ยื่นฟ้องแกรมมี่ พร้อมช่อง3,5,9 กรณีจอดำบอลยูโร2012

ยื่นฟ้องแกรมมี่ พร้อมช่อง3,5,9 กรณีจอดำบอลยูโร2012

ยื่นฟ้องแกรมมี่ พร้อมช่อง3,5,9 กรณีจอดำบอลยูโร2012
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เครือข่ายประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นศาลแพ่ง ฟ้องร้อง บ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กรณีทำจอดำการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค รวมทั้งยื่นฟ้อง บ.บีอีซี เทโร สถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5, 9 พร้อมขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้มีการแพร่ภาพและกระจายเสียงการ แข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ก่อนที่การแข่งขันจะสิ้นสุดในวันที่ 2 ก.ค.นี้

(25 มิ.ย.) ที่ศาลแพ่งรัชดา - ผู้บริโภคนำโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค นางสาวเรณู ภู่อาวรณ์ นายขวัญมนัส พูลมิน และนายเฉลิมพงษ์ กลับดี เข้ายื่นฟ้องต่อศาลแพ่งรัชดา ยื่นเรื่องฟ้องบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1 กองทัพบก เป็นจำเลยที่ 2 บริษัท อสมท.จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยที่ 3 และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด เป็นจำเลยที่ 4 ในข้อหา "ร่วมกันทำละเมิดและผิดสัญญา"

โดยในคำฟ้องระบุว่าขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้ง 4 กระทำการคือ

1.ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ดำเนินการแพร่ภาพและกระจายเสียงรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 ผ่านระบบการส่งภาคพื้นดิน ผ่านระบบจานรับสัญญาณดาวเทียม ผ่านระบบอื่นใด หรือดำเนินการใดๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับชมรายการผ่านการรับสัญญาณทุกประเภทตามที่เคยปฏิบัติ โดยด่วนที่สุดก่อนฤดูกาลแข่งขันจะสิ้นสุดในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555

2.ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการไม่รับผิดชอบต่อธุรกิจของตนเอง ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้งสี่จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นโดยคำนึงถึงความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับจำนวน 11 ล้านครอบครัวและผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้รับและสถานะการเงินของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ด้วย

3.ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,590 บาท หรือ ในราคาเท่ากับกล่องรับสัญญาณของ GMMZ

4. ขอให้ศาลมีคำแนะนำไปถึงรัฐบาลให้เร่งดำเนินการผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญโดยเร็วที่สุดเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค เพราะกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด ไม่สามารถคุ้มครองการละเมิดสิทธิผู้บริโภคในการเข้าถึงฟรีทีวีได้ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในสังคมไทย

ขอบคุณเนื้อหาจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook