สุกำพลชี้พรบ.ปรอง ดองเข้าสภาแล้วควรปล่อยตามขั้นตอน
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวก่อนการเดินทางไปประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 6 ที่ประเทศกัมพูชา ว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ที่มีการเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ต้องปล่อยไปตามขั้นตอน อย่ากังวลว่าจะมีความวุ่นวายตามมา เพราะผู้ที่เสนอเรื่องดังกล่าวได้คิดมาดีแล้ว และต้องดูว่า ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ส่วนกรณีที่มีกลุ่มคนเตรียมรวมตัวกันต่อต้านพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น ทางทหารไม่ได้มีการเตรียมดำเนินการอย่างไรเป็นพิเศษ อุดมเดชชี้นำพ.ร.บ.ปรองดองพิจารณาในสภาเรื่องปกติ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงกรณีการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เข้าพิจารณาในการประชุมร่วมรัฐสภา เป็นวาระเร่งด่วน ในวันที่ 30 - 31 พฤษภาคมนี้ ว่า เป็นเรื่องปกติของการประชุม ไม่มีอะไรพิเศษ ส่วนสมาชิกพรรคบางคนที่ไม่เห็นด้วย มองว่าเป็นเรื่องที่เร็วไปนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องมีคนคิดเห็นต่างกัน และแต่ละพรรคก็มีท่าทีกับร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ต่างกัน ขึ้นอยู่ว่าจะดำเนินการอย่างไร ถ้าเห็นด้วยก็คือเห็นด้วย และส่วนตัวไม่มีความกังวลใดๆ แค่ต้องการให้สมาชิกเห็นตรงกันนายอุดมเดช กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ตัวร่าง พ.ร.บ.นั้น หลายฝ่ายเห็นไม่ตรงกัน ตนเห็นว่าไม่มีอะไรสำคัญ หลักๆ ในร่าง พ.ร.บ. จะมีคดีความทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แล้วมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงนั้น จะได้รับอานิสงส์ หรือกลุ่มที่เคลื่อนไหวในช่วงของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และจะมีคนที่ได้รับอานิสงส์ทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน โฆษก พธม. ยัน แกนนำพร้อมรวมพลหน้าลานพระรูป 30 พ.ค.นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า ทางกลุ่มพันธมิตร ยังยืนยันตามประกาศเจตนารมณ์เดิม ในการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง โดยได้นัดหมายให้มีการตั้งขบวนมวลชน ในวันพุธที่ 30 พ.ค.นี้ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า ในเวลา 09.00 น. จากนั้นจะตัดสินใจอีกครั้งว่า จะเดินขบวนไปยังหน้ารัฐสภาในช่วงเวลาใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะประเมินกันวันต่อวัน เชื่อว่า ประชาชนที่เดินทางมาร่วมคัดค้าน พ.ร.บ.ปรองดอง กับกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะมีจุดยืนเดียวกันคือคัดค้านการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ใช้ชื่อว่า ปรองดอง แต่กลับสร้างความแตกแยกให้กับสังคมอีกครั้ง นับเป็นการดึงเอาระบบปรองดองมาล้างความผิดให้กับคน ๆ เดียว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสังคมไทย คนทำผิดก็ต้องได้รับโทษเพื่อสร้างเป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องให้กับสังคม ดังนั้น วันที่ 30 พ.ค.นี้ ทางแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ทุกคนจะไปรวมตัวกันที่หน้าลานพระรูป ตามที่ประกาศเจตนารมณ์ไว้ ปลอดประสพเห็นด้วยพรบ.ปรองดอง-ไม่ขัดรธน. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ ที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 30 พฤษภาคม ซึ่งเป้าหมายของ พ.ร.บ.ปรองดองนั้น เพื่อนยกเลิกความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ป้องกันการปฏิวัติในอนาคต อย่าไรก็ตาม ยืนยันว่า การออก พ.ร.บ.ปรองดอง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และจะไม่ออกมาต่อต้าน แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ เพราะกระบวนการออก พ.ร.บ.ปรองดอง ออกโดยสภาผู้แทนราษฎร ไม่ได้ออกโดยคณะปฏิวัติ ส่วน พรรคเพื่อไทย จะเห็นด้วยหรือไม่นั้น อยู่ที่การประชุมพรรคในช่วงบ่าย แต่พรรคเพื่อไทย ยืนอยู่บนหลักการประชาธิปไตย ปฏิเสธการปฏิวัติชัดเจน ยุทธศักดิ์พร้อมรับพธม.ต้านพ.ร.บ.ปรองดองพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เตรียมชุมนุมคัดค้านการเสนอร่างพระราชบัญญัติปรองดอง เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 30 พฤษภาคมนี้ โดยในช่วงบ่ายวันนี้ หน่วยข่าวด้านความมั่นคง จะเข้ารายงานถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อประเมินสถานการณ์ให้ตนเองได้รับทราบ ทั้งนี้ จะต้องวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงของการเคลื่อนไหว โดยส่วนตัว ไม่อยากเห็นความแตกแยกของสังคม อยากให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ทั้งนี้ ตนยังไม่เห็นรายละเอียดร่างพระราชบัญญัติปรองดอง และส่วนตัวไม่อยากให้มองเรื่องเงื่อนไขเวลา ว่าเหมาะสมในช่วงนี้หรือไม่ แต่อยากให้ดูรายละเอียดของแต่ละมาตราว่าจะเกิดประโยชน์ส่วนรวม และหากมาตราใดสร้างความแตกแยก จะต้องหันหน้ามาพูดคุยกัน เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และไม่อยากให้มองว่า ร่างพระราชบัญญัติปรองดอง เอื้อประโยชน์เพื่อคนใดคนหนึ่ง วิชาชี้พรบ.ปรองดองทำลายอำนาจตุลาการนายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. กล่าวว่า การเสนอพระราชบัญญัติปรองดองของรัฐบาลนั้น จากที่เคยศึกษากฎหมายทั้งจากต่างประเทศ ก็ไม่เคยพบว่ามีประเทศใดทำในลักษณะที่อำนาจฝ่ายบริหาร มายกเลิกอำนาจตุลาการมาก่อน แม้กระทั่งในประเทศไทย ในช่วงมีรัฐประหารก็ตาม ทั้งนี้ อาจกระทบจิตใจของประชาชนว่า กระบวนการยุติธรรมไม่ได้รับความเชื่อถือและไม่อยู่ในฐานะที่ต้องเคารพอีกต่อไป ขณะที่ การแก้ไขจะใช้วิธีการขออภัยโทษ ก็สามารถทำได้ หรือ การนิรโทษกรรม โดยยอมรับผลการตัดสิน เพียงแค่ไม่ถือว่ามีความผิดก็ได้ อย่างไรก็ตาม นายวิชา มีความเป็นห่วง เกรงว่าการเสนอพระราชบัญญัติปรองดองของรัฐบาล จะทำให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่ขึ้นอีกครั้ง เนื่องจาก ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มนิ่งและดีขึ้นแล้ว โดยเฉพาะประชาชนมีความปลาบปลื้มในเหตุการณ์ที่ ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ผ่านมา ส่วนการเสนอพระราชบัญญัติดังกล่าว จะเป็นการโยนหินถามทางหรือไม่ ยังไม่แน่ชัด ทั้งนี้เห็นว่าต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตรวจสอบในเรื่องนี้ เพราะถือเป็นองค์กรที่มีความสำคัญมากที่สุด