สองแถวรวมพล หน้าคค.จี้แจงเบรกขึ้นค่ารถจันทร์นี้

สองแถวรวมพล หน้าคค.จี้แจงเบรกขึ้นค่ารถจันทร์นี้

สองแถวรวมพล หน้าคค.จี้แจงเบรกขึ้นค่ารถจันทร์นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายฉัตรชัย ภู่อารีย์ ประธานชมรมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางหมวด 4 (รถเล็ก) เอกชน กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จากผลการประชุมของคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นค่าโดยสาร ดังนั้น กลุ่มรถสองแถว ได้หารือกัน พร้อมนัดไปรวมตัว หน้ากระทรวงคมนาคม ในวันจันทร์ที่ 26 มีนาคมนี้ เพื่อยื่นหนังสือถึง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองปลัดกระทรวงฯ  ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องดังกล่าว  เพื่อขอทราบเหตุผลในการไม่อนุญาตปรับขึ้นค่าโดยสารให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง   ทั้งนี้ อดีตที่ผ่านมาการพิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสาร จะใช้ 3 เกณฑ์คือ 1.ภาวะเศรษฐกิจสูง ซึ่งถามว่าในปัจจุบันสูงหรือไม่  สังคมได้ตอบแล้วว่าสูงแล้ว  2.น้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น และวันนี้ราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับเพิ่มขึ้นแล้ว  ซึ่งทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังใช้น้ำมันดีเซล  3.ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ที่เริ่ม 1 เมษายนนี้ รวมถึง เงินเดือนข้าราชการที่ปรับไปแล้ว 15,000 บาท ด้วย 3 เกณฑ์ ดังกล่าวต้องการทราบว่าสมเหตุสมผลแล้วหรือยัง อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคม ต้องระบุให้ชัดเจนว่า จะเชิญกลุ่มรถโดยสารกลุ่มใดหารือแก้ปัญหา เนื่องจากขณะนี้มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรถร่วม ขสมก. และกลุ่มรถสองแถว  ซึ่งกลุ่มแรกยังไม่มีปัญหาก็ต้องชัดเจนด้าน นางสุจินดา  เชิดชัย  นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง เปิดเผยว่า ทราบผลการประชุมแล้วในวันนี้ จะหารือกับคณะกรรมการรถร่วม ร่วมกัน เพราะการจะพยุงต้นทุน  เพื่อไม่ให้ผลประกอบการขาดทุนเป็นเรื่องยาก เพราะการให้บริการขนส่งผู้โดยสารมีต่อเนื่องทุกวัน  หากไม่วิ่งบริการก็จะมีความผิดตามกฎหมาย ที่ออกใบอนุญาตให้ จึงต้องนัดหารือเพื่อหาข้อสรุปว่า จะแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวอย่างไรรถสองแถวบางกรวย-นนท์ยังไม่ปรับขึ้นราคา จากการสำรวจการให้บริการรถสองแถวที่วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารในพื้นที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ภายหลังจาก กระทรวงคมนาคม ยังไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการ ปรับราคาค่าโดยสาร ล่าสุดพบว่า รถสองแถวที่ให้บริการอยู่ในพื้นที่ ยังคงออกมาวิ่งตามปกติ และไม่มีการปรับราคาขึ้นแต่อย่างใด ในขณะที่จากการสอบถามผู้ขับรถสองแถว กล่าวว่า เพิ่งทราบถึงมติในที่ประชุมที่ออกมา จึงอยากให้ทาง กระทรวงคมนาคม พิจารณาด้านโครงสร้างของกิจการผู้ประกอบการแต่ละรายให้ถี่ถ้วน เพราะเกรงว่า ถ้าหากผู้ประกอบการ หรือ เจ้าของอู่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น อาจส่งผลให้มีการลดเที่ยววิ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้รับจ้างขับรถ ขาดรายได้ตามไปด้วย และเห็นว่าหากจะมีการปรับราคาขึ้น ควรขึ้นอีกไม่เกิน 1 บาท จึงจะเชื่อว่า เจ้าของอู่รถจะดำเนินกิจการอยู่ต่อไปได้ ส่วนทางด้านของประชาชนผู้ใช้บริการรถสองแถวส่วนใหญ่ กล่าวว่า แม้จะรู้สึกดีใจ ที่ยังไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้นราคา แต่ก็เชื่อว่าจะมีการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารในอีกไม่นานนี้ เพราะน้ำมันดีเซล ยังมีราคาแพง ซึ่งถ้าจะปรับขึ้นจริง ก็ไม่ควรขึ้นเกิน 1-2 บาท จึงจะรับได้ จึงอยากให้ผู้ประกอบการขึ้นราคาให้เหมาะสมกับต้นทุนที่เป็นจริง บอร์ดขนส่งกลางชี้รถร่วมขึ้น30%สูงไปรอถกใหญ่25เม.ย. นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง เปิดเผยถึงการประชุมผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะขอปรับราคาค่าโดยสาร หลังจากราคาพลังงานสูงขึ้นว่า กำลังเริ่มทยอยปรับความเข้าใจกับผู้ประกอบการทุกกลุ่ม โดยวันที่ 4 เม.ย.นี้ จะเริ่มหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง หมวด 4 หรือ รถสองแถวจากนั้นหารือกับหมวด 2 ที่วิ่งให้บริการ ระหว่างกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด และหมวด 3 วิ่งบริการระหว่างจังหวัด เพื่อปรับความเข้าใจให้ตรงกัน เนื่องจากผู้ประกอบการในแต่ละหมวดใช้พลังงานต่างกัน บางหมวดใช้น้ำมันดีเซล ขณะบางหมวดใช้ก๊าซ NGV และ LPG จากนั้นวันที่ 25 เม.ย. ก็จะหารือร่วมกันทั้งหมด ถึงต้นทุนที่ผู้ประกอบการรับภาระอยู่จะได้หาทางออกร่วมกันโดยที่ยังคงตรึงราคาค่าโดยสารต่อไป และไม่ให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ แต่หากรถร่วมเอกชน ขสมก.จะปรับขึ้นค่าโดยสาร 30% ถือว่าสูงมาก หากฝ่าฝืน ถือว่ามีความผิด อาจถูกปรับและยึดใบอนุญาตได้ ทั้งนี้ หากรถสองแถววิ่งกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด จะปรับลดเที่ยววิ่ง สามารถทำได้ หากพิจารณาดูแล้ว ว่า ผู้โดยสารมีจำนวนน้อย ไม่คุ้มทุน ซึ่งผู้ออกใบอนุญาตช่วยยืดหยุ่นให้กับผู้ประกอบการ แต่หากวิ่งรับส่งผู้โดยสารไปไม่ถึงปลายทาง ตามที่ได้รับใบอนุญาต ก็อาจถูกพิจารณาเป็นรายๆ เพราะให้บริการไม่ถึงจุดหมาย ถือว่ามีความผิด สองแถวรวมพล หน้าคค.จี้แจงเบรกขึ้นค่ารถจันทร์นี้ นายฉัตรชัย ภู่อารีย์ ประธานชมรมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางหมวด 4 (รถเล็ก) เอกชน กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จากผลการประชุมของคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นค่าโดยสาร ดังนั้น กลุ่มรถสองแถว ได้หารือกัน พร้อมนัดไปรวมตัว หน้ากระทรวงคมนาคม ในวันจันทร์ที่ 26 มีนาคมนี้ เพื่อยื่นหนังสือถึง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองปลัดกระทรวงฯ  ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องดังกล่าว  เพื่อขอทราบเหตุผลในการไม่อนุญาตปรับขึ้นค่าโดยสารให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง   ทั้งนี้ อดีตที่ผ่านมาการพิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสาร จะใช้ 3 เกณฑ์คือ 1.ภาวะเศรษฐกิจสูง ซึ่งถามว่าในปัจจุบันสูงหรือไม่  สังคมได้ตอบแล้วว่าสูงแล้ว  2.น้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น และวันนี้ราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับเพิ่มขึ้นแล้ว  ซึ่งทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังใช้น้ำมันดีเซล  3.ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ที่เริ่ม 1 เมษายนนี้ รวมถึง เงินเดือนข้าราชการที่ปรับไปแล้ว 15,000 บาท ด้วย 3 เกณฑ์ ดังกล่าวต้องการทราบว่าสมเหตุสมผลแล้วหรือยัง อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคม ต้องระบุให้ชัดเจนว่า จะเชิญกลุ่มรถโดยสารกลุ่มใดหารือแก้ปัญหา เนื่องจากขณะนี้มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรถร่วม ขสมก. และกลุ่มรถสองแถว  ซึ่งกลุ่มแรกยังไม่มีปัญหาก็ต้องชัดเจน ด้าน นางสุจินดา  เชิดชัย  นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง เปิดเผยว่า ทราบผลการประชุมแล้วในวันนี้ จะหารือกับคณะกรรมการรถร่วม ร่วมกัน เพราะการจะพยุงต้นทุน  เพื่อไม่ให้ผลประกอบการขาดทุนเป็นเรื่องยาก เพราะการให้บริการขนส่งผู้โดยสารมีต่อเนื่องทุกวัน  หากไม่วิ่งบริการก็จะมีความผิดตามกฎหมาย ที่ออกใบอนุญาตให้ จึงต้องนัดหารือเพื่อหาข้อสรุปว่า จะแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวอย่างไร สองแถวศิริราช โอดน้ำมันแพง ต้นทุนเพิ่ม70บาท/วัน กลุ่มผู้ขับรถสองแถวที่ให้บริการ อยู่ในเส้นทางท่าน้ำศิริราช ผ่านสี่แยกพรานนก และถนนจรัญสนิทวงศ์ กล่าวว่า จากการปรับราคาของพลังงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องรับภาระทางด้านต้นทุน อาทิ ค่าเช่ารถ ค่าน้ำมันเครื่องและก๊าชที่เพิ่มขึ้นอีกวันละ 70 บาท จึงทำให้ต้นทุนก่อนที่จะได้นำรถออกมาขับแต่ละวัน อยู่ที่ประมาณ 600 บาท ขณะที่รายได้จากค่าโดยสาร หลังจากหักค่าใช้จ่ายออกไปแล้ว ทำให้มีเงินเหลืออีกไม่ถึงประมาณ 200 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นกำไรที่น้อยมาก จึงได้มีแนวคิดจะรวมกลุ่มกัน ขอปรับขึ้นราคาอีก 1-2 บาท และอยากให้ กระทรวงคมนาคม ส่งเจ้าหน้าที่ลงมาสำรวจข้อมูลในพื้นที่จะได้รู้ว่า การปรับขึ้นราคาในครั้งนี้เป็นเพราะได้รับความเดือดร้อนจริงๆ ส่วนความคิดเห็นของผู้ใช้บริการรถสองแถวในย่านดังกล่าวนั้น กล่าวว่า รู้สึกรับไม่ได้ หากจะมีปรับขึ้นราคา เพราะถือว่าราคา 6 บาท เป็นราคาที่เหมาะสมกับระยะทาง อีกทั้งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้นอีก แต่ถ้าหากมีการปรับราคาขึ้น ก็ถือว่าควรจะปรับขึ้นไม่เกิน 1-2 บาท เท่านั้น  รมว.พณ.ยันรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจแก้ของแพง นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสด นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่องการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าที่แพงขึ้นในปัจจุบัน แต่ นายกรัฐมนตรี ติดภารกิจ จึงส่ง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาตอบแทน โดย นายประเสริฐ กล่าวว่า สินค้าอุปโภค บริโภคต่างๆ มีการปรับขึ้นราคา โดยในอนาคตค่าโดยสารรถสาธารณะ รถสองแถว วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รวมถึง แก๊สหุงต้ม ก็จะมีการปรับราคาราคา ประชาชนบ่นว่า ของแพง เมื่อไรรัฐบาลจะแก้ของแพงได้จากนั้น นายบุญทรง ตอบกระทู้โดยยืนยันว่า ราคาสินค้าได้ปรับราคาลงแล้ว ตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมา โดยยกตัวอย่าง เนื้อหมู เนื้อไก่ พร้อมกับ ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการดูแลราคาสินค้า ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปในพื้นที่ต่างๆ เพื่อตรวจสอบราคาสินค้า หากพบผู้ประกอบการรายใด มีการแอบขึ้นราคา ทางกระทรวงพาณิชย์ ก็จะดำเนินคดีตามกฎหมาย พณ.เผยน้ำมันแพงไม่กระทบต้นทุนสินค้า นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ทางกรมได้ศึกษาผลกระทบ จากการปรับราคาสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิง ต่อต้นทุนการผลิตสินค้า พบว่า สินค้าบางประเภท แทบไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ค่าเชื้อเพลิงไม่เกิน ร้อยละ 0.05  สินค้า อาหารใช้ค่าเชื้อเพลิงประมาณร้อยละ 0.4 แต่บางสินค้า อาจได้รับผลกระทบมาก เช่น สินค้าวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากมีน้ำหนักสูง โดยมีค่าเชื้อเพลิงประมาณร้อยละ 5 แต่จากการศึกษาทั้งระบบ พบว่า ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ผู้ผลิตจะนำมาเป็นข้ออ้างในการขอปรับราคาสินค้าได้ พณ.ยันขึ้นค่าแรง300บ.กระทบราคาสินค้าน้อย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ตามนโยบายของรัฐบาล มีผลดีต่อประชาชน และเศรษฐกิจโดยรวม โดยยืนยันว่า ส่งผลกระทบต่อสินค้าน้อยมาก ทางด้าน นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า โครงสร้างต้นทุนราคาสินค้ามีทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายการผลิต และการใช้จ่าย ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบนั้นเป็นสัดส่วนหลักประมาณร้อยละ 70-90 และต้นทุนแรงงานมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1-5 เท่านั้น และเมื่อมองในภาพรวมแล้ว ต้นทุนการผลิตอาจไม่เพิ่มสูงขึ้นจากแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น หอการค้าเผยขึ้นค่าแรง300ปัจจัยเร่งผู้ประกอบการย้ายฐานลงทุน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน หรือโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 นั้น ถือเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้ประกอบการย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนค่าแรงน้อยกว่า โดยเฉพาะในประเทศพม่า และเวียดนาม ซึ่งทั้ง 2 ประเทศ ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากสหภาพยุโรปเกือบทุกรายการสินค้า โดยเฉพาะพม่า หลังจากเปิดประเทศแล้ว จะเป็นประเทศที่น่าลงทุนมาก และหากรัฐบาลชะลอการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ออกไป จะกระทบต่อความเชื่อมั่นสูงมาก และรัฐบาลไม่ควรทำ โชห่วยบ่นน้ำมันแพงแบกรับต้นทุนมาก เจ้าของร้านขายของชำ หรือ ร้านโชห่วยที่อยู่ในเขตบางกอกน้อยหลายราย กล่าวว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้สินค้าที่รับจากพ่อค้าคนกลาง และร้านขายส่งขนาดใหญ่ มีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย และเมื่อรวมกับค่าขนส่งที่เจ้าของร้านเสียไปในการวิ่งซื้อสินค้า จึงถือว่าต้นทุนในการดำเนินกิจการแต่ละวันค่อนข้างสูง และมีสินค้าหลายชนิดที่กำหนดราคาที่หน้าซองและบรรจุภัณฑ์เป็นราคาที่ตายตัว และไม่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเมื่อนำมาขาย เจ้าของร้านโชห่วยส่วนใหญ่แทบจะไม่สามารถทำกำไรได้ จึงอยากให้รัฐบาลเร่งพูดคุยกับพ่อค้าคนกลาง และผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อหาแนวทางในการปรับราคาสินค้าไม่ให้กระทบกับร้านโชห่วย เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้ผู้ประกอบการร้านโชห่วยหลายรายต้องทยอยปิดกิจการมากขึ้น ขสมก. แนะ รัฐบาล ควรอนุญาต ปรับขึ้นราคา นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานชมรมรถร่วม ขสมก. กล่าวว่า รัฐบาลควรอนุญาตให้ผู้ประกอบการรถสองแถวที่ใช้ก๊าซ NGV และน้ำมันดีเซล ปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร เพราะขณะนี้มีรถสองแถวที่ได้รับผลกระทบ รวมแล้วกว่า 5,000 คัน ส่วนการที่รัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ออกมากล่าวว่า จะเรียกผู้ประกอบการเข้าไปพูดคุย ส่วนตัวมองว่า เป็นการซื้อเวลาในการขึ้นราคามากกว่า เพราะตารางตัวเลขและข้อมูลโครงสร้างของการประกอบกิจการ ที่กรมการขนส่งทางบกมี และผู้ประกอบการนั้นมีตรงกันอยู่แล้ว เพราะที่ผ่านมามีการนำเสนอมาโดยตลอด ซึ่งทางด้านของผู้ประกอบการ ก็เห็นว่า รถสองแถวที่ใช้ก๊าซ NGV ควรได้รับการปรับราคาขึ้นเป็น 6 บาท ส่วนรถสองแถวที่ใช้น้ำมันดีเซล ควรปรับราคาขึ้นเป็น 7 บาท จึงจะมีการสอดคล้องกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ถ้าหากไม่มีการอนุญาต ก็เชื่อว่าผู้ประกอบการก็จะไม่เชื่อรัฐบาลอีกแล้ว และจะมีการปรับขึ้นราคากันเอง ขณะนี้ มีผู้ประกอบการหลายรายขึ้นราคาไปแล้ว และอาจมีบางกลุ่มออกไปประท้วงขอความเป็นธรรม รวมถึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ว่ารัฐบาล กดดันผู้ที่ประกอบอาชีพโดยสุจริตด้วย ปธ.รถร่วม ขสมก. ชี้ รบ.ไม่ควรขึ้น NGV นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานชมรมรถร่วม ขสมก. กล่าวถึงการที่รัฐบาลเตรียมปรับราคาก๊าซ NGV ขึ้นอีกกิโลกรัมละ 50 สตางค์ เป็นกิโลกรัมละ 10.50 บาท ในวันที่ 16 เม.ย. นี้ ว่า รัฐบาลไม่ควรปรับราคาขึ้นอีกแล้ว เพราะเห็นว่าราคา 10 บาท เป็นราคาที่เหมาะสม อีกทั้งราคาก๊าซจากต้นทางจนถึงผู้บริโภคมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ กิโลกรัมละ 7 บาท จึงทำให้ ปตท. ได้กำไรอยู่แล้ว และการปรับขึ้นราคาก๊าซ จะทำให้ผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก. และรถซิตี้บัส ทยอยปรับขึ้นราคาตามไปด้วยอย่างแน่นอน และจะทำให้ภาระค่าใช้จ่ายตกอยู่กับประชาชน รวมทั้งในต้นเดือน เม.ย. นี้ กลุ่มผู้ประกอบการก็จะเดินทางไปยื่นต่อศาลปกครอง รวมถึงจะฟ้องคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ และความเป็นธรรมในการปรับราคาค่าโดยสาร นอกจากนี้ หากมีการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV อีก ประธานชมรมรถร่วม ขสมก. ได้เสนอให้รัฐบาลเปลี่ยนมาจ้างผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก. วิ่งรับ - ส่งผู้โดยสารจำนวน 3,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถร่วม 1,800 คัน และรถ ขสมก. จำนวน 1,200 คัน ในราคาจ้างวิ่งวันละ 6,000 บาท โดยไม่เก็บค่าโดยสารกับประชาชน ซึ่งจะทำให้ลดส่วนต่างที่รัฐบาลจ้างรถ ขสมก. วิ่งรับ - ส่งฟรีอยู่ในขณะนี้ มากถึงเดือนละ 60 ล้านบาท  ปธ.หอการค้าฯจี้รบ.ดูแลSMEหากจะขึ้นค่าแรง นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัญหาการย้ายฐานการผลิตของประเทศไทย จะไม่เกิดขึ้น หากดรัฐบาลสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาน้ำได้ แต่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนในประเทศด้วย โดยสถานการณ์ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ จะต้องดูแลภาคเอกชน โดยเฉพาะ SME ให้สามารถปรับตัวให้ได้ก่อน และสำหรับสถานการณ์ภายนอก มองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงทรงตัว จนกว่าการเลือกตั้งจะผ่านพ้นไป และในสหภาพยุโรป ยังมองไม่เห็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ดังนั้นประเทศไทย จึงต้องมุ่งการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน และอาเซียนบวก 3 รวมทั้ง อาเซียนบวก 6 แทน ก.พลังงานเตรียมหารือต้นทุนก๊าช นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยภายหลังการหารือต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติร่วมกับภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการภาคขนส่ง ว่าผลการหารือคืบหน้าไปมากทุกฝ่ายเห็นตรงกันในเรื่องราคาเนื้อก๊าซ เพราะข้อมูลที่กระทรวงพลังงานนำมาเปิดเผยแสดงให้เห็นว่าการทำสัญญาซื้อขายก๊าซจากแหล่งต่างๆ มีความเป็นสากล โดยราคาก๊าซปากหลุม ที่ซื้อจากพม่า อยู่ที่ประมาณ 13 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคาอ่าวไทยอยู่ที่ 7 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งราคาก๊าซพม่า แพงกว่า เพราะเป็นการซื้อขายระหว่างประเทศ ที่ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนขณะที่อ่าวไทย อยู่ในประเทศทำให้ปัญหาความข้องใจราคาก๊าซที่ปากหลุมจบไป ทั้งนี้ การประชุมครั้งหน้าจะพิจารณาเรื่องต้นทุนค่าขนส่งการดำเนินการ และการสร้างสถานีแม่ สถานีลูก มาพิจารณาว่าจะสามารถนำมาลดต้นทุนได้หรือไม่ ซึ่งวันที่ 10 เม.ย. นี้จะต้องได้ข้อสรุปก่อนนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พิจารณาต่อไป ผู้ประกอบการขนส่งเตรียมขึ้นค่าขนส่งอีก5% นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการภาคขนส่ง เตรียมปรับขึ้นค่าขนส่งอีกร้อยละ 5 ในไตรมาสที่ 2 หากราคาน้ำมันดีเซลยังคงผันผวนเกิน 33 บาทต่อลิตร หลังจากที่ไตรมาสแรก ได้มีการปรับขึ้นราคาแล้วร้อยละ 5 ตามต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าโดยสารรถสาธารณะ ถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปดูแล เพราะจะกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนโดยตรง รถร่วมขสมก.เตรียมพบรมว.คค.ถกค่าโดยสาร นายวิทยา เปรมจิตร์ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชน ผู้ประกอบการรถโดยสารร่วมบริการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ได้นัดหมายกับ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แล้วว่า ในวันที่ 26 มี.ค. เวลา 09.00 น. ผู้ประกอบการจะเข้าไปยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อให้พิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสารระยะละ 2 บาท เพราะผู้ประกอบการรอให้พิจารณาจนถึงวันที่ 25 เม.ย. นี้ ไม่ได้ พร้อมกับจะนำตัวเลขและข้อมูลที่เกี่ยวข้องรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รับทราบถึงต้นทุนที่แท้จริงในการประกอบการด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook