เทคโนโลยีรักษาโรคมะเร็งตับ

เทคโนโลยีรักษาโรคมะเร็งตับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมารายงานว่า อัตราการเสียชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน จากโรคมะเร็ง พบว่า โรคมะเร็งตับ พบมากเป็นอันดับหนึ่ง การรักษาผู้ป่วยโรคตับที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางยา สามารถทำได้โดยการปลูกถ่ายอวัยวะ อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงานถึงผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น หลังจากการเปลี่ยนถ่ายตับ เช่น ภาวะร่างกายต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่าย (Rejection) นอกจากนั้น ยังพบปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ ซึ่งมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสเต็มเซลล์ เพื่อการรักษาโรคตับ จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังที่สำคัญ เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต

รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จ.นครราชสีมา พร้อมด้วย ดร.กาญจนา ธรรมนู นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกันพัฒนาสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนของหนู เพื่อเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ตับ และได้ทำการติดตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงเซลล์ ในระดับชีวโมเลกุล พร้อมทั้งทดสอบเทคโนโลยีการแยกเซลล์อย่างรวดเร็ว โดยใช้เทคนิคกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรด (FTIR microspectroscopy)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook