แรงงานชาวกะเหรี่ยง กับวันแรงงานแห่งชาติ

แรงงานชาวกะเหรี่ยง กับวันแรงงานแห่งชาติ

แรงงานชาวกะเหรี่ยง กับวันแรงงานแห่งชาติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จ.ตาก ถือว่าเป็นเมืองเศรษฐกิจ-การค้า-การลงทุน ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมไปถึง การยกฐานะเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ  "นครแม่สอด"  และสิ่งหนึ่งที่ นครแม่สอด เป็นศูนย์รวมของระบบการจัดทำใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว-การพิสูจน์สัญชาติ และบัตรหลักฐานต่าง ๆ ให้คนต่างด้าวได้อาศัยในเมือง ทำให้แม่สอด เป็นเมืองสำคัญที่ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ  ตั้งแต่การเข้าเมือง  จนถึงการเดินทางไปทำงานทั้งพื้นที่ชายแดนและจังหวัดชั้นใน  เขตปริมณฑลและกรุงเทพ   ส่วนใหญ่ล้วนผ่านเข้ามาทาง อ.แม่สอด ซึ่งในอนาคต นครแม่สอด  จะเป็นศูนย์กลางประตูของกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในปี พ.ศ.2558  ซึ่งส่วนหนึ่งคือประตูของการเข้า-ออก ของแรงงานต่างด้าวชาวกะเหรี่ยง ........ ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลผลิต  พลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้น ความมั่นคงก้าวหน้า หรือ ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ แรงงาน  ย่อมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ทั้งในด้านผลประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการ ฯลฯ รัฐบาล จึงได้กำหนดให้ วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น "วันแรงงานแห่งชาติ".....ในประเทศยุโรป ส่วนมากก็กำหนดให้ วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงาน เช่นเดียวกัน และเรียกว่า "วันกรรมกรสากล"  หรือ วันเมย์เดย์ ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายน เป็นวันแรงงาน.......ในเมืองไทย เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานขึ้น ใน พ.ศ.2475 เมื่อรัฐบาล ได้ออกพระราชบัญญัติจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ.2475การบริหารแรงงาน หมายถึง  การจัดสรรและพัฒนาแรงงาน คุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน สร้างรากฐานและขบวนการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระการสร้างงานประกอบอาชีพเมื่อ พ.ศ.2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น ทำหน้าที่ด้านการจัดหางาน และศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป พ.ศ.2499 รัฐบาล ได้ขยายกิจการสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรก พ.ศ.2508 และปีเดียวกันนี้ ได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้ง ประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ในปัจจุบันใช้ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518ซึ่งปัจจุบันการบริหารงานอยู่ในความรับผิดชอบของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม..........  สำหรับแรงงานต่างด้าวชาวกะเหรี่ยงนั้น เริ่มที่จะเข้าประเทศเพื่อขายแรงงาน เมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากปัญหาการเมืองและการสู้รบในพม่า ทำให้มี ชนชาวกะเหรี่ยง อพยพหนีภัยสงครามเข้ามา ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แรกเริ่มเดิมทีนั้น แรงงานผู้หญิง ส่วนใหญ่จะไปทำงานเป็นแม่บ้าน  ส่วนผู้ชาย ก็จะไปทำงานหนัก เช่น ก่อสร้าง  ต่อมา จากปัจจัยที่ แม่สอด เป็นเมืองสำคัญหน้าด่านประตูชายแดน บนระเบียงเศรษฐกิจ อีสต์เวสต์อีโคโนมิก คอริดอร์  (EWEC) ทำให้มีนักธุรกิจเดินทางมาลงทุนทำโรงงานอุตสาหกรรม ด้านต่าง ๆ เช่น โรงงานผลิตสิ่งทอ-การ์เม้นท์- เซรามิค และอื่นๆ ทำให้  แม่สอด กลายเป็นจุดเด่นของการลงทุนเกี่ยวกับกิจการโรงงานอุตสาหกรรม และเริ่มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จนปัจจุบัน มีโรงงานต่างๆ ที่เข้ามาลงทุนหลายร้อยแห่ง และส่วนใหญ่ใช้ แรงงานกะเหรี่ยง-พม่า โดยมีแรงงานต่างด้าวจำนวนหลายแสนคน มาทำงานในพื้นที่ชายแดนแม่สอด และกลายเป็นหัวใจสำคัญ ที่ดึงดูดนักธุรกิจให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น จน "นครแม่สอด" กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจการค้า-การลงทุน ชายแดน จนนำไปสู่การพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของประเทศ และแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวชาวพม่า เชื้อสายกะเหรี่ยง ถือเป็นส่วนสำคัญ ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ เราจึงต้องเห็นความสำคัญในด้านสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกันสำหรับ การรวมพลังและความสามัคคีของกลุ่มแรงงาน ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวนั้น ได้จัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายกลุ่ม และรวมกันตั้ง สภาองค์การลูกจ้างขึ้น ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน ปัจจุบันมี 3 สภา หลักๆ ได้แก่  1.สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย  2.สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย 3.สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทยในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคมของทุกปี ภาครัฐและเอกชน จึงจัดงานวันแรงงาน เพื่อให้เป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรม ที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจังจากภาครัฐ-ผู้ประกอบการนักธุรกิจ รวมทั้ง ประชาชนที่ใช้แรงงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook