กต.ยันดูแลโรฮิงยาตามหลักมนุษยธรรมเร่งหาทางแก้ปัญหา

กต.ยันดูแลโรฮิงยาตามหลักมนุษยธรรมเร่งหาทางแก้ปัญหา

กต.ยันดูแลโรฮิงยาตามหลักมนุษยธรรมเร่งหาทางแก้ปัญหา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า กรณีชาวโรฮิงยา ที่ลักลอบเข้าประเทศไทยนั้น ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายของไทย ส่วนเด็กและสตรี ทางรัฐบาลจะดูแลตามหลักมนุษยธรรมโดยขณะนี้ทางองค์กร USMCR และยูนิเซฟ ได้เข้ามาติดต่อเพื่อช่วยเหลือแล้ว ส่วนรัฐบาลไทยจะทำการหารือกับผู้นำศาสนาอิสลามในประเทศไทย และแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ อธิบดีกรมสารนิเทศ ได้กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงบุกยึดโรงงานผลิตก๊าซเชื้อเพลิง (The Tigantourine gas facility) และจับตัวประกันในประเทศแอลจีเรีย ว่า ขณะนี้กำลังตรวจสอบว่า มีคนไทยหรือไม่ และจากการสอบถามข้อมูลกับบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.ที่เข้าดำเนินการในประเทศดังกล่าว ก็พบว่าคนไทยในหน่วยงานดังกล่าวยังปลอดภัย และยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันชัดเจนว่า มีคนไทยถูกจับตัวนอกจากนี้ อธิบดีกรมสารนิเทศ ยังกล่าวถึงกรณีเขาพระวิหารว่า ทางไทยยังต้องต่อสู้และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อ ถึงแม้คดีที่กัมพูชาฟ้องร้องจะเป็นคดีเก่าก็ตาม 'สุณัย' ระบุ โรฮิงยา ไม่มีสถานะเป็นพลเมือง นายสุณัย ผาสุข ผู้ประสานงานที่ปรึกษาองค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ชาวโรฮิงยา ไม่มีสถานะเป็นพลเมืองทั้งประเทศพม่าและบังกลาเทศ ทำให้ต้องมีการพลัดถิ่นออกมา สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ชาวโรฮิงยา ต้องการผ่านไปยังประเทศที่ 3 ทั้งนี้ นายสุณัย กล่าวแนะนำ ว่า 9 ประเทศในสมาคมอาเซียน ต้องร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศพม่า พิจารณาเรื่องการยอมรับสถานะพลเมืองของชาวโรฮิงยา ส่วนในกรณีที่ประเทศบังกลาเทศ ไม่ยอมรับชาวโรฮิงยาเป็นพลเมือง เพราะประเทศบังกลาเทศ เป็นประเทศเผด็จการ จึงทำให้ปฏิเสธสถานะพลเมืองของชาวโรฮิงยา และหาก UNHCR ขอให้ตั้งศูนย์พักพิงในประเทศไทยนั้น ผู้ประสานงานที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ไกล ยังไม่การพูดคุย แต่ถ้าหากมีการตั้งน่าจะอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย 'วิสุทธิ์'เรียกร้องคนไทยช่วยเหลือชาวโรฮิงยา นายวิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน สำนักจุฬาราชมนตรี ประจำภาคใต้ เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ถึงแนวทางการช่วยเหลือชาวโรฮิงยา ว่า การช่วยเหลือแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ได้รณรงค์ให้ประชาชนคนไทย ช่วยเหลือชาวโรฮิงยา ทั้งเรื่องของเสื้อผ้าและอาหาร ส่วนระยะยาว ได้ขอให้ภาครัฐ โดยเฉพาะรัฐบาลไทย ช่วยกดดันให้รัฐพม่าเร่งแก้ไขการปะทะและต่อสู้เรื่องชาติพันธุ์ หากสถานการณ์ในพม่ายังไม่สงบก็ไม่ควรที่จะเร่งรัดส่งตัวกลับ ควรรอให้สถานการณ์ปกติเสียก่อน ทั้งนี้ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน สำนักจุฬาราชมนตรี เรียกร้องให้ประเทศที่ 3 ที่เป็นประเทศมุสลิมที่มีศักยภาพเปิดรับให้ชาวโรฮิงยาได้อยู่อาศัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook