หอการค้าชี้ขึ้นค่าแรง300บ.กระทบปชช.ทำของแพงขึ้น

หอการค้าชี้ขึ้นค่าแรง300บ.กระทบปชช.ทำของแพงขึ้น

หอการค้าชี้ขึ้นค่าแรง300บ.กระทบปชช.ทำของแพงขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึง ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในปัจจุบันและทัศนะต่อค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า ประชาชนร้อยละ 59.3 ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งมองว่า จะทำให้สินค้าแพงขึ้น อย่างไรตาม ยังมองว่า การปรับค่าจ้างทำได้เหมาะสมแล้ว แต่จะต้องดูแลสภาพคล่องของผู้ประกอบการด้วย เพราะมีสัญญาณของการจ้างแรงงานน้อยลง และมีการย้ายฐานการผลิต รวมทั้งการใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานจะมีมากขึ้น ซึ่งกลไกลของภาครัฐที่จะช่วยเยียวยาภาคเอกชน เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะส่วนใหญ่มองว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี เป็นต้นไป และบางส่วนมองว่า เศรษฐกิจอาจฟื้นตัวตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่ 4  หอการค้าเผยหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่ม5.7% นายวชิระ คูณทวีเทพ อาจารย์ประจำศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ภาคครัวเรือน จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศพบว่า ในปี 2555 จำนวนหนี้ภาคครัวเรือนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 คิดเป็นจำนวนหนี้ 168,517 บาทต่อครัวเรือน โดยมีแนวโน้มหนี้นอกระบบมากขึ้น ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 46.4 ในขณะที่หนี้ในระบบ มีสัดส่วนร้อยละ 53.6 และส่วนใหญ่ร้อยละ 79.8 เคยมีปัญหาในเรื่องของการชำระหนี้ เนื่องจากค่าครองชีพสูงกว่ารายได้ จึงต้องมีการกู้เงินเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทำให้เงินออมลดลง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ทำให้การบริโภคลดลงด้วย ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศในอนาคต ธนวรรธน์ชี้บาทอ่อนเสี่ยงเก็งกำไรไม่สะท้อนศก.ที่แท้จริง นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับการบริหารค่าเงินให้มีเสถียรภาพ เป็นไปตามกลไกลราคา และสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามความเหมาะสม ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวไม่สูงมากของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมองว่า ค่าเงินบาทที่ 30.5 - 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถปรับตัวในการแข่งขันได้ แต่หากมีการบริหารค่าเงินให้อ่อนค่าลงไปถึง 32 - 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะไม่สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง และจะเกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการเก็งกำไรและการโจมตีค่าเงินในอนาคต หากธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องซื้อดอลลาร์เพื่อให้ค่าเงินในประเทศอ่อนค่าลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook