จำนำข้าวโคราชพบข้าวหอมปลอมปน
น.ส.พัตถาภรณ์ ไชยานุพงศ์ การค้าภายในจังหวัดนครราชสีมา ได้รายงานสถานการณ์ การรับจำนำข้าวเปลือกของ จ.นครราชสีมา ต่อที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดว่า การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/2555 ผลการขึ้นทะเบียน ณ วันที่ 21 พ.ย.2554 มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนแล้ว ประมาณ 201,942 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ 3.9 ล้านไร่ การออกหนังสือรับรองการเป็นเกษตรกรไปแล้ว ร้อยละ 99.4 สำหรับ จุดรับจำนำของ จ.นครราชสีมา จนถึงปัจจุบันมีจุดรับจำนำ ที่เปิดดำเนินการแล้ว 29 จุด เป็นจุด
ที่เป็นพื้นที่โรงสี 15 จุด และเป็นจุดนอกพื้นที่ของโรงสีในจังหวัดเอง 14 จุด อยู่ในพื้นที่ทั้งหมด 17 อำเภอ ผลการรับจำนำข้าวเปลือกสะสม จนถึงวันที่ 27 พ.ย.54 จากผลผลิตทั้งหมดที่ประมาณการณ์ว่า จะเป็นผลผลิตเหลือขายของจังหวัดฯ ประมาณ 1 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งจะเป็นสัดส่วนของข้าวหอมมะลิประมาณร้อยละ 66 ที่เหลือจะเป็นข้าวจ้าวและข้าวเหนียว และปัจจุบันมีเกษตรกรมาจำนำใบประทวนแล้ว 5,191 ราย คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือก รวม 24,416 ตัน ในสัดส่วนนี้จะเป็นข้าวหอมมะลิ 16,735 ตัน และส่วนที่เหลือจะเป็นข้าวจ้าว 5%
สำหรับ การจ่ายเงินของ ธ.ก.ส. ณ วันที่ 25 พ.ย.54 มีเกษตรกรได้รับเงินไปแล้ว 1,825 ราย คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือก 8,147 ตัน มูลค่าข้าวเปลือก 147 ล้านบาท
ส่วนปัญหาเรื่องของคุณภาพข้าวหอมมะลิ ซึ่งปัจจุบันที่พบมากคือ ข้าวหอมมะลิมีการปลอมปนข้าวจ้าวมาก ซึ่งทางโรงสี ไม่สามารถบรรจุลงได้ ในส่วนนี้เกษตรกรต้องนำข้าวไปขายส่งกับตลาดการค้าปกติ ทั้งนี้ ยอดการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่จังหวัดนครราชสีมา ล่าสุดจนถึง 29 พ.ย.54 ได้มีการออกใบประทวนให้กับเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 6,955 ราย มีจำนวนข้าวเปลือกที่เข้าสู่โครงการแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 30,802 ตัน และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่เป็นพื้นที่โรงสี 15 จุด และเป็นจุดนอกพื้นที่ของโรงสีในจังหวัดเอง 14 จุด อยู่ในพื้นที่ทั้งหมด 17 อำเภอ ผลการรับจำนำข้าวเปลือกสะสม จนถึงวันที่ 27 พ.ย.54 จากผลผลิตทั้งหมดที่ประมาณการณ์ว่า จะเป็นผลผลิตเหลือขายของจังหวัดฯ ประมาณ 1 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งจะเป็นสัดส่วนของข้าวหอมมะลิประมาณร้อยละ 66 ที่เหลือจะเป็นข้าวจ้าวและข้าวเหนียว และปัจจุบันมีเกษตรกรมาจำนำใบประทวนแล้ว 5,191 ราย คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือก รวม 24,416 ตัน ในสัดส่วนนี้จะเป็นข้าวหอมมะลิ 16,735 ตัน และส่วนที่เหลือจะเป็นข้าวจ้าว 5%
สำหรับ การจ่ายเงินของ ธ.ก.ส. ณ วันที่ 25 พ.ย.54 มีเกษตรกรได้รับเงินไปแล้ว 1,825 ราย คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือก 8,147 ตัน มูลค่าข้าวเปลือก 147 ล้านบาท
ส่วนปัญหาเรื่องของคุณภาพข้าวหอมมะลิ ซึ่งปัจจุบันที่พบมากคือ ข้าวหอมมะลิมีการปลอมปนข้าวจ้าวมาก ซึ่งทางโรงสี ไม่สามารถบรรจุลงได้ ในส่วนนี้เกษตรกรต้องนำข้าวไปขายส่งกับตลาดการค้าปกติ ทั้งนี้ ยอดการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่จังหวัดนครราชสีมา ล่าสุดจนถึง 29 พ.ย.54 ได้มีการออกใบประทวนให้กับเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 6,955 ราย มีจำนวนข้าวเปลือกที่เข้าสู่โครงการแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 30,802 ตัน และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง