กทม. คาด อุโมงค์ระบายน้ำเก่า40ปีชำรุดทำถ.พระราม4ยุบ

กทม. คาด อุโมงค์ระบายน้ำเก่า40ปีชำรุดทำถ.พระราม4ยุบ

กทม. คาด อุโมงค์ระบายน้ำเก่า40ปีชำรุดทำถ.พระราม4ยุบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบงานด้านการโยธา เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ นายวินัย ลิ่มสกุล ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. นายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. และ นายขัตติยะ เหราบัตย์ ผอ.ฝ่ายควบคุมการก่อสร้างการประปานครหลวง เพื่อหาข้อสรุปสาเหตุและแนวทางการป้องกัน กรณีเกิดเหตุถนนทรุดตัว เป็นหลุมกว้าง 5 เมตร ลึกเกือบ 2 เมตร บริเวณ ถ.พระราม 4 ฝั่งขาเข้า ใต้สะพานไทย-เบลเยียม ห่างจาก สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ลุมพินี (ประตู 2) เพียง 20 เมตร เมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ต้องมีการปิดการจราจรในจุดดังกล่าวชั่วคราว เพื่อป้องกันอันตราย แต่ได้เร่งซ่อมแซม จนสามารถสัญจรได้ตามปกติ โดยการประชุมดังกล่าวนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้ขอเวลาประชุม โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าร่วมฟังด้วย แต่จะมีการแถลงข่าวให้ทราบในภายหลัง อย่างไรก็ตาม สำหรับบริเวณที่เกิดเหตุนั้น รถสามารถสัญจรผ่านได้ตามปกติ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ ยังคงใช้บริการของรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่จากการสอบถาม ยอมรับว่ามีความกังวลเล็กน้อย เนื่องจาก จุดที่เกิดเหตุ อยู่ใกล้ จึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกียวข้องเร่งแก้ไขปัญหา ภายหลังการการประชุม นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบงานด้านการโยธา เปิดเผยผลการประชุมเพื่อสาเหตุกรณีเกิดถนนทรุดตัว กว้างกว่า 5 เมตร ลึก 2 เมตร บริเวณถนนพระราม 4 ใต้สะพานไทย-เบลเยียม เยื้องกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินี บริเวณประตู 2 ประมาณ 20 เมตร โดยระบุว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นเชื่อว่าสาเหตุสำคัญน่าจะเกิดจากอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ของ กทม. บริเวณ ถ.พระราม 4 เพราะอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุมากที่สุด เกิดการชำรุดเสียหาย เพราะใช้งานมาตั้งแต่ปี 2515 รวมอายุการใช้งานกว่า 40 ปีแล้ว ส่งผลให้เศษทราย หรือวัสดุที่อยู่บริเวณใต้ถนนถูกดูดและได้ไหลหายเข้าไปในอุโมงค์ระบายน้ำ ซึ่งหายเข้าไปมากกว่า 40-50 คิว จนทำให้ถนนดังกล่าวเกิดทรุดตัว จึงได้มอบหมายให้สำนักการระบายน้ำ กทม. ทำการตรวจสอบว่า เกิดการชำรุดในจุดใดบ้าง หากพบว่า ชำรุดเสียเป็นจำนวนมาก จะให้มีการทำการซ่อมครั้งใหญ่ต่อไป พร้อมกันนี้ยังกล่าวด้วยว่า อุโมงค์ดังกล่าวเกิดการทรุดตัวมาแล้ว 2 ครั้ง จึงน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญและไม่น่าจะเกี่ยวกับระบบการก่อสร้างของถนน รวมทั้งการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินด้วย เนื่องจากว่ามีระบบป้องกันและวางแผนการก่อสร้างเป็นอย่างดี แต่เบื้องต้นก็ได้ให้แต่ละหน่วยงาน ตรวจสอบความเสียหายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อทำการป้องกัน และตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook