปทุมธานี-ทล.345 รังสิต-นครนายก คลอง 1-7 รังสิต-บางพูน ราชพฤกษ์-ท่าอิฐ ลำลูกกา และอยุธยา (บางปะอิน-วังน้อย)
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่เหล่านี้ ได้แก่ คลองสามวา-หนองจอก ปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี รังสิต-คลอง 7-15 รามคำแหง-มีนบุรี-สุวินทวงศ์ ลาดกระบัง และสายไหม จำนวนบ้านแนวราบ (ไม่รวมห้องชุด) ในพื้นที่เสี่ยงนี้มี 958 โครงการ จำนวน 166,225 หน่วย รวมมูลค่า 421,809 ล้านบาท หรือ หน่วยละ 2.538 ล้านบาท
สำหรับในพื้นที่เสี่ยงนี้ หากรัฐบาลไม่อาจป้องกันภัยไว้ ตั้งสมมุติฐานความเสียหายไว้ประมาณ 65% ของบ้านแนวราบทั้งหมด มูลค่าของที่อยู่อาศัยหน่วยหนึ่งเป็นส่วนของอาคารราวหนึ่งในสาม และอาคารเสียหายในส่วนงานสถาปัตยกรรมและเป็นงานระบบประกอบอาคารไปประมาณ 25% ของมูลค่าอาคาร ดังนั้นความเสียหายในส่วนนี้จะเป็นเงิน 22,848 ล้านบาท ดังนั้นคาดว่าความเสียหาย โดยรวมสำหรับบ้านเรือนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยรวมคงเป็นเงินประมาณ 74,284 ล้านบาท
ทั้งนี้ประเมินความเสียหายที่อยู่อาศัยแนวราบ จะเป็นเงิน 51,436 ล้านบาท โดยการประมาณการว่า 85% ของบ้านในพื้นที่นี้ซึ่งได้รับความเสียหาย มูลค่าของที่อยู่อาศัยหน่วยหนึ่งเป็นส่วนของอาคารราวหนึ่งในสาม และอาคารเสียหายในส่วนงานสถาปัตยกรรม และมีงานระบบประกอบอาคารไปประมาณ 25% ของมูลค่าอาคาร ความเสียหายส่วนนี้อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ได้แก่ ซอยกันตนา (ฝั่งตะวันตก) ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ติวานนท์-สรงประภา นครอินทร์ นวนคร-รพีพัฒน์ บางบัวทอง ปทุมธานี-ทล.345 รังสิต-นครนายก คลอง 1-7 รังสิต-บางพูน ราชพฤกษ์-ท่าอิฐ ลำลูกกา และอยุธยา (บางปะอิน-วังน้อย)
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่เหล่านี้ ได้แก่ คลองสามวา-หนองจอก ปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี รังสิต-คลอง 7-15 รามคำแหง-มีนบุรี-สุวินทวงศ์ ลาดกระบัง และสายไหม จำนวนบ้านแนวราบ (ไม่รวมห้องชุด) ในพื้นที่เสี่ยงนี้มี 958 โครงการ จำนวน 166,225 หน่วย รวมมูลค่า 421,809 ล้านบาท หรือ หน่วยละ 2.538 ล้านบาท
สำหรับในพื้นที่เสี่ยงนี้ หากรัฐบาลไม่อาจป้องกันภัยไว้ ตั้งสมมุติฐานความเสียหายไว้ประมาณ 65% ของบ้านแนวราบทั้งหมด มูลค่าของที่อยู่อาศัยหน่วยหนึ่งเป็นส่วนของอาคารราวหนึ่งในสาม และอาคารเสียหายในส่วนงานสถาปัตยกรรมและเป็นงานระบบประกอบอาคารไปประมาณ 25% ของมูลค่าอาคาร ดังนั้นความเสียหายในส่วนนี้จะเป็นเงิน 22,848 ล้านบาท ดังนั้นคาดว่าความเสียหาย โดยรวมสำหรับบ้านเรือนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยรวมคงเป็นเงินประมาณ 74,284 ล้านบาท