วสท.แนะติดป้ายเตือนบันไดเลื่อนภายนอก

วสท.แนะติดป้ายเตือนบันไดเลื่อนภายนอก

วสท.แนะติดป้ายเตือนบันไดเลื่อนภายนอก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูประถัมภ์ หรือ วสท. พร้อมคณะ แถลงข่าวเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการใช้บันไดเลื่อน หลังเกิดเหตุ ด.ญ.นวลแพร วสุนทพิชัยกุล อายุ 12 ปี เดินทางไปเรียนพิเศษพร้อมผู้ปกครองที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จ.ปทุมธานี ระหว่างขึ้นบันไดเลื่อนจากชั้น 2 ไปชั้น  3 ได้ชะโงกศีรษะลงไปดูการแสดงชั้นล่าง ทำให้ศีรษะเข้าไปติดในซอก ระหว่างผนังกับบันไดเลื่อนก่อนถูกช่วยเหลือ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 ก.ย.ที่ผ่านมา  โดยระบุว่า  จุดเกิดเหตุตรงบริเวณตัวบันไดมีการก่อสร้างในลักษณะแนบติดกับชั้น  มีช่องว่างระหว่างราวบันไดกับสิ่งกีดขวางภายนอก น้อยกว่า 50เซนติเมตร และเกิดจากการตกแต่งภายนอก ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบว่า ผู้ประกอบการ ต่อเติมอะไรบ้าง ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องมีการตกแต่งภายนอก จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เตือน และป้ายเตือนให้ชัดเจน แต่ทาง วสท. ไม่สามารถที่จะออกข้อบังคับได้ ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณของผู้ประกอบการ และการปฏิบัติตัวของผู้ใช้ด้วยขณะที่ นายสุพัตถ์  จารุศร นายกสมาคมลิฟต์แห่งประเทศไทย  ยืนยันว่า มีความเป็นไปได้น้อยมาก ที่เส้นผมจะติดเข้าไปในบรรไดเลื่อนได้ เนื่องจากบันไดเลื่อนได้ออกเเบบมีมาตรฐาน ซึ่งเส้นผมไม่สามารถที่จะเกี่ยวกับราวบันไดได้ ด้าน นายจักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) กล่าว แนะนำหลังเด็กหญิง 12 ปี ประสบเหตุบันไดเลื่อนดึงผมขณะชะโงกหน้า ได้รับบาดเจ็บสสาหัส ว่า การก่อสร้างบันไดเลื่อนที่ถูกต้องตามมาตรฐาน จะต้องไม่มีการก่อสร้างในลักษณะของการแนบติดด้านข้างกับชั้นอื่น หรือผนัง 50 เซนติเมตร ควรมีพื้นที่เป็นอิสระ เพื่อป้องกันการกีดขวาง สำหรับกฎระเบียบการขึ้นบันไดเลื่อนในเด็กนั้น ควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง โดยให้จูงมือเด็กขณะขึ้นบันไดเลื่อนตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เอาเท้าเข้าไปใกล้ขอบด้านล่างของบันไดเลื่อน และต้องได้รับการฝึกให้มีทักษะในการขึ้นลง นอกจากนี้ ยังต้องคอยสังเกตจุดอันตรายของบรรไดเลื่อน อาทิ หวีบันไดเลื่อนแตกหัก ไม่มีแปรงด้านข้าง และต้องมีช่องว่างระหว่างราวบันไดกับสิ่งกีดขวาง สำหรับผู้บริหารอาคารและเจ้าของอาคาร ให้มีการซ่อมบำรุงตามกำหนด เปลี่ยนอุปกรณ์ที่แตกหักชำรุดทันที ติดป้ายเตือนแนะนำการใช้ และติดป้ายแสดงปุ่มหยุดฉุกเฉินให้เด่นชัด นอกจากนี้ นายจักรพันธ์ ยังฝากไปถึงหน่อยงานของภาครัฐ ให้มีความเข้มงวดการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายให้มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับลิฟต์และบันไดเลื่อน ซึ่งก่ออันตรายกับประชาชนอยู่บ่อยครั้ง พร้อมกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องความปลอดภัย สำหรับการติดตั้งลิฟต์และบันไดเลื่อน ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เพื่อให้เกิดความชัดเจน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook