ธาริตไม่ลาออก-สั่งสอบด่วนภาพหลุดพิมพ์มืออภิสิทธิ์

ธาริตไม่ลาออก-สั่งสอบด่วนภาพหลุดพิมพ์มืออภิสิทธิ์

ธาริตไม่ลาออก-สั่งสอบด่วนภาพหลุดพิมพ์มืออภิสิทธิ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เปิดเผยถึง การแจ้งข้อหา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวานที่ผ่านมาว่า  DSI ได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาทั้งหมด 2 ข้อหา ประกอบด้วยข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล และการทำผิดกฎหมายพรรคการเมือง จากการให้สภาผู้แทนราษฎรหักเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท โดยบริจาคเข้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเวลา 21 เดือน ซึ่งยืนยันว่าทั้ง 2 คน ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกล่าวหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในฐานะที่ทั้ง 2 คน เป็นอดีตผู้นำประเทศและเป็นผู้นำฝ่ายค้านในปัจจุบัน พนักงานสอบสวน จึงมีมติไม่นำตัวไปศาล เพื่อขออำนาจศาลออกหมายขัง แต่ได้แจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรให้ระวังใน 4 ข้อคือ 1.พฤติกรรมหลบหนี ซึ่งจะมีการตรวจสอบการเดินทางออกนอกประเทศของทั้ง 2 คน 2.ละเว้นการยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน  3.ละเว้นการก่อเหตุร้ายประการอื่น และ 4.ละเว้นการกระทำใด ๆ อันเป็นการกระทบต่อการดำเนินคดี ซึ่งในส่วนนี้ นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ ไม่ได้ลงมือชื่อรับทราบ ทั้งนี้ นายธาริต ยืนยันได้ว่า การรับทราบข้อกล่าวหาของทั้ง 2 คน เมื่อวานนี้ถือว่า ครบถ้วนสมบูรณ์และได้รับความเห็นชอบจากพนักงานสอบสวน 3 ฝ่ายคือ DSI ตำรวจ และ อัยการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังกล่าวถึง ภาพหลุดในห้องสอบสวนระหว่างที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี พิมพ์ลายนิ้วมือรับทราบข้อกล่าวหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง เมื่อปี 2553 และการกระทำผิดกฎหมายนักการเมืองจากการให้สภาผู้แทนราษฎร หักเงินเดือน ๆ ละ 20,000 บาท บริจาคเข้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเวลา 21 เดือน  เมื่อวานที่ผ่านมาว่า หลังจากที่ภาพดังกล่าวเผยแพร่ออกไปได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วน  ซึ่งคาดว่าจะได้ความชัดเจนในเร็ว ๆ นี้ ขณะที่จะเป็นพนักงานสอบสวนยศ พล.ต.ท. ตามที่ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอ้างหรือไม่ ยังไม่สามารถยืนยันได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการโยนความผิดให้กับข้าราชการประจำ อย่างแน่นอนนอกจากนี้ นายธาริต กล่าวถึง กรณีที่ นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า ทำไม ดีเอสไอ จึงไม่ส่งเรื่องการกระทำความผิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล และเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง เมื่อปี 2553 ให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบ เนื่องจาก เป็นคดีที่เกิดขึ้นในช่วงที่ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้บริหารบ้านเมืองนั้น นายธาริต ระบุว่า เรื่องดังกล่าวไม่เข้าข่ายความผิดตาม มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่สิ่งที่คณะพนักงานสอบสวน กล่าวหาเป็นการกระทำที่นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ เป็นการกระทำเกินกว่าจากปกติ จึงอยู่ในความรับผิดชอบของ ดีเอสไอ ไม่จำเป็นต้องส่งให้ ป.ป.ช. ดำเนินการส่วนกรณีที่ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. แนะว่าให้ตนลาออกจากคณะพนักงานสอบสวน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใสนั้น นายธาริต กล่าวว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องลาออกจากคณะพนักงานสอบสวน เนื่องจากทุกขั้นตอนการดำเนินคดีมีความโปร่งใสอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม นายธาริต ยังกล่าวด้วยว่า การทำงานของ พนักงานสอบสวน ทำตามพยานหลักฐาน และเชื่อว่า จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย 'อภิสิทธิ์'จ่อฟ้องถูกถ่ายภาพขณะพิมพ์ลายมือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ถ่ายภาพขณะพิมพ์ลายนิ้วมือในการรับทราบข้อกล่าวหาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI โดยขณะนี้ กำลังรวบรวมหลักฐาน เพื่อฟ้องกลับ DSI เพราะที่ผ่านมา ได้มีการตกลงระหว่าง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แม้ว่าขณะรับฟังข้อกล่าวหาจะไม่มีการบันทึกภาพ และเชื่อว่า คนที่ถ่ายภาพเป็นคนเดียวกับ เจ้าหน้าที่ที่ถูกจับได้ว่ามีการถ่าย โดยยืนยันว่า ไม่ใช่คนจาก พรรคประชาธิปัตย์ ตามที่มีคนกล่าวอ้างส่วนการรับฟังข้อกล่าวหา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาข้อเท็จจริงซึ่งยังคงพบว่ามีความคลาดเคลื่อนทางกฎหมาย เช่นการไม่ชัดเจนที่มีการพยายามเหมาเหตุการณ์ทั้งหมดว่าเป็นความผิดของตน และยังมั่นใจว่ามีการตั้งธงในคดีนี้อย่างแน่นอนอย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวขอบคุณ นายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และอดีตเลขานุการคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ที่ออกมากล่าวว่าการกระทำของ นายธาริต นั้น ทำเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของตนเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook