นักวิทย์ชี้ดินไหวอินโดฯอาจทำเปลือกโลกแยก

นักวิทย์ชี้ดินไหวอินโดฯอาจทำเปลือกโลกแยก

นักวิทย์ชี้ดินไหวอินโดฯอาจทำเปลือกโลกแยก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์แผ่นดินไหวรุนแรงหลายครั้ง ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย เมื่อ 11 เม.ย. ที่ผ่านมานี้ ในวารสาร เนเจอร์ แชนแนล ว่า แผ่นดินไหวครั้งที่รุนแรงที่สุด 8.7 ริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นในวันนั้น อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่พื้นก้นมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งในที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะทำให้แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย ที่มีชื่อว่า แผ่น "อินโด-ออสเตรเลียน" แตกออกเป็น 2 แผ่น ทำให้เกิดแผ่นเปลือกใหม่ขึ้นอย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ อาจต้องใช้เวลา 8-10 ล้านปี ทั้งนี้ ที่ตั้งของเกาะสุมาตรา ตั้งอยู่เหนือรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น คือ แผ่นอินโด-ออสเตรเลียน กับแผ่นซุนด้า นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ระบุด้วยว่า แผ่นดินไหวขนาดรุนแรง ขนาด 8.7 ริกเตอร์ แบบที่เกิดเมื่อ 11 เม.ย. ดังกล่าว และแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 9 ริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหว หรืออาฟเตอร์ช็อค ขนาดเล็กขึ้นทั่วโลก ในรัศมี 1,000 กิโลเมตร จากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งแรก และมักจะเกิดขึ้นทันที หลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรกดังนั้น นักวิทยาศาสตร์แสดงความแปลกใจว่า แผ่นดินไหวเมื่อ 11 เม.ย. ปีนี้ ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวอื่นๆ ขึ้นทั่วโลก แต่แผ่นดินไหว หรืออาฟเตอร์ช็อค ที่เกิดตามหลังมานั้น กลับมีขนาดใหญ่ และเกิดขึ้นล่าช้าไปนานหลายชั่วโมง หรือหลายวัน หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งแรก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook