ประชุมโลกร้อนชี้ถ่านหินทำลายสิ่งแวดล้อม
การประชุมภาวะโลกร้อนของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งจะมีจนถึงวันที่ 9 ธ.ค. ได้ร่วมกันหาแหล่งพลังงานสะอาด เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศในอนาคต เนื่องจาก พลังงานถ่านหินได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทำลายสิ่งแวดล้อม
ประธานด้านศึกษาค้นคว้าทางเศรษฐกิจและการวางแผนของ สำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (ไอเออีเอ) เผยว่า พลังงานทดแทน ยังไม่เหมาะกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลก ที่แข่งกันเติบโต ซึ่งไอเออีเอ คาดว่า ภายในปี 2573 จะมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 90 แห่ง จากปัจจุบัน 432 แห่งทั่วโลก
ขณะเดียวกัน บริษัทเมเปิลครอฟต์ ซึ่งเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เสี่ยงภัยธรรมชาติ เผยว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก กว่าครึ่งหนึ่งมาจาก 5 ประเทศอันดับต้น ๆ ได้แก่ จีน สหรัฐฯ อินเดีย รัสเซีย
ทั้งนี้ จีน ปล่อยทั้งก๊าซคาร์บอนฯ ก๊าซมีเทน และไนเตรทออกไซด์ ที่มาจากการเผาไหม้ถ่านหิน คิดเป็นปริมาณ 9,441 เมกะตัน ส่วน อินเดีย ส่วนใหญ่ปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งมาจากภาคเกษตรกรรม 2272.45 เมกะตัน
ประธานด้านศึกษาค้นคว้าทางเศรษฐกิจและการวางแผนของ สำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (ไอเออีเอ) เผยว่า พลังงานทดแทน ยังไม่เหมาะกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลก ที่แข่งกันเติบโต ซึ่งไอเออีเอ คาดว่า ภายในปี 2573 จะมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 90 แห่ง จากปัจจุบัน 432 แห่งทั่วโลก
ขณะเดียวกัน บริษัทเมเปิลครอฟต์ ซึ่งเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เสี่ยงภัยธรรมชาติ เผยว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก กว่าครึ่งหนึ่งมาจาก 5 ประเทศอันดับต้น ๆ ได้แก่ จีน สหรัฐฯ อินเดีย รัสเซีย
ทั้งนี้ จีน ปล่อยทั้งก๊าซคาร์บอนฯ ก๊าซมีเทน และไนเตรทออกไซด์ ที่มาจากการเผาไหม้ถ่านหิน คิดเป็นปริมาณ 9,441 เมกะตัน ส่วน อินเดีย ส่วนใหญ่ปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งมาจากภาคเกษตรกรรม 2272.45 เมกะตัน