เอแบคโพลล์ ชี้ คนอยู่ทาวน์เฮ้าส์ เลือก"คุณชายหมู" คนอยู่อพาร์ตเม้นต์ เลือก"จูดี้"

เอแบคโพลล์ ชี้ คนอยู่ทาวน์เฮ้าส์ เลือก"คุณชายหมู" คนอยู่อพาร์ตเม้นต์ เลือก"จูดี้"

เอแบคโพลล์ ชี้ คนอยู่ทาวน์เฮ้าส์ เลือก"คุณชายหมู" คนอยู่อพาร์ตเม้นต์ เลือก"จูดี้"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ปัญหาจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม กับการเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. ใครเลือกใคร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร  จำนวนทั้งสิ้น 2,518 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นเลือกเขต แขวง ชุมชน และลงสัมภาษณ์แบบเคาะประตูบ้านในระดับครัวเรือน ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหารถติดมากที่สุดในทรรศนะของประชาชน พบว่า ร้อยละ 38.6 ระบุนิสัยของผู้ขับขี่และความไม่เข้มงวด ไม่จริงจัง ไม่ต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รองลงมาคือ ร้อยละ 32.8 ระบุนโยบายรถคันแรก และร้อยละ 28.6 ระบุสภาพถนนและสัญญาณจราจร ตามลำดับ

 

นอกจากนี้ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่อยากให้ ผู้ว่า กทม. ช่วยดำเนินการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า ร้อยละ 44.1 ระบุสภาพแวดล้อมทางอากาศ เช่น ฝุ่น ควัน ท่อไอเสีย เป็นต้น รองลงมาคือ ร้อยละ 41.1 ระบุ การจัดการขยะเน่าเหม็น ร้อยละ 40.4 ระบุแม่น้ำลำคลอง ร้อยละ 35.7 ระบุสิ่งแวดล้อมตามท้องถนน ร้อยละ 28.1 ระบุสภาพแวดล้อมของพื้นที่สาธารณะต่างๆ เช่น ป้ายรถเมล์ สนามกีฬา ร้อยละ 19.9 ระบุสภาพแวดล้อมของระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟ และร้อยละ 10.3 ระบุอื่นๆ เช่น การเผาขยะ ควันโรงงาน และคุณภาพของดิน เป็นต้น

 

เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะไปเลือกตั้งพบว่า ร้อยละ 63.5 ไป ในขณะที่ร้อยละ 36.5 ไม่ไป และเมื่อถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง คุณตั้งใจจะเลือกผู้สมัครท่านใด พบว่า ร้อยละ 42.0 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ  พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย รองลงมาคือ    ร้อยละ 33.5 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 8.6 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์  เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ และร้อยละ 15.9 ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท  สยามวาลา นายโฆสิต  สุวินิจจิต เป็นต้น

 

 

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง คุณตั้งใจจะเลือกผู้สมัครท่านใด จำแนกตามสภาพที่พักอาศัย เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโด (อาคารสูง) ทาวน์เฮ้าส์  บ้านเดี่ยวจัดสรร และชุมชนแออัด พบว่า ในกลุ่มตัวอย่างอพาร์เมนต์คอนโด ร้อยละ 43.0 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ  พงษ์เจริญ ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ของกลุ่มตัวอย่างอพาร์ตเมนต์คอนโด ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร และร้อยละ 12.8 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์  เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ และร้อยละ 11.9 ระบุผู้สมัครคนอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

 

 

อย่างไรก็ตาม น่าจับตามองผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกลุ่มตัวอย่างทาวน์เฮ้าส์ และกลุ่มตัวอย่างบ้านเดี่ยวจัดสรร เพราะสำรวจพบว่ามีโอกาสพลิกหรือสวิงพลิกกลับได้เนื่องจากผลสำรวจที่ค้นพบ อยู่ในช่วงของความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 โดยพบว่า    ร้อยละ 40.1 ของกลุ่มคนทาวน์เฮ้าส์ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 39.9 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ และร้อยละ 10.8 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ และร้อยละ 9.2 ระบุผู้สมัครคนอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ร้อยละ 40.5 ของกลุ่มตัวอย่างคนบ้านเดี่ยวจัดสรรระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ 34.8 ระบุ     ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และร้อยละ 9.7 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ และร้อยละ 15.0 ระบุ อื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มตัวอย่างคนชุมชนแออัดร้อยละ 43.1 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ และร้อยละ 6.1 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ และร้อยละ 20.2 ระบุ อื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา  นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

 

 

ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแนกออกตามพื้นที่ที่ถูกศึกษาออกเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก พบว่า กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ชั้นในร้อยละ 43.0 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ 34.4 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ และร้อยละ 5.5 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 17.1 ระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

 

นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีสัดส่วนที่อาจพลิกผันได้เพราะอยู่ในช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบ ร้อยละ 7 ได้แก่กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ชั้นกลางที่พบว่า ร้อยละ 39.8 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ร้อยละ 36.7 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ และร้อยละ 11.0 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ และร้อยละ 12.5 ระบุ อื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น

 

และเมื่อวิเคราะห์ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก พบว่า กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ชั้นนอกร้อยละ 42.7 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ ในขณะที่ ร้อยละ 30.6 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ และร้อยละ 9.5 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ และร้อยละ 17.2 ของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ชั้นนอกระบุอื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น
 

 

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า นโยบายด้านจราจรและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่คนกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญและ ปัญหาสำคัญทั้งสองไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดเพียงสาเหตุเดียว การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เข้มงวดกวดขันจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจังต่อ เนื่อง เช่น พวกขับรถเกินความเร็วที่กำหนดบรรดาซุปเปอร์คาร์ (Super Car) ที่มักก่อความเสียหายต่อผู้อื่น และบรรดารถหรูราคาแพงที่ไม่ค่อยกล้าจับกุม เป็นการเลือกปฏิบัติและทำให้อารมณ์คนขับขี่คนอื่นเสียและก่อให้เกิดการเลียน แบบตามทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Windows Theory) ที่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายมักจะมีนิสัยทำตามๆ กันเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่กวดขันจับกุมอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเหล่านี้เป็นโจทย์สำคัญที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่า กทม. ต้องขบคิดว่า จะทำอย่างไรได้บ้าง เพราะมันอยู่นอกเหนืออำนาจของผู้ว่า กทม.จะไปสั่งการตำรวจได้ บทบาทของการประสานงานเพียงอย่างเดียวตำรวจจะทำตามหรือไม่ ดังนั้น ถ้าหากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่า กทม. ท่านใดสามารถแสดงให้เห็นหรือทำให้ดูว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาจราจรได้ และประชาชนเล็งเห็นว่าทำได้จริง ก็น่าจะมีส่วนทำให้เกิดการสนับสนุนของสาธารณชนต่อการเป็นผู้ว่า กทม.ได้
 

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การทำโพลล์ครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่า กทม. ทุกคนเพราะคณะวิจัยเชื่อว่า ผู้สมัครบางรายอาจไม่มีแหล่งทุนวิจัยมากเพียงพอที่จะทำการสำรวจได้ด้วยตนเอง จะได้ทราบว่าจะต้องวางยุทธศาสตร์ในทางการเมืองอย่างไรจึงจะทำให้สามารถเข้า สู่ตำแหน่งทางการเมืองและทำงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของสาธารณชน ซึ่งผลสำรวจครั้งนี้ค้นพบว่า ประชาชนที่พักอาศัยในลักษณะและพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยวจัดสรร และชุมชนแออัด มีสัดส่วนของการสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งแตกต่างกัน และพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างพักอาศัยอยู่ทั้งในกรุงเทพฯ ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ก็ค้นพบว่ามีสัดส่วนของการสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งแตกต่างกัน

 

"ข้อมูลที่ค้นพบน่าจะทำให้ผู้สมัครทุกท่านสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณา ในการศึกษาอย่างลึกซึ้งต่อไปว่า จะทำอย่างไรถึงจะตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่แตกต่างกันได้  ความต้องการแตกต่างกัน ปัญหาเดือดร้อนที่แตกต่างกันในกลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความ หลากหลาย  เพื่อให้แต่ละท่านที่ค้นพบแนวทางแก้ปัญหาของประชาชนและทำให้เกิด "ความวางใจ" หรือ TRUST ต่อผู้สมัครนั้น  ผลที่ตามมาคือ ฐานสนับสนุนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็น่าจะเปลี่ยนแปลงไปได้หรืออาจ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากผลสำรวจครั้งที่ค้นพบครั้งนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำงานด้านวิจัยและการศึกษาเจาะลึกต่อไป"  ดร.นพดล กล่าว
 

 

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.7 เป็นหญิง ร้อยละ 47.3 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 3.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 40-49 ปี และ ร้อยละ 35.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 72.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 26.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 1.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 36.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว  ร้อยละ 24.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 6.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 3.8 เป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 15.6 รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 12.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 1.6 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook