อุตุฯขอเครื่องแบบจำลองพยากรณ์ทางอากาศ
นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า แบบจำลองการพยากรณ์อากาศล่วงหน้าของที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบทั้งโลก ซึ่งสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ 7 วัน ซึ่งค่อนข้างต่ำ ส่วนโมเดล หรือ แบบจำลองในการพยากรณ์อากาศใช้ คือ แบบ 17 ก.ม. คูณ 17 ก.ม. นั้น คือหากเกิดภัยทางธรรมชาติที่กินพื้นที่ขนาดใหญ่ อาทิ พายุ โมเดลนี้ก็จะสามารถตรวจสอบได้ แต่ขณะเดียวกัน หากเกิดในพื้นที่ขนาดเล็กกว่านี้ โมเดลดังกล่าว ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้เมื่อเกิดภัยธรรมชาติในกรณีเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเครื่องจะมองไม่เห็น จึงมีปัญหาการพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้น้อยในพื้นที่จำกัดเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถที่จะตรวจสอบแบบเจาะลึกได้มากกว่า 17 ก.ม. ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องที่สามารถพยากรณ์ได้มากกว่า 7 วัน และหน่วยงานต่างๆ ก็ต้องการการพยากรณ์ล่วงหน้ามากกว่า 1 เดือน เพื่อบริหารจัดการน้ำ แต่ปัจจุบัน กรมอุตุฯ ทำได้แค่หาค่าเฉลี่ย ซึ่งนำไปบริหารจัดการไม่ได้ ก็เพราะติดขัดเรื่องงบประมาณที่จะใช้ซื้ออุปกรณ์ และรัฐบาลทราบเรื่องและคาดว่าคงจะมีการจัดสรรงบประมาณที่จะออกเป็น พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อการบูรณะและฟื้นฟูประเทศ ที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย พ.ศ.... 3.5 แสนล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ กยน. นำมาให้กรมอุตุฯ มาพัฒนาในด้านนี้ เพราะเป็นหน่วยงานแรกที่จะบอกว่าสภาพอากาศเป็นอย่างไร มีฝนตกที่ใดบ้างส่วนการเสนองบไปยังรัฐบาลที่ผ่านมา มีการเสนองบประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านบาท ในการจัดซื้อเครื่องมือ โดยเฉพาะซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้พยากรณ์อากาศ หากซื้อใหม่มีราคาเพียงหลัก 100 ล้านบาท ซึ่งหากได้รับการอนุมัติ ก็ไม่สามารถจัดซื้อได้ทันที เพราะจะต้องใช้เวลานับปีในการประกอบ และทำสำเร็จได้ในอย่างน้อย 3 ปี รวมถึงงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรไปกับทุกรัฐบาล แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจนถึงขณะนี้ ซึ่งหวังว่าที่รัฐบาลจะเมตตาให้ความสำคัญงบในส่วนนี้ ตามที่ได้ขอไปแต่ที่ยังไม่ได้นั้น เข้าใจว่าเนื่องจากมีการจัดสรรให้เรื่องอื่นที่มีสำคัญมากกว่า แต่ ณ เวลานี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นมูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท ซึ่งมองว่า หากนำงบประมาณเพียงพันล้านบาท ที่เป็นส่วนน้อยเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น จะทำให้รัฐบาลวางแผนบริหารจัดการน้ำ หรือแก้ปัญหาอุทกภัยได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามมองว่า งบประมาณที่จะนำมาให้กรมอุตุฯ ไม่ได้นำมาใช้ในส่วนของการพยากรณ์อากาศทั้งหมด แต่ต้องมาพัฒนาระบบต่างๆ 5 ระบบ ทำให้สามารถพยากรณ์ได้มากกว่านี้ คือ 1.การตรวจวัดเครือข่ายเครื่องมือข้อมูลนำเข้าต้องมากขึ้น 2.ระบบการประมวลผลต้องมีความเร็วอย่างสูง 3.แบบจำลองที่ใช้ต้องสามารถเจาะลึกในระดับท้องที่ อำเภอ ตำบลได้ 4.ผลที่ออกมาจากการคำนวณต้องเห็นชัดเจน และต้องส่งถึงมือประชาชนเร็วที่สุด และประชาชนต้องเข้าใจในข้อมูลได้ และ 5.ต้องพัฒนาบุคลากร และเพิ่มจำนวนบุคลากรของกรมอุตุฯ เนื่องจากปัจจุบันมีอยู่อย่างจำกัด เพราะหากลงทุนซื้อเครื่องมือ แต่ไม่พัฒนาบุคลากร ก็จะไปด้วยกันไม่ได้ ดังนั้นทั้ง 5 ระบบ ต้องทำพร้อมๆ กัน การให้งบประมาณเพียงเล็กน้อยแต่ละปี 1,200 - 1,300 ล้าน ไม่เพียงพอ เพราะเมื่อแยกเป็นงบประจำปี ประมาณ 900 ล้านบาทไป ก็จะเหลือเงินเพียง 200 - 300 ล้านบาท เท่านั้น ที่จะนำมาพัฒนาเครื่องมือและบุคลากร ซึ่งทำไม่ได้ถ้าหากรัฐบาลตัดสินใจให้งบประมาณก้อนใหญ่ ให้ กรมอุตุฯ พัฒนาทั้ง 5 ระบบพร้อมกัน ผลที่ได้จะสามารถพยากรณ์ได้แม่นยำ ยาวนานถูกต้องและมากกว่าเดิมสำหรับในต่างประเทศ ในขณะนี้ยอมรับว่า สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้เป็นเดือน ฤดู หรือ เป็นปี แต่ต้องเข้าใจว่าการพยากรณ์ ณ ขณะนี้ยิ่งห่างเท่าใด ความถูกต้องยิ่งน้อยลงไป เพราะขึ้นอยู่กับข้อมูลนำเข้า แต่อย่างน้อยหากได้เครื่องมือจะสามารถพยากรณ์ได้ยาวนานขึ้น ซึ่งงานที่การบริหารจัดการน้ำ จะสามารถนำข้อมูลไปบริหารจัดการน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ก็จะได้ประโยชน์ได้นาน ทั้งนี้เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่กรมอุตุฯ ใช้พยากรณ์อากาศในปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่ปี 2536 รวมเวลา 19 ปี เครื่องคอมพิวเตอร์ ในทุกวันนี้ยังเร็วกว่า เพียงแต่ที่ใช้อยู่มีความเสถียร หากเสียหรือชำรุดก็จะใช้เจ้าหน้าที่ของกรมฯ ซ่อม และไม่มีบริษัทในหรือต่างประเทศรับซ่อมแล้ว เนื่องจากหาอะไหล่ไม่ได้ จึงต้องคิดดูว่า มีความเสี่ยงมากเท่าใด