การบ้านพท.-ปชป. ค้นหาปัจจัยชี้ขาด ชิงชัยชนะศึกผู้ว่าฯกทม.

การบ้านพท.-ปชป. ค้นหาปัจจัยชี้ขาด ชิงชัยชนะศึกผู้ว่าฯกทม.

การบ้านพท.-ปชป. ค้นหาปัจจัยชี้ขาด ชิงชัยชนะศึกผู้ว่าฯกทม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


จากผลการสำรวจคะแนนนิยมของโพลล์สำนักต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนถึงบัดนี้ ชี้ชัดประเด็นน่าสนใจออกมา 2 ประการใหญ่

ประการ แรก ชี้ชัดว่าผู้สมัครสังกัดพรรคการเมืองได้เปรียบ ประการที่สอง ชี้ชัดว่าผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ได้เปรียบมากกว่าผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์

หมายความว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จากเพื่อไทย ได้เปรียบมากกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากประชาธิปัตย์

โพลสำรวจจากเอแบคโพลล์ ระบุการเลือกตั้งโค้งแรกระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม ชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างนิยม พล.ต.อ.พงศพัศ มากกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์

และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจความคิดเห็นก่อนการรับสมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เอแบคโพลล์ชี้ว่า ความนิยมที่มีต่อ พล.ต.อ.พงศพัศ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

จากร้อยละ 32.1 ในช่วงก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง มาอยู่ที่ร้อยละ41.8 ในช่วงหลังวันสมัคร คือ เพิ่มขึ้นกว่า 9.7 จุด

ในขณะที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 37.6 หรือเพิ่มขึ้น 5.9 จุด

สาเหตุสำคัญที่คนส่วนใหญ่นิยม พล.ต.อ.พงศพัศ คือ ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง ...Change

และผลการสำรวจล่าสุด ระหว่างวันที่ 31 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ ก็ยังยืนยันว่า คนกรุงเทพฯนิยม พล.ต.อ.พงศพัศ มากกว่า

นอกจากนี้ยังมีสวนดุสิตโพลที่สำรวจความคิดเห็นประชาชนคนกรุงเทพฯ และพบว่า พล.ต.อ.พงศพัศ ได้รับความนิยมมากกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์

เหมือนกับนิด้าโพล ที่แม้ในการสำรวจครั้งแรก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะนำ พล.ต.อ.พงศพัศ แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา ผลสำรวจออกมาว่า พล.ต.อ.พงศพัศ ได้รับความนิยมมากกว่า

อย่างไรก็ตามยังมีศูนย์สำรวจความคิดเห็น บ้านสมเด็จโพลล์สำนักหนึ่งที่สำรวจความเห็นประชาชนในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ แล้วพบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้รับความนิยมมากกว่า พล.ต.อ.พงศพัศและเป็นความนิยมที่มาจาก ตัวผู้สมัครŽ เป็นปัจจัยสำคัญ

ส่วนโพลที่เหลือชี้ชัดไปในทางเดียวกัน คือ พล.ต.อ.พงศพัศ นำ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์

น่าสังเกตว่า การหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะตัวผู้สมัครเท่านั้นที่ทุ่มเทเต็มที่ พรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้นสังกัดก็ทุ่มเทเต็มที่เช่นกัน

พรรค เพื่อไทยระดมทั้งแกนนำ รัฐมนตรีของพรรค และสมาชิกพรรค รวมถึงสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตลงพื้นที่ช่วย พล.ต.อ.พงศพัศ หาเสียงเต็มที่

แม้แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ออกช่วยหาเสียงเต็มที่

เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคลงพื้นที่ประกบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์และยังดึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ลงพื้นที่ช่วยอีกแรง

นี่ยังไม่รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคิวลงช่วยหาเสียงกันไม่แพ้ทางฝั่งพรรคเพื่อไทย

น่าสังเกตว่า ในขณะที่ผู้สมัครทั้งสองพรรค ต่างดึงเอาเครดิตของพรรคที่ตัวเองสังกัดมาช่วยหาเสียงเต็มที่ แต่เสียงสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ยังแผ่ว...

สิ่งเหล่านี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เก็บกลับไปคิดเป็นการบ้านบ้างหรือไม่

สำหรับ ปัจจัยทางนโยบาย พบว่าทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศนโยบายสร้างสรรค์กรุงเทพมหานครออกมาอย่างต่อเนื่อง และนโยบายที่ประกาศก็ได้รับความสนใจจากประชาชน กระทั่งมีเสียงสอบถามเรื่องทำได้จริงหรือ?

ดังสนั่นเมือง!!!

แต่ข้อจำกัดในการประกาศนโยบาย คือ ระยะเวลาการหาเสียงมีจำกัด เหลือเพียงอีกไม่กี่สัปดาห์จะถึงวันที่ 3 มีนาคม ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งแล้ว

ดังนั้นในสถานการณ์ที่การอธิบายความ ของใหม่Ž อาจทำได้ไม่ครอบคลุม สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการใช้ ของเก่าŽ ที่ดีและน่าสนใจออกมาขายความศรัทธาในตัวผู้สมัคร และความศรัทธาในพรรคของผู้สมัครจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การตัดสินใจทั้งตัวผู้สมัครและพรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้นสังกัด จะทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 4,333,157 คนตัดสินใจเช่นไรในวันที่ 3 มีนาคมนั้นน่าสนใจ

พรรคเพื่อไทยจะทำให้ความนิยมในโพลแปรเป็นคะแนนเสียงได้เช่นไร และพรรคประชาธิปัตย์จะพลิกเกมสู้ศึกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนี้แบบไหน

ทุกอย่างคือการบ้านที่พรรคการเมืองทั้งสองต้องคิดและรีบดำเนินการ...

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook