มทส.โคลนนิ่งโคขาวลำพูนสำเร็จ

มทส.โคลนนิ่งโคขาวลำพูนสำเร็จ

มทส.โคลนนิ่งโคขาวลำพูนสำเร็จ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่ห้องประชุมอาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ รศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด พร้อมคณะได้แถลงข่าวการโคลนนิ่งโคขาวลำพูนที่ใช้ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตัวที่ 2 ของไทย เพศผู้ชื่อ “เศวต” ที่โคลนนิ่งเซลล์จากใบหู สำหรับการโคลนนิ่งโคขาวลำพูน ตัวที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2555 น้ำหนักแรกเกิด 35 ก.ก. การทำโคลนนิ่งครั้งนี้ ทีมงานศูนย์วิจัย นำเซลล์ใบหูพ่อโคขาวลำพูน ชื่อ “ดอยอินทนนท์” ของ ช่างรุ่ง จันตาบุญ ได้รางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นเซลล์ต้นแบบผลิตตัวอ่อนโคลนนิ่ง กระบวนการโคลนนิ่งครั้งนี้ ได้ปรับปรุงเพื่อช่วยรีโปรแกรมเซลล์ให้ดีขึ้น โดยใช้สารเคมี ริเวอร์ซีน (Riversine) เลี้ยงตัวอ่อนระยะแรกนาน 6 ชั่วโมง แล้วเลี้ยงตัวอ่อนในหลอดทดลองอีก 7 วัน แล้วนำไปฝากให้โคนมตัวรับ 4 ตัว ซึ่งมีการตั้งท้อง 3 ตัว แต่แท้งไป 2 ตัว เหลือเพียงตัวเดียวครบกำหนดคลอดและผ่าคลอด คิดเป็นความสำเร็จ 25% ก่อนหน้านี้ได้ผลิตลูกโคขาวลำพูนตัวแรกของไทย เกิดเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2550 ได้รับการตั้งชื่อว่า “ขาวมงคล” ใช้เซลล์ใบหูของดอยอินทนนท์ ครั้งนั้นไม่ได้ใช้สารเคมีช่วยรีโปรแกรม ทำการฝากตัวอ่อนให้โคนมตัวรับ 9 ตัว ตั้งท้อง 4 ตัว แท้ง 3 ตัว และครบกำหนดคลอดลูกมา 1 ตัว คิดเป็นความสำเร็จ 11%โคขาวลำพูน มีรูปร่างสูงใหญ่ สูงโปร่ง ลำตัวสีขาว พู่หางขาว หนังสีชมพูส้ม จมูกสีชมพูส้ม เนื้อเขาเนื้อกีบสีน้ำตาลส้ม ถูกคัดเลือกเป็นพระโคใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นิยมเลี้ยงในภาคเหนือตอนบน ซึ่งปัจจุบันเหลือพันธุ์แท้ไม่เกิน 5 พันตัว ที่มีลักษณะถูกต้องตามตำราไม่ถึง 1 พันตัว จึงเป็นห่วงว่าในอนาคตจะเหลือโคขาวลำพูนไม่มาก ดังนั้นการพัฒนากระบวนการโคลนนิ่งโค จะช่วยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การผลิตโคขาวลำพูนลักษณะและพันธุ์ดีได้มากขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook