นโยบายการศึกษาจากผู้ว่าฯ กทม. เน้นปริมาณ แล้วคุณภาพล่ะ?

นโยบายการศึกษาจากผู้ว่าฯ กทม. เน้นปริมาณ แล้วคุณภาพล่ะ?

นโยบายการศึกษาจากผู้ว่าฯ กทม. เน้นปริมาณ แล้วคุณภาพล่ะ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับประเทศหรือระดับท้องถิ่น

นโยบายหนึ่งซึ่งไม่เคยขาดหายไปในจาก "วงจรการเลือกตั้งไทย" ก็คือ นโยบายการศึกษา

เพราะเป็นนโยบายที่ "ครอบคลุม" คนในสังคมทุกระดับ ตั้งแต่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์และ "ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก"

น่าสนใจว่า ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น (แต่ความหฤหรรษ์ไม่แพ้การเลือกตั้งระดับประเทศ) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคน หาเสียงไว้กับวงการการศึกษาระดับกรุงเทพฯอย่างไร

 

เริ่มกันที่ "พ่อมดอิเล็กทรอนิกส์" สุหฤท สยามวารา ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เบอร์ 17 สังกัดอิสระ กับนโยบาย "คิดแบบเดิม ได้แบบเดิม" เน้นการสร้างฐานเสียงกับ "กลุ่มคนรุ่นใหม่" ว่า

ทุกท่านครับสิ่งที่เราควรต้องเร่งแล้วคือเรื่องการศึกษาครับ พวกเราเคยเป็นวัยรุ่นเป็นเด็กมาก่อน โลกวันนี้มันหมุนเร็วมาก ๆ ครับ การผ่องถ่ายคนไปมาระหว่างประเทศจะสำคัญ เด็กที่กำลังเรียนจะไม่ใช่เด็กที่จะเติบโตมาในกรุงเทพฯอย่างเดียว เขาจะต้องพร้อมเจอคู่แข่งที่อยู่ในโลก มันไม่ไกลตัวเลยนะครับเวลา AEC เปิดประเทศเสรีมากขึ้น

หันมามองหลักสูตรการเรียนของเรายังเป็นแบบเก่า เราควรต้องเร่งระดมสมองเพื่อปรับหลักสูตรการเรียนการสอนแล้วครับ แน่นอนของพวกนี้ต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนและผมมีอำนาจแค่ในกรุงเทพฯเฉพาะ โรงเรียนในสังกัดครับและอยู่ในอำนาจที่ผุ้ว่าจะทำได้ครับ ภายใต้กรอบนี้ จะรอกันถึงไหนครับ มันต้องเริ่มแล้วหรือจะรอให้เด็กประเทศอื่นเก่งกว่าครับ เด็กเราเก่งพอครับถ้าได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

และที่สำคัญลืมไม่ได้คือครูของเราครับที่จะหล่อหลอมเขา ผมจะแจ้งรายละเอียดทั้งหมดนะครับ วันนึงเราจะมีลูกและลูกเราต้องโตที่นี้ และคนที่มีลูกแล้วก็ต้องสบายใจได้ในการเรียนการสอน ของหลักสูตรใหม่ของเราครับ ต้องมีหลักสูตรที่ยอดเยี่ยมเหมาะกับเด็กไทย โรงเรียนทางเลือกจะเกิดขึ้น


คนต่อมา "แชมป์เก่า" จากพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด "คุณชายหมู" ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 16 พรรคประชาธิปัตย์กับนโยบาย "ร่วมกันสร้างความสุข" มีนโยบายทางการศึกษาว่า

หากได้รับตำแหน่งจะต่อยอดโครงการโตไป ไม่โกง ที่สอนให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม ซื่อสัตย์สุจริต โดยจะเน้นสร้างวินัยให้เด็ก กทม. อาทิ การมีวินัยการเข้าคิวรับอาหารเช้า การมีวินัยในการสวัสดีคุณครู การมีวินัยในการแสดงความเคารพต่อบิดามารดา การมีวินัยการปฏิบัติตัวต่อผู้ใหญ่และผู้ร่วมชั้นเรียน เนื่องจากผู้ปกครอง เกิดความหวั่นไหวว่าสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางไม่ถูกต้อง เช่น อาชญากรรมและยาเสพติด

ฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นเกราะคุ้มครองคือการถ่ายทอดสิ่งดี คุณธรรมจริยธรรม ศีลธรรมรับผิดชอบต่อสังคม ซื่อสัตย์สุจริต และความมีวินัยจะปกป้อง การก่อเกิดอาชญากรรมและยาเสพติด ทั้งนี้จะเน้นให้เด็กอิ่มท้อง สมองดี มีวินัย

ร.ร.สังกัด กทม. มีการสอนภาษาอาหรับ 82 โรง ดังนั้นจะเพิ่มขึ้นให้เป็น 100 โรงเรียน ขณะที่ภาษาอังกฤษ มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีอยู่แล้ว 100 โรงเรียน จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เนื่องจากต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่มหานครอาเซียน ทั้งนี้ยืนยันว่าการเรียนการสอนภาษาดังกล่าวจะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม


คนสุดท้าย "แม้จะยังไม่มีนโยบายหาเสียงด้านการศึกษาที่เป็นรูปธรรม" แต่ไปหาเสียงในโรงเรียนระดับมัธยมก็ทำมาแล้ว "ตำรวจมาดยิ้ม บิ๊กจูดี้" พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 9 พรรคเพื่อไทย ด้วยความที่ไม่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาแต่ได้ "ทาบทาม" ทีมรองผู้ว่าฯ โดยเชิญ นางสิริกรณ์ มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ น.ส.ณหทัย ทิวไผ่งาม เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการศึกษาและยังมีอีกหลายคนที่เข้ามาช่วย

 

 

จะว่าไปก็เป็นนโยบายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก็ยังเน้น "ปริมาณมากกว่าคุณภาพ" ซึ่งต้องใช้งบประมาณและเน้นประชานิยมเสียมากกว่า

ปัญหาการศึกษาของไทยไม่เหมือนกับปัญหาเศรษฐกิจ จะเน้นการสร้างประชานิยมทางการศึกษาแม้จะช่วยเหลือแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ถูกจุดนัก

เหตุเพราะปัญหาสำคัญในวงการการศึกษาไทยคือ ระบบการเรียนที่เน้น "ท่องจำมากกว่าการฝึกให้เด็ก คิด วิเคราะห์ เรียนรู้ความหลากหลาย"

เมื่อเน้นแต่ท่องจำก็ทำให้เด็กคิดไม่เป็น แล้วกฎระเบียบของโรงเรียนหลายข้อก็เ็ป็นลักษณะ "บังคับมากกว่าที่จะให้เด็กคิดเอง" อย่างเช่นเรื่องทรงผมและการแต่งกายก็ส่วนหนึ่ง

จะอ้างว่า "เพื่อความเป็นระเบียบวินัย" ก็ดูจะไม่ถูกกับคำว่า "การศึกษา" เพราะการศึกษาคือ การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่่งขั้นตอนแลกก็คือ "การตั้งคำถาม"

ส่วน "ความเป็นระเบียบวินัย" ดูจะใช้ในวงการ "ข้าราชการและทหาร" มากกว่า 

จึงเห็นได้ว่า "ระบบการศึกษาไทยสร้างเยาวชนในมีวิธีคิดในกรอบเดียวกัน อุดมการณ์เดียวกัน วิถีชีวิตเดียวกัน"

แต่ไม่เคยสอนให้เยาวชน "เรียนรู้ที่จะอยู่กับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและเคารพความเป็นปัจเจกบุคคลแต่อย่างใด"

ดังนั้นจะแก้ปัญหาสังคมไทยก็คือ การปฎิรูปการศึกษาว่าจะทำอย่างไรให้เยาวชนของไทยคิดเองเป็น ไม่จำเป็นต้อง "สร้างความกลัวให้เด็กที่จะเลือกเดินในทางที่ตัวเองอยากเดิน"

"เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด" แล้วเด็กจะรู้ได้อย่างไรว่าถ้าหมากัดจะต้องทำอย่างไรต่อไป สิ่งที่การศึกษาไทยควรสอนคือ ทำอย่างไรถ้าหากถูกหมากัดแล้ว

 

จะแก้ปัญหาการศึกษาไทยให้ตรงจุด "แทบจะไม่ต้องใช้งบประมาณเลย" ก็คือ ฝึกให้เยาวชนเผชิญกับปัญหาโดยมีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำมากกว่าที่จะสอนให้เด็กกลัวปัญหาจากประสบการณ์ของผู้ใหญ่

ไฟมันร้อนไม่ใช่เพราะมีคนบอกว่าไฟร้อน แต่เพราะเราไปสัมผัสสกับไฟจึงรู้ว่าไฟมันร้อน

เน้นฝึกสอนให้เยาวชนมีวิธีคิดแบบเดียวกัน เชื่อในอุดมการณ์แบบเดียว

"สังคมไทยไม่ไร้สีสันแย่หรือ"

 

                                                                                          พันธวิศย์ เทพจันทร์






แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook