โพลล์ชี้คนกรุงอยากได้ผู้ว่าฯซื่อสัตย์ เน้นแก้ปัญหาจราจร

โพลล์ชี้คนกรุงอยากได้ผู้ว่าฯซื่อสัตย์ เน้นแก้ปัญหาจราจร

โพลล์ชี้คนกรุงอยากได้ผู้ว่าฯซื่อสัตย์ เน้นแก้ปัญหาจราจร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (ก่อนการรับสมัคร) โดยผู้ตอบแบบสอบถามคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,487 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 17 - 19 มกราคม 2556

ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของประชาชน (ก่อนการรับสมัคร) ในประเด็นของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งจะมีการรับสมัครผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในวันที่ 21 - 25 มกราคม 2556 และมีการกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 3 เดือนมีนาคม 2556 ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย 2. สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร 3. แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ 4. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย 5. วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร 6. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พรบ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และกฎหมายอื่นๆ และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ที่จะเข้ามาบริหารจัดการงบประมาณของกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนประมาณ 46,000 ล้านบาท

นายสิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการโครงการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า จากการที่ผู้สมัครอิสระ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกาศตัวลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นคนแรก และมีผู้สมัครอิสระทยอยเปิดตัวเป็นผู้สมัครไม่ว่าจะเป็น นายโฆสิต สุวินิจจิต อดีตผู้บริหารสถานีข่าวและอดีตประธานบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ , นายสุหฤท สยามวาลา ผู้บริหารบริษัท และดีเจ รวมไปถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศส่งอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ลงสมัคร และพรรคเพื่อไทย ประกาศส่ง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ออกประกาศกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละคนต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 49 ล้านบาท

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับการหาเสียงผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Network) ในการประชาสัมพันธ์ทางการเมืองผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Network) ขนาดป้ายหาเสียงข้างถนนยังมีการให้ผู้พบเห็นไปติดตามในโซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Network) ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) ยูทูป (Youtube) อินสตาแกรม (Instagram) กูเกิ้ลพลัส (Googel+) ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้มีการสร้างแฟนเพจ (Fanpage) ใน เฟสบุ๊ค (Facebook) เพราะการสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Networkของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่สามารถสื่อสารกับประชาชนผู้สนับสนุนได้โดยตรง และการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในครั้งนี้เป็นการแข่งขันในเมืองที่มีผู้ใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) มากที่สุดในโลกอย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครคิดว่ายังไม่ตัดสินใจจะเลือกใครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมากที่สุดร้อยละ 32.21 อันดับสองคือ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ร้อยละ 26.43 อันดับสามคือพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ร้อยละ 19.30 อันดับที่สี่คือพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ร้อยละ 14.00 และอันดับที่ห้าคือสุหฤท สยามวาลา ร้อยละ 3.16

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากได้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์โปร่งใส ร้อยละ 40.22 มากที่สุด รองลงมาคือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ร้อยละ 18.49 อันดับสามคือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 13.12

ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครอยากให้แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนคือปัญหาการจราจร ร้อยละ 42.29 มากที่สุด รองลงมาคือปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ร้อยละ 21.31 อันดับสามคือปัญหายาเสพติด ร้อยละ 16.42

และนโยบายที่อยากให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญมากที่สุดคือด้านการจราจรและขนส่งมวลชน 25.09 อันดับสองคือด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 23.67 อันดับสามคือด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 21.45

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook