สภานัดถกร่วม8มิย.กรอบความร่วมมือ-ไร้วาระร่างรธน.

สภานัดถกร่วม8มิย.กรอบความร่วมมือ-ไร้วาระร่างรธน.

สภานัดถกร่วม8มิย.กรอบความร่วมมือ-ไร้วาระร่างรธน.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ได้สั่งเรียกประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันศุกร์ ที่ 8 มิถุนายนนี้ โดยจะพิจารณากรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ 6 กรอบ ตามมาตรา 190 ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดให้พิจารณาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 "ณ เวลานี้ยืนยันว่า มีหนังสือเห็นชอบมาแล้ว คือ วันที่ 8 คือ กรอบความตกลง 6 กรอบ ตามมาตรา 190 " เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวทั้งนี้ ในวันพุธ ที่ 13 ถึง วันพฤหัสบดี ที่ 14 มิถุนายน ได้มีการประชุมปกติตามกรอบอยู่แล้ว หากจะเลื่อนการประชุม ก็ต้องมีการแจ้งมาใหม่ อสส.ไม่ก้าวล่วงศาลรธน.ชะลอแก้รธน.ไม่ฟันธงขัดม.68 นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ถึงกรณีมีผู้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เกี่ยวกับการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า ทางคณะกรรมการที่อัยการสูงสุด ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว จะมีการนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 7 มิถุนายนนี้ ซึ่งในขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน โดยทางคณะกรรมการ เห็นว่า พยานหลักฐานยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ต้องรอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม จากสำนักเลขาธิการรัฐสภา และรอหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมติการรับพิจารณาคำร้อง 5 คำร้อง จากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มาประกอบด้วยทั้งนี้ สำนักงานอัยการสูงสุด ยืนยันว่า มีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับคำร้องไว้พิจารณาโดยไม่ผ่านอัยการสูงสุด จะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่นั้น ตนไม่ขอวิพากย์วิจารณ์ โดยเห็นว่าเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาล ที่จะวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม นายวินัย ยังระบุด้วยว่า อัยการสูงสุดนั้น ไม่ได้นิ่งเฉยต่อการพิจารณาเรื่องดังกล่าว และเร่งดำเนินการอยู่ พร้อมยืนยันด้วยว่า ไม่ได้มีความขัดแย้งใดๆ กับศาลรัฐธรรมนูญ มีชัยชี้คำวินิจฉัยศาลรธน.เด็ดขาดผูกพันรัฐสภานายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย โพสต์ข้อความตอบคำถามในเว็บไซต์ มีชัยไทยแลนด์ ดอทคอม กรณีที่นักศึกษานิติศาสตร์ ตั้งคำถามว่า จะตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 2 อย่างไรให้ถูกต้อง เพราะอาจตีความได้ 2 นัย คือ ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิ์ "เสนอเรื่อง" ให้อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง และ "ยื่นคำร้อง" ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว หรือ ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด "ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง" ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวโดย นายมีชัย ตอบว่า เห็นสื่อมวลชนรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยแล้ว และถ้าได้มีการวินิจฉัยแล้ว ก็คงต้องไปดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรค 5 ที่บัญญัติว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ" เฉลิมค้านศาลรธน.ชะลอแก้รธน.เล็งยื่นถอด8ตุลาการร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า ไม่เห็นด้วย กับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การล้มล้างประชาธิปไตย แต่เป็นนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชน ขณะเดียวกันเห็นว่า หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังดื้อดึงที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวในกระบวนการเหล่านี้ต่อไป จะนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งอย่างแน่นอน พร้อมเชื่อว่ามีการตั้งธงในการยุบพรรคเพื่อไทย แต่ยังคงไม่สามารถทำได้ ส่วนพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาตินั้น เห็นว่าหากเสนอร่างของตนเองเข้าสู่สภา จะไม่เกิดปัญหา เนื่องจากรายละเอียดทั้ง 6 มาตรา มีความชัดเจนสามารถอธิบายได้ และการที่รัฐบาลต้องเร่งผลักดันพระราชบัญญัติปรองดอง เนื่องจากเป็นนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวว่า การโยกย้าย พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ไปช่วยราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นเวลา 1 เดือนนั้น ตนเองเห็นว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คงพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่เกี่ยวกับความไม่เด็ดขาดในการควบคุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมปิดล้อมรัฐสภา จนทำให้ ส.ส.ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมสภาได้ ทั้งนี้ยืนยันว่าในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม และไม่อยากให้เกิดการปะทะกัน โดยเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว "นิคม" ชี้ ศาล รธน.สั่งชะลอลงมติไม่ได้นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาคำร้อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ส.ส. และ ส.ว.บางส่วน และมีคำสั่งให้ชะลอการลงมติในวาระ 3 ตามมาตรา 68 นั้น ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ระบุไว้ชัดเจนว่า การตรากฎหมายแต่ละฉบับ มี 3 ขั้นตอน ดังนั้น ควรให้มีการลงมติวาระ 3 ไปก่อน และนำข้อสงสัยยื่นต่อศาล ให้ตีความตาม มาตรา 154 ซึ่งหากมีการรับพิจารณา ก็ให้ทุกกระบวนการหยุดทั้งหมด จนกว่าจะมีการชี้ขาด พร้อมกันนี้ นายนิคม ยังชี้แจงด้วยว่า ไม่มีบทบัญญัติข้อไหนในรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งให้ชะลอได้ ตาม มาตรา 68 แต่ใน มาตรา 154 นั้น มีระบุไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ทุกฝ่ายก็ต้องทำความเข้าใจข้อกฎหมายให้ตรงกัน เพราะว่าในปัจจุบัน แต่ละฝ่ายต่างตีความกฎหมายไม่ตรงกันทั้งสิ้น "สามารถ" มอง ศาลรธน. ใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวกับ สำนักข่าว INN ว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งชะลอลงมติวาระ 3 นั้น ขอตั้งข้อสังเกตว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือไม่ ในการใช้ มาตรา 68 มาสั่งชะลอการลงมติ เพราะว่า ส.ส. และ ส.ว. นั้น มีอำนาจในการเสนอเพื่อแก้ไขตามรัฐธรรมนูญได้ ไม่ถือว่าผิด ดังนั้นการรับพิจารณาเรื่องดังกล่าวนั้น ถือว่าไม่ถูกต้อง อีกทั้งก็ไม่ควรที่จะสั่งชะลอการลงมติได้ ซึ่งในวันนี้ พรรคเพื่อไทย จะมีการประชุม ส.ส. เพื่อจะหาแนวทางในการต่อสู้ตามกระบวนการทางกฎหมาย หรือ ขั้นตอนในการดำเนินการต่อไป พท.เดินหน้าแก้ รธน.ไม่สนศาล ชี้ไม่มีอำนาจนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย แถลงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำสั่งให้รัฐสภา ชะลอการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ว่า หากพิจารณาคำสั่งดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าบัญญัติตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 68 การร้องเรียนจะต้องผ่านอัยการสูงสุด เพื่อให้มีการวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนที่อัยการสูงสุดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ผู้ร้องไม่สามารถร้องผ่านศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้กลั่นกรองก่อนว่า เรื่องที่ร้องนั้นมีมูลหรือไม่ ดังนั้นจากการตรวจสอบผู้ร้องได้ยื่นต่ออัยการสูงสุดไว้จริง แต่ก็ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญควบคู่ด้วย และกรณีนี้ อัยการสูงสุด ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยแต่ศาลกลับรับคำร้องไว้พิจารณา ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทย เห็นว่าการสั่งให้รัฐสภา ยุติการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการสั่งโดยปราศจากอำนาจรับรองตามกฎหมาย รัฐสภาจึงไม่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ส่วนในวันที่ 8 มิ.ย. จะนำร่างรัฐธรรมนูญ มาพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของประธานรัฐสภา มติ วิปค้าน ไม่ลงมติแก้ รธน. วาระ 3นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน แถลงว่า ที่ประชุมพรรคฝ่ายค้าน มีมติ เห็นตรงกันว่า ควรปฏิบัติตามศาลรัฐธรรมนูญ หากประธานสภา ดึงดันจะลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3  วิปฝ่ายค้านจะไม่ร่วมลงมติ เพราะเห็นว่า มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ หากลงมติไปอาจมีปัญหาตามมาภายหลังได้ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ยังกล่าวอีกว่า ไม่มีความเห็นอะไรที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทย จะไปยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ขอตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า อย่าหวั่นไหว และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ปธ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้รัฐสภา ทบทวนร่าง รธน. ก่อนพิจารณาวาระ 3นายศรีราชา เจริญพานิช ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวย้ำว่า ให้ทางรัฐสภา ทบทวนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง ตามข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่เคยเสนอไป 3 ประเด็น ก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 3 ซึ่งการที่ทางผู้ตรวจการแผ่นดิน ทักท้วงไปนั้น เพื่อให้รัฐสภาได้มีหลักการและเหตุผลในการพิจารณา ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ทำตามหน้าที่ ในฐานะองค์กรอิสระ หากสภายังคงดำเนินการในการพิจารณาวาระ 3 ต่อไปและเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต ทางสภาต้องเป็นผู้รับผิดชอบ"รัฐสภา สมาชิกรัฐสภาทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็ร ส.ส.ร. ได้ทบทวนเรื่องนี้ ทั้ง 3 ประเด็น ที่ผู้ตรวจการฯ ได้ตั้งข้อสงสัย" อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้สภา ชะลอการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ออกไปนั้น เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา ถึงแม้จะไม่มีบทบัญญัติทางชัดเจน แต่ก็เป็นองค์กรที่มาหยุดยั้งความขัดแย้ง หรือมาอุดช่องว่างในการแก้ไขปัญหาประเทศ โฆษกพท.แถลงพรรคไม่เห็นด้วยคำสั่งศาลรธน. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงผลการประชุม ส.ส.ของพรรค ว่า ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตามมาตรา 68 ส่วนการที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้ชะลอการลงมติ ถือเป็นการใช้อำนาจแทรกแซงอำนาจอธิปไตย ซึ่งจะดำเนินการอย่างไรต้องรอการประชุมร่วมรัฐสภาอีกครั้งว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยการประชุม ส.ส. คงจะมีการอภิปรายว่า ไม่เห็นด้วยเพราะสาเหตุใด และยังไม่ทราบว่าจะมีการลงมติวาระ 3 ได้หรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภา แต่ได้ขอความร่วมมือจาก ส.ส. ให้มีความพร้อมในการเข้าประชุม นอกจากนี้ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยังตั้งข้อสังเกตในการพิมพ์ข่าวของสำนักงานศารรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 68 ซึ่งพบว่า พิมพ์รัฐธรรมนูญผิด ทำให้ความหมายเปลี่ยน และเป็นการบ่งบอกว่า เร่งรีบในการดำเนินการ ศาลรธน.เตรียมชี้แจงชะลอร่างแก้รธน.วาระ3 นายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ทางตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นำโดย นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลเพื่อเตรียมชี้แจงทำความเข้าใจกับสาธารณชนในสัปดาห์นี้ ซึ่งทางตุลาการจะเป็นผู้ออกมาชี้แจงด้วยตนเอง ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ออกไปก่อน จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ส่งผลให้เกิดกระแสข่าวกดดันว่า จะมีการล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือการที่มีกลุ่มคนเสื้อแดง จะออกมาเคลื่อนไหวกดดันการทำหน้าที่ของตุลาการ ทั้งนี้ ทางศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้มีการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้กับตุลาการเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม การออกมาชี้แจงในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการตอบโต้ แต่เป็นเพียงการชี้แจงในข้อเท็จจริงให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน แดงนัด7มิ.ย.ล่าชื่อถอด7ตุลาการรธน.หน้าสภา นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงว่า คนเสื้อแดงจะมีการชุมนุมในวันที่ 7 มิ.ย. เพื่อตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 7 คน บริเวณด้านหน้ารัฐสภาตั้งแต่เวลา 08.00 น. เพื่อให้ได้รายชื่อประชาชน 1 ล้านชื่อ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิ์ในการออกคำสั่งชั่วคราวให้รัฐสภา ระงับการลงมติวาระ 3 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเชื่อว่าการกระทำของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการทำรัฐประหาร โดยตุลาการภิวัฒน์ ทั้งนี้ การชุมนุมดังกล่าวจะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อ เพื่อเป็นการป้องกันกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาชุมนุมขัดขวางการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ นางธิดา ยังกล่าวด้วยว่า ในวันที่ 24 มิ.ย. ทาง นปช. จะนัดชุมนุมใหญ่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook