Market Talks - บล.เอเซีย พลัส

Market Talks - บล.เอเซีย พลัส

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลยุทธ์การลงทุน คาดดัชนียังมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะดัชนีที่ปัจจุบันซื้อขายที่ Expected PER 12 เท่า กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นถือหุ้น 30% โดยให้ Selective BUY ในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากวงจรดอกเบี้ยขาลง และกระทบน้ำท่วมน้อยมาก AP, SC, LPN, RAIMON, SAT, STANLY หรือหุ้นสาธารณูปโภค ปันผลสูง RATCH, TTW กลยุทธ์ระยะสันแนะ BJC, SPALI, TPC คาดว่าจะเข้า SET50 และ SC คาดว่าจะเข้ามาอยู่ใน SET100 โดยจะประกาศกลางเดือน ธ.ค.นี้ เลือกหุ้นอสังหา AP และ SIRI  เป็น Top Picks   SET Index            1,030.77 เปลี่ยนแปลง (จุด)           1.40 มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท)  25,975.99   ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท) นักลงทุนต่างชาติ         3,086.72 บัญชีบริษัทหลักทรัพย์        -100.45 นักลงทุนสถาบันในประเทศ -1,369.10 นักลงทุนรายย่อย        -1,617.16   ตลาดหุ้นโลกยังผันผวน ตราบที่ยังต้องหามาตรการแก้ไขปัญหายุโรป S&P ได้ออกมาส่งสัญญาณเพิ่มเติมที่อาจจะปรับลดเครดิตเรตติ้งประเทศสมาชิกยุโรปอีก 15 แห่ง หลังจากก่อนหน้านี้ได้ปรับลดมุมมองประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปลงเป็น “เชิงลบ” จากเดิมที่เป็น “กลาง” พร้อมกับประกาศเตือนว่ามีโอกาสปรับลดเครดิตเรตติ้งประเทศผู้นำในสหภาพยุโรป 2 แห่ง ฝรั่งเศสและเยอรมัน ซึ่งการเคลื่อนไหวของ S&P อาจจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการออกมาตรการช่วยเหลือประเ ทศที่ประสบปัญหาการเงินในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในกลุ่ม PIIGS อย่างไรก็ตามทั้งหมดจะต้องติดตามผลการประชุมของผู้นำสภาพยุโรปในวันที่ 8-9 ธ.ค นี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแผนช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าหลายครั้งที่ผ่านมา เพราะการประชุมครั้งนี้น่าจะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางชั้นนำ 6 ประเทศของโลก (สหรัฐ แคนาดา อังกฤษ ญี่ปุ่น สวิส และ ECB)  ภายหลังจากที่ได้ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือในการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปที่ประสบปัญหาในขณะนี้  ผ่านการให้กู้ยืมเงินสกุลดอลลาร์แก่ ECB และธนาคารกลางอื่นๆ (ภายใต้ The dollar liquidity swap program) ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ  (ราว 0.58% จากปกติ 1.08%) ในช่วงเวลา 5 ธ.ค. 25554 ถึง 1 ก.พ. 2556  โดยสรุปการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องระยะสั้นในยุโรป แม้จะช่วยลดแรงกดดันตลาดเงินตลาดทุนในระยะสั้น แต่การแก้ไขปัญหาระยะกลางและระยะยาว ยังเป็นสิ่งจำเป็นและกำลังถูกชาวโลกจับตามอง และหากไม่เป็นที่ยอมรับ การถูกปรับลดเครดิตเรตติ้ง ก็ยังมีอยู่และอาจจะกลับมาเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในระยะสั้น ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดหุ้นโลกยังผันผวนอยู่ โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทย ณ expected PER 12 เท่า หรือ 1030 จุด ถือว่าเป็นแนวต้านระยะสั้น   ธนาคารกลางออสเตรเลียลดดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.25% สะท้อนวงจรดอกเบี้ยขาลงต่อเนื่อง ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ยังคงกดดันหลายประเทศทั่วโลกหันมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยเฉพาะการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นภาพรวมวงจรดอกเบี้ยขาลงกำลังเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก ล่าสุดธนาคารกลางออสเตรเลียยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 อีก 0.25% รวมปรับลดแล้วทั้งสิ้น 0.5% ลงสู่ ระดับ 4.25% หลังจากการปรับลดครั้งแรกต้นเดือน พ.ย. 2554 ขณะที่ก่อนหน้า ประเทศไทยเพิ่งปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีเศษ 0.25% ลงสู่ระดับ 3.25% หลังประสบปัญหาน้ำท่วมในประเทศ ที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ เป็นอย่างมากกว่า 1 แสนล้านบาท  และหลายประเทศได้ลดดอกเบี้ยก่อนหน้านี้คือ บราซิล ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% เหลือ 11.5% เป็นครั้งที่ 2 รวม 1%  อินโดนีเซีย ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดลง 0.25% หลังเพิ่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียว 0.25% และที่สำคัญคือ ECB (ธนาคารกลางยุโรป) ที่ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 0.25% สู่ 1.25% ในเดือนก่อน เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจยุโรปในฐานะเป็นกลุ่มประเทศต้นตอของปัญหาหนี้ในครั้งนี้ และคาดว่าในการประชุมวันที่ 8 ธ.ค. 2554 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของปี ECB น่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีกเป็นครั้งที่ 2 ราว 0.25% ลงสู่ 1% เพื่อช่วยแก้ไขวิกฤตการเงินครั้งนี้อีกทางหนึ่ง และหลังจากนี้คาดว่าจะเห็นหลายประเทศมีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยในช่วงถัดไป 3-6 เดือน ข้างหน้าโดยเฉพาะกลุ่มที่มีผลตอบแทนสุทธิยังเป็นบวกคือ เม็กซิโก +1.36% (ดอกเบี้ยนโยบาย 4.5%, เงินเฟ้อ 3.14%), รัสเซีย +1.05% (ดอกเบี้ยนโยบาย 8.25%, เงินเฟ้อ 7.2%) และ จีน+0.46% (ดอกเบี้ยนโยบาย 6.56%, เงินเฟ้อ 6.1%) โดยสรุปปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกล่าช้า จากความเสี่ยงของวิกฤตหนี้ยุโรป ทำให้นโยบายการเงินผ่อนคลายจำเป็นต้องนำมาใช้พร้อมกันทั่วโลก เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโลกในช่วงถัดไป ซึ่งวงจรขาลงของดอกเบี้ยจะกระตุ้นหุ้นในกลุ่มอสังหาฯ(AP, SC, SPALI, RAIMON, SIRI) และยานยนต์(SAT, STANLY) ให้กลับมามีเสน่ห์ดึงดูดนักลงทุนอีกครั้ง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ราคาหุ้นมักตอบสนองในเชิงบวก เมื่อดอกเบี้ยลง   นักลงทุนต่างชาติซื้อขายเบาบางตามฤดูกาล วานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อยในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 11 ล้านเหรียญฯ โดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้เป็นตลาดเดียวที่ถูกขายสุทธิกว่า 168 ล้านเหรียญฯ ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยมียอดซื้อสุทธิมากสุดกว่า 100 ล้านเหรียญฯ โดยนับเป็นการซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วันทำการ รองลงมาได้แก่ตลาดหุ้นอินโดนีเซียมียอดซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 2 อีก 33 ล้านเหรียญฯ สำหรับตลาดหุ้นไต้หวัน และ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ พบว่ามียอดซื้อสุทธิราว 16 ล้านเหรียญฯ และ 8 ล้านเหรียญฯ นับเป็นการซื้อติดต่อกัน 7 วันทำการ และ 4 วันทำการ ตามลำดับ ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า Fund Flow จะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบไปจนสิ้นปี เนื่องจากใกล้วันหยุดยาวของนักลงทุนต่างชาติ โดยปัจจัยหลักที่กำหนด Fund Flow ระยะสั้น ยังคงเป็นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปเช่นเดิม   นักวิเคราะห์:  ภรณี ทองเย็น, CISA  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146 เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132 กรภัทร วรเชษฐ์      ผู้ช่วยนักวิเคราะห์   โดย บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2554

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook