นิคมยันทำประชามติคู่เสวนาได้ฉะปชป.พูดเรื่อยเปื่อย

นิคมยันทำประชามติคู่เสวนาได้ฉะปชป.พูดเรื่อยเปื่อย

นิคมยันทำประชามติคู่เสวนาได้ฉะปชป.พูดเรื่อยเปื่อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะ รองประธานรัฐสภา เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า เส้นทางแห่งการลดความขัดแย้งน้อยที่สุดคือ การทำประชามติ และหากจะมีการแก้เป็นรายมาตรา ต้องแก้มาตราที่เป็นปัญหาร่วมกันของทุกพรรคการเมือง และทุกองค์กร เช่น การยุบพรรค การถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ที่มาของ ส.ว. สายเลือกตั้ง ที่ต้องห้ามตัดสิทธิ์ในการดำรงตำแหน่ง เพราะประชาชนเป็นฝ่ายเลือกเข้ามา พร้อมยืนยันว่า กรณีดังกล่าว ไม่ได้พูดเพื่อเข้าข้างตนเอง ตลอดจน ม.265 และ ม.266 ในเรื่องการห้าม ส.ส. และ ส.ว. เข้ามาดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ส่วน ม.309 นั้น มองว่า พรรคประชาธิปัตย์ พูดจาเรื่อยเปื่อย โดยรัฐบาลก็ไม่ได้มีการเข้ามาปรึกษาเพื่อแก้มาตราดังกล่าวแต่อย่างใด"พูดเรื่อยไป ไอ้ 309 ที่ออกมา เพื่อที่จะไม่เอาความผิดกับคนปฏิวัติ และรัฐบาลไม่มีปรึกษาที่จะแก้ ไม่มี เพราะไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะต้องแก้" นายนิคม กล่าวนอกจากนี้ นายนิคม ยังกล่าวว่า การทำประชาเสวนา คู่ ทำประชามติ สามารถทำได้ ไม่ผิดระเบียบ เนื่องจากต้องชี้แจงต่อประชาชนอยู่แล้ว และเป็นหน้าที่โดยตรงของ กระทรวงมหาดไทย  'อุดมเดช' ชี้ แก้รธน. ต้องรอ 5 คณะทำงานรบ.สรุปนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า เป็นเรื่องปกติที่ทุกพรรคจะประชุมกันก่อนเปิดประชุมรัฐสภา ซึ่งเมื่อวานนี้ สมาชิกในพรรคหลายคน ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มีทั้งสนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ทำประชามติและโหวตวาระ 3  ซึ่งเรื่องดังกล่าว ต้องรอ 5 คณะทำงานที่รัฐบาลตั้งขึ้น ศึกษารายละเอียดก่อนว่า แนวทางใดดีที่สุด อีกทั้งทางพรรค ยังจะเปิดโอกาสให้สมาชิกหารืออีกครั้งในงานสัมมนาที่เขาใหญ่ วันที่ 6-7 ม.ค.56 เพื่อให้เรื่องดังกล่าวตกผลึก พร้อมระบุว่า การทำประชามติของรัฐบาล ไม่ได้ทำเพราะศาลรัฐธรรมนูญ บังคับ แต่ทำเพราะต้องการลดความขัดแย้ง ส่วนความคิดเห็นของหลาย ๆ คน เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็สามารถทำได้ เพราะหากทำประชามติไม่ผ่าน ก็สามารถแก้รายมาตราได้อยู่แล้วนอกจากนี้ นายอุดมเดช ยังกล่าวชี้แจงว่า การตั้งคณะทำงานของพรรคเมื่อวานนี้ เพื่อให้ทำหน้าที่รวบรวมการอภิปรายของสมาชิก หากใครมีข้อเสนอเพิ่มเติม ก็ให้ส่งรายละเอียดมาในวันศุกร์นี้ ว่าการทำประชามติ มีข้อดีและเสีย อย่างไร 'นริศ'แนะแก้ปากท้อง-โกงก่อนแก้รธน.นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ และเลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า การประชุมของวิปฝ่ายค้าน เมื่อวานนี้ ทางวิป เห็นว่า ทางเลือกของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ควรมี 3 ทางเลือก แต่ควรที่จะเพิ่มเรื่องแก้ปากท้องของประชาชน และคอร์รัปชันมากกว่าให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ส่วนการประชุมวิปฝ่ายค้าน ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เพียงพรรคเดียวนั้น ก็มองว่า ไม่เป็นไร เพราะทำหน้าที่เพื่อประชาชน และคิดว่า การดำเนินการของรัฐบาลคงไม่พ้นความคิดเห็น ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้ทางพรรคก็กำลังรอดูความชัดเจนของรัฐบาลอยู่ว่าต้องการอะไร และเชื่อว่าหากมีการแก้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้น สังคมก็จะยังคงไม่สงบนอกจากนี้ นายนริศ ยังกล่าวถึงบทบาทพรรคร่วมฝ่ายค้าน ว่ายังพูดคุยกัน แต่รู้สึกเข็ดกับบางพรรคที่ส่งรายชื่อเข้าแล้วถอดออกไป อีกทั้งให้สัมภาษณ์ทำลายน้ำหนักการอภิปราย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ โดยทางพรรคจะสรุปบทเรียนเรื่องดังกล่าวต่อต่อ พร้อมยืนยัน ทางพรรคยังยืดหยัดที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล และจะทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด 'นิคม' เผย ส.ว. ยังค้านโหวตวาระ 3 แก้ รธน.นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะ รองประธานรัฐสภา เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า จุดยืนของการแก้รัฐธรรมนูญของ ส.ว. ส่วนใหญ่ ยังเห็นด้วยกับการทำประชามติ และแก้เป็นรายมาตรา มากกว่าโหวต วาระ 3 พร้อมมองว่า การทำประชามติ ไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 165 เพราะการกระทำดังกล่าว เป็นการหาทางออกไปที่ประชาชน  ทั้งนี้ ยังระบุว่า การแก้รายมาตราดูเหมือนเป็นการระทำที่ง่าย แต่การปฏิบัติแล้วเป็นเรื่องยาก เพราะการแปรญัตติในแต่ละมาตรา  ต้องใช้เวลามาก ส่วนวาระ3 ที่ขอแก้ทั้งฉบับนั้น สามารถค้างไว้ได้ และเสนอญัตติใหม่เพื่อขอแก้รายมาตรา ตามข้อบังคับการประชุม ข้อที่ 39 พร้อมยืนยัน ส.ว. ไม่มีอำนาจแก้รัฐธรรมนูญ แต่สามารถเข้าชื่อ 1 ใน 5 เพื่อเข้าชื่อแสดงความจำนงได้ แต่อาจจะประเด็นว่า หากมีการแก้ มาตรา 177  ในส่วนที่มาของ ส.ว. อาจมีคนยื่นต่อศาลว่า ต้องการแก้เพื่อตนเองได้ จึงแนะนำให้ ส.ส. เข้าชื่อ เพื่อขอเข้าแก้ไขดีกว่า กกต.ขู่รัฐบาลขนคนลงประชามติผิดกฎหมายนางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลอาจมีการระดมคนให้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติ ว่า การออกเสียงประชามติ รัฐบาลเป็นผู้จัดการ รัฐบาลต้องรณรงค์ให้ประชาชนออกมาลงเสียงประชามติ ทั้งนี้ เพื่อที่จะบอกข้อดี ข้อเสียของการทำประชามติ ซึ่งถือว่าไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย แต่หากรัฐบาลระดมมวลชน หรือขนคนออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติ เรื่องนี้ถือว่าผิดกฎหมาย ตามมาตรา 38 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติ ที่ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการใดๆ อันเป็นการทำให้การออกเสียงไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ 'อภิสิทธิ์'ไม่ขัดข้องรบ.เดินหน้าประชานิยมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในงานเสวนา "โอกาสประเทศไทย 2556" ที่จัดขึ้นโดยสถาบันองค์ความรู้แห่งเอเชีย หรือ AKI โดยเชื่อว่าไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการเมือง เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ต้องเพิ่มความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบราง ถนน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง หรือด้านธุรกิจ แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจของรัฐบาล ที่จะขับเคลื่อนและก้าวพ้นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้หรือไม่ ทั้งการแก้รัฐธรรมนูญ กฎหมายนิรโทษกรรมทั้งนี้ ส่วนตัวไม่ขัดข้อง หากจะผลักดันนโยบายประชานิยม แต่เมื่อรัฐบาลเดินหน้าดำเนินการแล้วเกิดปัญหา ต้องปรับปรุง พร้อมหามาตรการเยียวยาภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook