Daily Dr. Gold Analysis - บจ.เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์
สรุปราคาซื้อขายทองคำและGold Futures ภายในประเทศ ณ วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09.00 น. ทิศทางราคาทองคำ ราคาทองคำเปิดตลาดที่ระดับ 1,675 เหรียญ/ออนซ์ และกลับมาปิดช่วงกลางคืนที่ระดับ 1,647เหรียญ/ออนซ์ ค่าเงินบาทปิด 30.70บาท/ดอลลาร์ ราคาสมาคมเปิดที่ 24,350 บาท กับ 24,450 บาท และกลับมาปิดที่ 24,200 บาท กับ 24,300 บาท ปริมาณการซื้อขาย Gold Futures 50 บาท อยู่ที่ 6,555 คู่สัญญา แบบ 10 บาท อยู่ที่ 17,491 คู่สัญญา และ Silver Futures อยู่ที่ 79 คู่สัญญา ปริมาณการซื้อขาย Open Interest แบบ 50 บาท เพิ่มขึ้น 18% แบบ 10 บาท เพิ่มขึ้น 18% Silver Futures ลดลง 6% GFJ12 ปิดที่ 24,430 บาท เละ GFM12 ปิดที่ 24,640บาท และ GF10J12 ปิดที่ 24,440 บาท และ GF10M12 ปิดที่ 24,630บาท SVJ 12 ปิดที่ 1,016 สัญญา Comex ปิดลดลง 51.3 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 1649.2 ดอลลาร์/ออนซ์ Silver ปิดลดลง 1.4 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 32.18 ดอลลาร์/ออนซ์ SPDR ถือครองทองคำที่ 1,293.26 ตัน (เท่าเดิม) 0.41 ตัน น้ำมัน NYMEX ปิดลดลง 1.28 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดที่ระดับ 105.49 ดอลลาร์/บาร์เรล ดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 16.42 จุด ปิดที่ระดับ 13,194.10 จุด Ratio Gold / Silver เท่ากับ 51.05 ต่อ 1 ข่าวที่สำคัญ - เบอร์นันเกกล่าวต่อ Independent Community Bankers of America ว่า เฟดพยายามทำให้กฎใหม่ของธนาคารพาณิชย์สำหรับผู้ให้กู้ยืมรายย่อยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มธนาคารชุมชนเสียเวลาและเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งมุมมองโดยภาพรวมต่อธนาคารรายย่อยกำลังดีขึ้น แต่เศรษฐกิจเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมยังเป็นสิ่งที่ยังต้องเฝ้าจับตาดู และแม้ว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ก็เป็นไปได้อย่างช้าๆ ซึ่งเป็นการจำกัดโอกาสที่ดีในการให้กู้ยืมเพื่อหวังผลกำไร - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟได้อนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการการปล่อยเงินกู้ ซึ่งจะอนุญาตให้ไอเอ็มเอฟสามารถขยายระยะเวลาการปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศสมาชิกที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนออกไปเป็น 4 ปี สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะช่วยเหลือกรีซซึ่งกำลังประสบปัญาหนี้สิน ข่าวเพิ่มๆ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 51 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (14 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐ ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 หรือ QE3 นอกจากนี้ การที่แข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดสัญญาน้ำมันทองคำร่วงลงด้วย สัญญาทองคำที่ตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ดิ่งลง 51.3 ดอลลาร์ หรือ 3% ปิดที่ 1,642.9 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1652.0 - 1639 ดอลลาร์ - สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าสูงสุดในรอบ 11 เดือนเมื่อเทียบเงินเยน หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในการประชุมครั้งล่าสุด ถือเป็นการลดโอกาสที่เฟดจะใช้มาตรการซื้อพันธบัตรรอบ 3 เงินดอลลาร์แข็งค่า 0.8% เทียบเงินเยน แตะที่ 83.56 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่พุ่งแตะ 83.64 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนปีที่แล้ว ขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ก็แข็งค่า 0.2% เทียบยูโร แตะที่ 1.3055 ดอลลาร์/ยูโร หลังพุ่งแตะ 1.3031 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้านเงินเยนอ่อนค่าลง 0.4% เทียบยูโร แตะที่ 109.09 เยน/ยูโร เงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากการที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0 - 0.25 % ในการประชุมครั้งล่าสุด และยืนยันว่าจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี 2557 โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เฟดยังได้ปรับเพิ่มการประเมินภาวะเศรษฐกิจ โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะขยายตัวปานกลาง และคาดว่าอัตราว่างงานจะค่อยๆปรับตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้นเกินคาด แตะที่ 1.241 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.24% ของจีดีพี เนื่องจากตัวเลขนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น แต่ตัวเลขส่งออกลดลง ส่งผลให้ขาดดุลการค้ามากขึ้นก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า สหรัฐจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพียง 1.142 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 ปีที่แล้วสำหรับในไตรมาส 3 นั้น ตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับทบทวนแล้วอยู่ที่ 1.076 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 2.84% ของจีดีพีส่วนตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของตลอดปี 2554 อยู่ที่ 3.1% ของจีดีพี ลดลงเล็กน้อยจาก 3.2% ของจีดีพีในปี 2553 - อิตาลีประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปีได้ 6 พันล้านยูโรเมื่อวานนนี้ ด้วยอัตราผลตอบแทน 2.76% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553การประมูลครั้งนี้มีความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่ามูลค่าที่นำออกประมูลอยู่ 1.6 เท่า เทียบกับ 1.4 เท่าในการประมูลครั้งก่อนเมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยในการประมูลครั้งนั้นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.4%นอกจากนั้นอิตาลียังขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปีได้ 1 พันล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 4.3%ผลการประมูลพันธบัตรของอิตาลีที่มีต้นทุนการกู้ยืมลดลง แสดงให้เห็นว่าตลาดได้ผ่อนคลายแรงกดดันต่อตราสารหนี้ของอิตาลีอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีได้พุ่งอย่างมากในช่วงปลายปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากความไม่แน่ใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจของอิตาลี ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของยูโรโซน - ผลผลิตอุตสาหกรรมของยูโรโซนขยายตัว 0.2% ในเดือนมกราคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 ทั้งในเขตยูโรโซนและในสหภาพยุโรป (อียู) ในบรรดาชาติสมาชิกที่มีข้อมูลนั้น ผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงใน 6 ประเทศ และเพิ่มขึ้นใน 14 ประเทศ โดยฟินแลนด์ร่วงลงหนักสุด 5.1% ขณะที่สโลวาเกียพุ่งขึ้นสูงสุด 6.1% - สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเขตยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 2.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ นับว่าอยู่ที่ระดับดังกล่าวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และสอดคล้องกับการประเมินในเบื้องต้นเมื่อต้นเดือนมีนาคม นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจส่งสัญญาณว่ามีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่ต้นทุนน้ำมันที่พุ่งสูงหนุนเงินเฟ้อให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยในปีนี้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นแล้ว 7.7% จากความวิตกกังวลเรื่องสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับโลกตะวันตก ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญเมื่อคืน - Current Account ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ -110B คาดการณ์ว่าจะออกมาลดลงอยู่ที่ระดับ -114B ตัวเลขจริงออกมาลดลงจากเดิมที่ -124B - Import Prices m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 0.3% คาดการณ์ว่าจะปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 0.6% ตัวเลขจริงออกมาดีขึ้นจากเดิมที่ 0.4% - Crude Oil Inventories ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 0.8M คาดการณ์ว่าจะปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 2.2M ตัวเลขจริงออกมาดีขึ้นจากเดิมที่ 1.8M ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญวันนี้ - PPI m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 0.1 คาดการณ์ว่าจะออกมาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 0.5% - Unemployment Claims ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 362K คาดการณ์ว่าจะออกมาลดลงอยู่ที่ระดับ 357K - Core PPI m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 0.4% คาดการณ์ว่าจะออกมาลดลงอยู่ที่ระดับ 0.2% - Empire State Manufacturing Index ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 19.5 คาดการณ์ว่าจะออกมาลดลงอยู่ที่ระดับ 17.6 - TIC Long-Term Purchases ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 17.9B คาดการณ์ว่าจะออกมาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 29.3B - Philly Fed Manufacturing Index ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 10.2 คาดการณ์ว่าจะออกมาลดลงอยู่ที่ระดับ 11.9 วิเคราะห์ทางเทคนิค Gold – ราคาทองคำปรับตัวลดลงรวดเร็วรุนแรงเมื่อวานตามที่ MTS Gold ได้วิเคราะห์ไปแล้วของแนวโน้มขาลงของทองคำ หลังจากปรับตัวลดลงหลุดแนวรับบริเวณ 1695 เหรียญ ลงมา เมื่อวานนี้ราคาทองคำเปิดตลาดที่ระดับ 1678 เหรียญ และค่อยๆปรับตัวดลดลงมาโดยตลอดกว่า 30 เหรียญ ทั้งตลาดเอเชียและComex โดยที่ SPDR ถือครองเท่าเดิม 1293.26 ตัน ในขณะที่สาเหตุของการที่ราคาทองคำตกเรื่องแรกมาจากปัญหาของฝั่งยุโรปคือปัญหาของหนี้กรีซที่กดดันทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้ดอลลาร์เป็นsafe heaven ของนักลงทุนและเกิดแรงเทขายในทองคำ ประเด็นที่เรื่องสองคือการที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐต่างๆไม่ว่าจะเป็น การจ้างงานนอกภาคการเกษตร การว่างงาน ยอดค้าปลีก ฯลฯ ดีขึ้น ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กดดันทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง และทำให้ความคาดหวังในการออกนโยบาย QE3 ไม่น่าจะมีหรือล่าช้าออกไปอย่างไม่มีกำหนด ราคาทองคำยังเข้าสู่แนวโน้มขาลงโดยมีแนวรับถัดไป ทีระดับ 1627 เหรียญ ซึ่งเป็นแนวรับของนักลงทุนระยะยาว โดยที่ถ้าคำนวณตาม Fibonacci Number ตลอดระยะเวลาจากต้นปีจนถึงที่ขึ้นมาจนสูงสุด จะอยู่ที่ 1,540 เหรียญจนขึ้นมาที่ 1,792 เหรียญแล้วค่อยกลับตกลงมา Fibonacci Figure กำลังทดสอบที่เส้น 61.8% ที่ระดับ 1,630 เหรียญ ซึ่งใกล้เคียงกับแนวรับสำคัญของนักลงทุนระยะยาว ซึ่งน่าจะรับอยู่ แนวรับถัดไป 1600 เหรียญ ซึ่งใกล้เคียงกับแนวรับสำคัญของนักลงทุนระยะยาว ฉะนั้นหมายความว่าระดับ 1,630 น่าจะเอาอยู่ในเบื้องต้น ถ้าเอาไม่อยู่ก็อาจลงหลุดไปที่ 1,600 เหรียญเลยหรืออาจหลุด 1,600 เหรียญลงมาด้วยซ้ำ Gold Futures J12 จะมีแนวรับที่ระดับ 24,150 บาท และแนวต้านที่ระดับ 24,400 บาท Gold Futures M12 จะมีแนวรับที่ระดับ 24,400 บาท และแนวต้านที่ระดับ 24,670 บาท Silver Futures J12 จะมีแนวรับที่ระดับ 970 บาท และแนวต้านที่ระดับ 1,020 บาท คำแนะนำ สำหรับนักลงทุนระยะรายวัน (Daily Trade) เก็งกำไรในภาวะขาลง คือให้ขายในจังหวะที่มีการเด้งขึ้นมาบริเวณ 1660 เหรียญ และซื้อกลับเมื่อราคาอ่อนตัวเป็นการปิดสถานะ กรอบ 1630-1650 เหรียญ นักลงทุนรายสัปดาห์ (Weekly Trade) ตามที่เราได้ให้ทำการลดพอร์ตและ Cut loss ออกไปแล้ว พอร์ตขณะนี้ควรเป็น 0 % หรือถือ short position ถ้าถือ short แนะนำให้ทำกำไรออกไป นักลงทุนระยะยาวทองคำแท่ง เมื่อวานให้ลดพอร์ตไปแล้ว น่าจะถือครองไม่เกิน 10 % จังหวะนี้เป็นจังหวะเข้าช้อนซื้อ บริเวณ 1640 (+, -) เป็นการทำกำไรในระยะยาวซื้อ 10-20 % สรุปได้ว่า ราคาทองคำเข้าสู่ทิศทางแนวโน้มขาลง นักลงทุนจะต้องบริหารพอร์ตให้เหมาะสมกับสภาพคล่องของตนเอง และจำเป็นต้องบริหารให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ ในสภาวะที่ท่านใช้ Margin ในลงการลงทุน Gold Futures จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการบริหารพอร์ตให้เป็นไปตามทิศทางแนวโน้ม มิฉะนั้นจะเข้าข่ายการ Force Close การบริหารพอร์ตเป็นสิ่งที่ MTS Gold ได้แนะนำมาโดยตลอด บทวิเคราะห์ข้างต้น ยึดหลักตาม Technical Analysis บริษัทไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ต่อการวิเคราะห์ข้างต้น และโปรดระลึกเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุนด้วยตัวของท่านเอง บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ จำกัด 121/19 ดิโอลด์สยามพลาซ่า ชั้น 1 ถ.พาหุรัด แขวง วังบูรพาภิรมย์ เขต พระนคร กรุงเทพ 10200 Tel. 02-222-5959 FAX(Office): 0-2222-5554 โดย บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ จำกัด ประจำวันที่ 15 มี.ค. 2555