สมศักดิ์คาด2วันพอสภาถกแก้รธน.-จุรินทร์ห่วงสสร.โดนแทรก

สมศักดิ์คาด2วันพอสภาถกแก้รธน.-จุรินทร์ห่วงสสร.โดนแทรก

สมศักดิ์คาด2วันพอสภาถกแก้รธน.-จุรินทร์ห่วงสสร.โดนแทรก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ได้มีคำสั่งให้นัดประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 3 สมัยสามัญนิติบัญญัติ ในวันนี้ เวลา 09.30 น. โดยวาระการประชุมจะมีการอภิปราย เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายเรื่องอื่น 4 เรื่องด้วยกัน คือ กรอบการเจรจากู้เงินจากต่างประเทศสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ระยะที่ 3 การตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่าง รัฐบาลไทย-รัฐบาลพม่า กรอบการเจรจาตกลงด้านมาตรฐานและการตรวจสอบรับรอง ภายใต้คณะกรรมาธิการด้านมาตรฐานและคุณภาพอาเซียน และการตกลงว่าด้วยการปรับระบบด้านกฎระเบียบด้านการคุ้มครองบริภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน 'สามารถ' ไม่ขัด ขยายเวลาถกร่วมรัฐสภา แก้รธน. นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย และประธานกรรมาธิการ วิสามัญ พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กล่าวในรายการเปิดข่าวเด่นเจาะประเด็นดัง ทางเอฟเอ็ม 102.75 ว่า ในการประชุมร่วมรัฐสภา วาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันนี้ มีผู้ขอแปรญัตติ 172 คน และเฉพาะเรื่อง สภาร่างรัฐธรรมนูญมีผู้ขอแปรญัตติกว่าร้อยคน ดังนั้น จะใช้เวลาประชุมเท่าใด ขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภา ซึ่งส่วนตัวมองว่า หากจะขยายกรอบเวลาการประชุมออกไปอีก 1 วัน ในวันที่ 12 เมษายน ก็ไม่มีปัญหา ขณะเดียวกัน การอภิปรายจะเป็นสาระเพื่อประชาชนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ สมาชิกแต่ละคน แต่ขอให้ประชาชนทำใจว่า สมาชิกสภา กว่า 700 คน อาจจะมีการพูดถึงเรื่องที่ไม่เป็นสาระบ้าง "วิรัตน์" ย้ำ ต้องขยายเวลาถกร่วมรัฐสภานายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กล่าวในรายการเปิดข่าวเด่น เจาะประเด็นดัง ทางเอฟเอ็ม 102.75 ว่า จากสัดส่วน จำนวนผู้อภิปราย กว่าร้อยคน เชื่อว่า ไม่มีทางที่จะอภิปราย จบได้ตามกรอบเวลา เพียง 2 วัน แต่ตั้งข้อสังเกตว่า การที่กำหนดแค่ 2 วัน อาจเป็นเพราะต้องการให้ ส.ส.ไป เยี่ยมพบ รดน้ำดำหัว บุคคลที่เรียกว่านายใหญ่ที่ กัมพูชา และลาว พร้อมกันนี้ ยังย้ำว่า เป็นไปไม่ได้ ที่จะเร่งรัดการอภิปราย และการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และส่วนตัว ยังเห็นว่า ควรทำประชามติ 2 รอบ รอบแรก คือ ถามประชาชนว่า ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ และรอบที่ 2 คือ ควรรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่  สภาหงอย องค์ประชุมยังไม่ครบ บรรยากาศการประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมัยสามัญนิติบัญญัติ ในวันนี้ ที่จะมีการพิจารณาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่การประชุมได้เริ่มไปแล้วประมาณ 30 นาที บรรยากาศการประชุมยังคงเงียบเหงา มีสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุมในขณะนี้ประมาณ 281 คน เท่านั้น ทำให้ยังไม่มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เนื่องจากการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ต้องมีองค์ประชุมเกินกึ่งหนึ่ง คือ จำนวน 325 คน ขึ้นไป ทำให้ในขณะนี้รัฐสภาได้มีการหารือกันถึงเรื่องต่างๆ ทั่วไป ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุที่มีผู้เดินทางมาร่วมประชุมน้อย อาจจะมาจากการติดภารกิจ พระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และใกล้กับช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือไม่  "สมศักดิ์" บอก จ่อคุย 3 วิป หากเวลาถกร่วมไม่พอนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมร่วมรัฐสภาว่า วันนี้เป็นการนำคำแปรญัตติของผู้เสนอแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... มาพิจารณาเป็นวาระ 2 ซึ่งได้กำหนดให้มีการพิจารณาใน 2 วัน คือวันที่ 10-11 เม.ย. นี้ ทั้งนี้ หากพิจารณาไม่ทันกรอบเวลาดังกล่าว ก็จะมีการประชุมร่วมวิป 3 ฝ่าย ในการขยายเวลาพิจารณาในวันที่ 12 เม.ย. ต่อไป โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการประชุมไม่เกิน 24.00 น. ของทุกวัน ขณะที่ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นการเร่งรัดในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตแต่อย่างใดทั้งนี้ เนื่องจาก ส.ส. และ ส.ว. หลายคน จะมีการเดินทางไปต่างประเทศในเดือน พ.ค. จึงต้องมีการนำเรื่องเข้าพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในเดือนนี้ โดยการอภิปรายจะดำเนินการตามกรอบข้อบังคับทุกประการ ปธ.วิปค้าน ชี้ ถกร่วมสภา เร่งรัดทุกขั้นตอนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน เชื่อการเร่งรีบประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 เป็นความพยายามรวบรัดทุกขั้นตอน ทั้งในชั้นของกรรมาธิการการเร่งบรรจุเป็นระเบียบวาระ ซึ่งเชื่อว่า เป็นใบสั่งทั้งเนื้อหาและเงื่อนไขด้านระยะเวลา พร้อมเชื่อว่า ระยะเวลา 2 วัน ไม่น่าเพียงพอ เพราะมีผู้แปรญัตติถึง 172 คน โดยเป็นฝ่ายค้านถึง 128 คน ซึ่งส่วนของพรรคประชาธิปัตย์มี 118 คน พร้อมกันนี้ ขอให้ประธานรัฐสภา เปิดโอกาสให้สมาชิกที่ขอสงวนคำแปรญัตติ ได้อภิปรายครบทุกคนตามข้อบังคับ ส่วนการขอเพิ่มระยะเวลาในการพิจารณานั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะรัฐบาลจะใช้เสียงข้างมากในการโหวตให้ชนะอยู่แล้ว ซึ่งการที่รัฐบาลเร่งรีบพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ สอดคล้องกับการเร่งรัดพิจารณาแนวทางของคณะกรรมาธิการปรองดอง เพื่อให้เกิดการนิรโทษกรรม โดยฝ่ายค้านจะรอดูท่าทีของสถาบันพระปกเกล้า ที่ได้ออกแถลงการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ที่จะถอนผลการวิจัยออกหรือไม่  "จุรินทร์" เชื่อ มีใบสั่งแก้ รธน. แน่นอนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ฝ่ายค้านให้ความสนใจในทุกประเด็นในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 ทั้งเรื่องที่มาและจำนวนของ ส.ส.ร. โดยเฉพาะการใช้กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่นมาใช้ โดยอนุโลมให้การเลือกตั้ง ส.ส.ร. ที่รัฐบาลต้องให้ความชัดเจนว่า พรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ส.ส.ร. ได้หรือไม่ เพราะหาก ส.ส.ร. ที่เป็นตัวแทนพรรคการเมือง เชื่อว่า จะมีความพยายามแทรกแซงการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นไปตามใบสั่งอย่างแน่นอน ปชป. ยกทีม ค้าน วาระแก้ รธน.การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันนี้ ซึ่งจะมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ โดยก่อนเข้าสู่วาระดังกล่าวสมาชิกของ พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามประธานรัฐสภา ที่เร่งรีบดำเนินการบรรจุวาระดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมเมื่อวันที่ 6 เม.ย. ซึ่งเป็นวันหยุดราชการขณะที่สมาชิกรัฐสภา ได้รับรายงานของคณะกรรมาธิการ ในช่วงเย็นของเมื่อวานที่ผ่านมา และไม่ทั่วถึง โดย นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ชี้แจงว่า เหตุผลที่เร่งบรรจุวาระดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมในวันหยุดราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกบางส่วน ที่จะไปดูงานยังต่างประเทศในเดือน พ.ค. และเพื่อให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ ยืนยันว่า ได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอน ขณะที่ นายสามารถ แก้วมีชัย ประธานกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า ได้มีการตรวจสอบเนื้อหาสาระของร่างและรายงานที่เสนอต่อประธานรัฐสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยไม่มีการตกหล่น 'วิชาญ'เผยถกนอกรอบ35สว.เห็นพ้องวางตัวเป็นกลางนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา เปิดเผยผลการหารือนอกรอบกับ ส.ว. ที่ยื่นคำแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 35 คน ว่า ได้ขอความร่วมมือ ส.ว. ให้วางตัวเป็นกลางในการประชุมรัฐสภา เพราะมีการประเมินว่า จะมีการเล่นเกมระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล โดยฝ่ายค้านอาจใช้วิธีตีรวน และวอล์กเอาต์ ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาต่อองค์ประชุม ดังนั้น ส.ว. และ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย จึงถือว่าเป็นตัวแปรในประเด็นนี้ ส่วนการใช้เสียงข้างมาก ตัดสินในบางมาตราที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ก็ขอให้พิจารณาบนผลประโยชน์ของประชาชนมากกว่ายึดถือเกมการเมือง พร้อมยังเห็นว่า หากปล่อยให้มีการอภิปรายโดยมุ่งแต่เกมการเมือง จะใช้เวลาพิจารณาไม่ต่ำกว่า 7 สภาป่วน 'บุญยอด' เสนอเลื่อนถกแก้ รธน. การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม หลังจากที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า รายงานของคณะกรรมาธิการที่เสนอต่อประธานรัฐสภา ไม่สมบูรณ์ และประธานคณะกรรมาธิการ ได้ยืนยันว่า รายงานดังกล่าวมีความสมบูรณ์ครบถ้วน นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอญัตติขอเลื่อนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไปอีก 1 สัปดาห์ เพราะยังมีการพิจารณาเพียงพอ โดย นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เห็นด้วยกับการขอเลื่อนดังกล่าว เพราะขณะนี้อยู่ช่วงไว้อาลัย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และประธานยังใช้วันจักรี ซึ่งเป็นวันหยุดราชการมาบรรจุวาระดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งไม่ชอบ ขณะที่ นายวรชัย เหมะ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นอภิปรายว่า ขอให้ประธานรัฐสภา ดำเนินการตามระเบียบวาระต่อไป สุดท้ายประธานรัฐสภาได้มีคำสั่งพักการประชุม 10 นาที  ถกร่วมรัฐสภา พักหน 2 ล่าสุดลงมติถกต่อแล้วการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม หลังจากมีการพักการประชุมรอบแรกไป 10 นาที เมื่อเริ่มประชุมรอบ 2 นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นอภิปรายว่า การประชุมของคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญนัดสุดท้าย ก่อนที่จะมีการเสนอร่างต่อประธานรัฐสภามีองค์ประชุมไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ ซึ่งถือว่าผิดข้อบังคับของการประชุมของคณะกรรมาธิการและท้าให้นำเทปในการประชุมวันดังกล่าว มายืนยันว่า เป็นไปตามสิ่งที่ตนเองพูดหรือไม่ หากไม่เป็นจริง จะขอลาออกจากตำแหน่ง แต่ถ้าหากเป็นจริงตามที่ตัวเองพูดไว้ขอท้าให้ นายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม ในฐานะประธานในที่ประชุมคณะกรรมาธิการในขณะนั้น ลาออกจากตำแหน่งเช่นกัน โดย นายสมชาติ ได้ยืนยันว่า ในการประชุมในขณะนั้น มีองค์ประชุมครบแต่อาจจะมีบางท่านที่ออกไปทำธุระและพร้อมนำตำแหน่งเป็นเดิมพันตามที่ นายวัชระ ท้า และการโต้เถียงยังไม่จบลง ประธานรัฐสภาจึงมีคำสั่งให้พักการประชุมอีกครั้ง เป็นเวลา 30 นาที และเมื่อกลับมาประชุมอีกครั้ง ที่ประชุมได้มีการลงมติไม่เห็นด้วยกับการขอพิจารณาขอเลื่อนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไปอีก 1 สัปดาห์ ตามญัตติของ นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ด้วยคะแนนเสียง 377 เสียงต่อ 91 เสียง สภาถกต่อ แต่ยังวุ่น "เทพไท" ตั้งชื่อ รธน. เพื่อ "ทักษิณ"นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กล่าวในที่ประชุมร่วมรัฐสภา วาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า จากการประชุมทั้ง 12 ครั้งของกรรมาธิการ ได้เชิญตัวแทน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง มาหารือ ทั้งนี้มีผู้ แปรญัตติรวม 178 คน รวมเป็น 171 คำแปรญัตติ และมีผู้สงวนความเห็น 17 คนจากนั้น นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย และผู้แปรญัตติมาตรา 1 กล่าวต่อที่ประชุมว่า ขอเรียกรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับรวบรัดเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แห่งราชอาณาจักรไทย แต่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานในที่ประชุม เห็นว่า การแปรญัตติเช่นนี้ ไม่ควรผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการได้ นายสามารถ ในฐานะประธานกรรมาธิการ จึงลุกขึ้นชี้แจงว่า ส่วนตัวเห็นว่า ถ้อยคำสงวนความเห็นเช่นนี้ ไม่สามารถยอมรับไว้พิจารณาได้ รวมถึงชื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นปช. ของ นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ที่ขัดข้อบังคับด้วย "เฉลิม" ยันไม่ได้เร่งรัด ถกร่วม 2 สภาร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระ 2 ในวันนี้ เป็นหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่กำหนดการประชุม รัฐบาลไม่ได้เร่งรัด ส่วนกรณี ส.ส.และ ส.ว. จำนวน 172 คน ขอสงวนคำแปรญัตตินั้น ถือเป็นสิทธิ์ที่สามารถทำได้ แต่ตนเองเห็นว่า ส.ส.ร. จำนวน 99 คนนั้น มีความเหมาะสม ทั้งนี้รัฐบาลพร้อมจะรับฟังความคิดเห็นของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ต้องยอมรับในเสียงส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีวาระซ่อนเร้น เพราะกระบวนการต่างๆ ยังไม่สิ้นสุด ขณะเดียวกันก็ไม่ขอแสดงความคิดเห็นในกรณีที่พรรคเพื่อไทย จะเสนอกฎหมายปรองดองเข้าสภาในเดือน ส.ค.นี้ โดยก็ขอให้สอบถามจาก นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพราะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง พร้อมปฏิเสธจะตอบคำถามว่า กฎหมายปรองดองของพรรคเพื่อไทย กับพระราชบัญญัติปรองดอง มีความแตกต่างกันหรือไม่ ปธ.สภาฯ อนุโลม "เทพไท" แปรญัตติ ม.1 ต่อการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... ประธานรัฐสภา ได้อนุโลมให้ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แปรญัตติชื่อร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญรวบรัดเพื่อทักษิณแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... ที่ประธานรัฐสภา ให้ถอนญัตติดังกล่าวออกไปก่อนหน้านี้ เพราะไม่เหมาะสม ซึ่ง นายเทพไท ได้ยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ได้มีการรวบรัดแก้ไข เพราะไม่มีการรับฟังเสียงของประชาชนที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญมาก่อนหน้านี้ และเมื่อรัฐสภาผ่านวาระ 1 แล้ว คณะกรรมาธิการได้มีการเพิ่มนัดการประชุมคณะกรรมาธิการอย่างต่อเนื่อง รวมถึง การประชุมคณะกรรมาธิการ มีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม และมีการเร่งระยะเวลาต่างๆ ทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและการรับรองผล เป็นต้น และเมื่อมีการส่งเรื่องมายังรัฐสภาแล้ว เหตุใด ประธานรัฐสภา ต้องเร่งนำวาระดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม จึงตั้งข้อสังเกตว่า เหตุที่ประธานรัฐสภาเร่งนำวาระดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม เพื่อจะให้สมาชิกเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ประเทศลาว อภิสิทธิ์ย้ำร่างแก้รธน.ยังไม่สมบูรณ์รอดูท่าทียงยุทธ,ปคอป. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของคณะกรรมาธิการ ว่า ยังไม่มีความสมบูรณ์ เนื่องจากว่าไม่มีการบันทึกความเห็นต่างๆ ของผู้ที่สงวนคำแปรญัตติไว้ตามสิทธิ์ ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้วิปฝ่ายค้านติดตามเรื่องนี้ ซึ่งเป็นปมปัญหาอยู่ในขณะนี้ ว่าจะดำเนินการอย่างไร และคงไม่ถูกต้องหากรัฐสภาตัดสิทธิ์คนที่มีการแปรญัตติหรือสงวนความเห็นไว้ โดยในขณะนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในวันที่เสนอคำแปรญัตติ อาจจะมีการพิจารณาไปโดยไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์มีหลักฐาน และ มองว่าการเร่งรัดดำเนินการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ จะเป็นปมปัญหาที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง เนื่องจากว่ามีการพิจารณาบางประเด็นที่เสนอไป คณะกรรมาธิการนั้นไม่ยอมรับนายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงแนวทางการสร้างความปรองดองว่า ในกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ไปศึกษาแนวทางการปรองดอง โดยใช้ ปคอป. เป็นกลไก เห็นว่าต้องดูว่า ทั้ง ปคอป. และ รองนายกรัฐมนตรี มีท่าทีเช่นไร นอกจากนี้ผู้นำฝ่ายค้านยังได้กล่าวถึง กรณีที่ได้ท้าทายให้เว้นการนิรโทษกรรมในแนวทางการสร้างความปรองดอง 2 ต่อ 1 คือ ตนเอง และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า ฝากถามไปยังรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ว่าหากต้องการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับทุกฝ่าย และให้ความเป็นธรรมกับผู้สูญเสียทุกฝ่าย รวมถึงคนเสื้อแดง โดยที่ไม่ต้องการแก้ไขปัญหาให้ พ.ต.ท.ทักษิณ จริง ก็น่าจะได้รับข้อเสนอที่ได้เสนอไป ทั้งนี้ ตนเองและนายสุเทพ ได้ยืนยันมาโดยตลอดว่าพร้อมจะต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม รัฐสภา มีมติ ผ่านมาตรา 1 คงชื่อเดิมของ รธน.การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... ที่ประชุมมีมติในมาตรา 1 ให้คงชื่อเดิมของรัฐธรรมนูญที่จะทำการแก้ไข คือ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... และไม่เห็นด้วยกับที่เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ ตามที่ นายเทพไท เสนพงศ์ นายสาธิต ปิตุเตชะ นายวัชระ เพชรทอง สมาชิกรัฐสภาในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 353 เสียง ไม่เห็นด้วย 107 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง และไม่ลงคะแนน 3 เสียง และในขณะนี้ ที่ประชุมได้มีการแปรญัตติในมาตรา 2 ต่อไป 'วัชระ' ตั้งชื่อ รธน.ฉบับ นปช.การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม นายสาธิต ปิตุเตชะ และ นายวัชระ เพรชทอง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้แปรญัตติในมาตรา 1 เกี่ยวกับชื่อของร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุชื่อที่แปรญัตติ คือ รัฐธรรมนูญฉบับ นปช.ครองเมืองแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่มาจากการลงประชามติของประชาชน จำนวน 14.7 ล้านเสียง) ฉบับที่... พ.ศ... ซึ่งมีเนื้อหาตรงกัน เกี่ยวกับองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการว่า อยู่ระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการในบางช่วงเวลามีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม นอกจากนี้ นายวัชระ ได้ระบุว่า รัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มาจากการลงประชามติของประชาชน โดยระหว่างการอภิปรายของ นายวัชระ ก็มี ส.ส.พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงการอภิปรายของ นายวัชระอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา กล่าวตักเตือน นายวัชระ หากอภิปรายพาดพิงผู้อื่นอีก ก็จะให้ยุติการอภิปราย รัฐสภา ยังหารือก่อนเข้าสู่ ม.2การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีการพิจารณาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือ ก่อนการเข้าสู่การพิจารณามาตรา 2 ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันถัดจากที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งสมาชิกรัฐสภาในส่วนของฝ่ายค้าน ต่างอภิปรายโดยมีเนื้อหาว่า รายงานของคณะกรรมาธิการที่ได้เสนอเข้ามาให้พิจารณานั้น มีความบกพร่องในเนื้อหาหลายส่วนด้วยกัน จึงอยากให้มีการนำกลับไปพิจารณาใหม่ ซึ่ง นายสามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า เนื้อหาของรายงานมีความครบถ้วนสมบูรณ์ แต่มีการบกพร่องในส่วนของธุรการในการจัดพิมพ์ ซึ่งมีเอกสารตกหล่นไป และได้มีการแจกเอกสารดังกล่าวให้กับสมาชิกรัฐสภาแล้ว สภาผ่านรธน.มาตรา 2 แล้วการประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ภายหลังจากผู้ที่สงวนคำแปรญัตติได้อภิปรายคำสงวนแปรญัตติเสร็จสิ้นแล้ว ประธานในที่ประชุมได้ให้ คณะกรรมมาธิการ ชี้แจงเหตุผลในมาตรา 2 โดย นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.เพื่อไทย กล่าวชี้แจงว่า กมธ. ยืนยันว่า ให้เป็นไปตามมาตรา 2 ที่คณะกรรมมากธิการพิจารณาแล้ว คือ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป จากนั้นประธานในที่ประชุมได้สั่งลงมติในมาตรา 2 ว่าเห็นด้วยกับคณะกรรมมาธิการหรือไม่ โดยมีองค์ประชุม 476 คน ซึ่งมีสมาชิกเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการ 349 เสียง ไม่เห็นด้วย 122 เสียง งดออดเสียง 4 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง สภา ถกรธน.มาตรา 3ที่ประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พิจารณาในมาตรา 3 เรื่อง ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (17) การให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (2) และ (18) การให้ความเห็นชอบญัตติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามาตรา 291/16 โดย นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการบัญญัติมาตรา 3 ไว้ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนอย่างเดียว ไม่ต้องมีการสรรหาจากรัฐสภาขณะที่ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ในมาตรา 3 นั้น ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งการแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ไม่ได้มีการระบุไว้ว่า จะดำเนินการแก้ในกี่มาตรา และไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาเพื่อดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ยืดเยื้อ สภายังหาทางลง รธน. ม.3 ไม่ได้การประชุมร่วมรัฐสภา วาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ยังคงพิจารณา ในมาตรา 3 เรื่อง ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (17) การให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ตามมาตรา 291/1 (2) และ (18) การให้ความเห็นชอบญัตติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามาตรา 291/16 โดย นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่...พ.ศ.... เสียงข้างน้อย อภิปรายว่า ควรทำประชามติสองครั้ง ทั้งก่อนเลือกตั้ง ส.ส.ร. และหลังแก้รัฐธรรมนูญแล้วจากนั้น จึงเข้าสู่การอภิปราย ของวุฒิสภา โดย นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงคราม ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย กล่าวว่า ต้องการให้ มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. โดยตรง  อภิสิทธิ์ ติง ไม่ควรแก้รัฐธรรมนูญ ง่ายเกินไปการประชุมร่วมรัฐสภา วาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ล่าสุด ยังคงเป็นการอภิปรายในมาตรา 3 โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา อภิปรายว่า ปัญหาที่ทุกคนทราบดี คือ รัฐธรรมนูญ ถูกแก้ไขได้ง่าย สะท้อนว่าขาดเสถียรภาพทางการเมือง กระทบทั้งภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่น จึงไม่ควรให้รัฐสภามีอำนาจแก้รัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ หลังจากจบการอภิปรายของนายอภิสิทธิ์แล้ว ยังมีส.ส.ประชาธิปัตย์อีกหลายคนรออภิปรายต่อ จึงยังไม่มีการลงมติในมาตรานี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook