สธ.ออกเตือนประชาชนระวัง15โรคหน้าฝน

สธ.ออกเตือนประชาชนระวัง15โรคหน้าฝน

สธ.ออกเตือนประชาชนระวัง15โรคหน้าฝน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศที่ชื้นเย็น ทำให้เชื้อโรคหลายชนิด แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็ว ที่สำคัญเช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู ไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย โรคไข้สมองอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคไข้หวัดนก เป็นต้น ตนจึงได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทุกแห่ง จับตาเป็นพิเศษ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - สิงหาคมนี้ ขอให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยละเอียด โดยโรคที่ต้องติดตามต่อเนื่อง คือโรคไข้หวัดนกที่แพร่ระบาดมาจากสัตว์ปีก ซึ่งในไทยไม่พบผู้ป่วยมาเป็นเวลาเกือบ 6 ปี แต่ประมาทไม่ได้ เพราะหากมีโรคนี้เกิดขึ้นในฤดูฝน เชื้ออาจมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ในคนที่อยู่ในช่วงระบาดในฤดูฝน ทางด้าน น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคที่มักมาพร้อมฤดูฝนที่พบบ่อยมี 5 กลุ่ม รวม 15 โรค ได้แก่ อาทิ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน โรคตาแดง เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในช่วงฤดูฝนในปี 2554 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน พบผู้ป่วยจาก 15 โรคฤดูฝน 658,429 คน มากที่สุด คือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ร่วม 400,000 ราย รองลงมาคือโรคปอดบวมกว่า 63,000 คน และไข้หวัดใหญ่ 32,950 คน เสียชีวิตรวม 551 คน อันดับ 1 จากปอดบวม 401 คน โรคฉี่หนู 74 คน ไข้เลือดออก 40 คน และอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 21 คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook