จับเข่า′บ้านสมเด็จโพลล์′ เฉลยปม′คุณชาย′คะแนนนำ

จับเข่า′บ้านสมเด็จโพลล์′ เฉลยปม′คุณชาย′คะแนนนำ

จับเข่า′บ้านสมเด็จโพลล์′ เฉลยปม′คุณชาย′คะแนนนำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ผ่านมาครึ่งทางแล้ว

ตัวละครสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้คือ "โพล" ที่กลายเป็นวิวาทะ เมื่อผู้สมัครบางคนบางพรรคโวยวายว่าเป็นการชี้นำ และร้องเรียน กกต.

ลองย้อนกลับไปดู ว่าแต่ละโพล ได้นำเสนออะไรมาบ้าง

ก่อนที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 ม.ค.2556

มติพรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนให้ลงป้องกันแชมป์ เจ้าตัวตัดสินใจลาออกก่อนครบวาระ ทำให้ต้องจัดเลือกตั้งภายใน 60วัน

ส่วนพรรคเพื่อไทย แย้มชื่อ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

ในห้วงเดือนมกราคม โพลต่างๆ ให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์มีคะแนนนำ พล.ต.อ.พงศพัศอยู่เล็กน้อย

หลังจากผู้สมัครยื่นใบสมัครในวันที่ 21 ม.ค. สองวันจากนั้น เอแบคโพลล์รายงานว่า คะแนนนิยมของ พล.ต.อ.พงศพัศ ขึ้นนำ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์

รวม ถึง "สวนดุสิตโพล" นำเสนอผลสำรวจความนิยม 2 ครั้ง ช่วงเดือน ม.ค.กับ ก.พ.ให้ พล.ต.อ.พงศพัศ นำ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ครั้งแรก 41.0 ต่อ 36.12% ส่วนครั้งที่ 2 คนจากเพื่อไทยนำ 42.59 ต่อ 34.31%

โพลต่างๆ หลังจากนั้นก็เป็นไปทำนองเดียวกัน

มี แต่ "บ้านสมเด็จโพลล์" ที่สำรวจพบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์มีคะแนนนิยมตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ยังนำเสนอผลคะแนนนิยมให้ผู้สมัครค่ายแม่พระธรณีบีบมวยผมมาอันดับ 1 เหมือนเดิม โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์มีคะแนนนำ พล.ต.อ.พงศพัศ 28.10 ต่อ 26.98%

เมื่อผู้สื่อข่าวถามความเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะตอบว่า ยังมีบ้านสมเด็จโพลล์ที่ให้ตนเองนำอยู่

อะไรที่ทำให้ "บ้านสมเด็จโพลล์" มีผลคะแนนนิยมในตัวผู้สมัครสวนทางทุกสำนักโพล

สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จะเป็นผู้ให้คำตอบ

สิงห์ กล่าวถึงวิธีการทำงานตามระบบขั้นตอนในการทำโพลว่า บ้านสมเด็จโพลล์มีคณะกรรมการประมาณ 10 คน พิจารณาหัวข้อที่จะทำตามสถานการณ์ในสังคม

ในส่วนการทำโพลผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้ผลออกมาแตกต่างจากสำนักอื่นๆ โดยผู้สมัครหมายเลข 16 (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์) มีคะแนนนำผู้สมัครหมายเลข 9 (พล.ต.อ.พงศพัศ) นั้น เริ่มทำมาตั้งแต่เดือน พ.ย.2555 และทำต่อเนื่องมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งที่ 4 เป็นครั้งสุดท้าย คาดว่าจะเผยแพร่ในวันที่ 21 ก.พ.นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินสัปดาห์หน้า

"ยืนยันว่าโพลดังกล่าวไม่ได้รับ จ้างหน่วยงานหรือองค์กรใด แต่เป็นการทำเพื่อสังคม ทุกโพลจะมีการสอดแทรกองค์ความรู้สำหรับประชาชนด้วย เช่น ถามว่ารู้หรือไม่ผู้ว่าฯ กทม.มีหน้าที่อะไร หรือ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ใช้งบประมาณหาเสียงได้คนละเท่าใด เป็นต้น"

สิงห์กล่าวถึงวิธี การทำโพลว่า จะแบ่งกรุงเทพฯเป็น 3 ส่วน คือ เขตเมือง เขตรอยต่อเมือง และเขตชานเมือง จากนั้นจะสุ่มมาส่วนละ 10 เขต รวมเป็น 30 เขต และส่งนักศึกษาลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป ทุกกลุ่มอาชีพ โดยเน้นกลุ่มที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เท่านั้น

"โพลแต่ละ ครั้งใช้เวลาเก็บข้อมูลอย่างน้อย 3 วัน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจะมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของกลุ่มตัวอย่างด้วยคำถาม เช่น ถามว่ามีปัจจัยใดในการเลือกผู้ว่าฯ กทม. ถ้ากลุ่มตัวอย่างใดตอบว่าเลือกเพราะพรรคการเมืองที่ชอบ แต่เลือกผู้สมัครหมายเลขที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง แสดงว่าแบบสอบถามชุดนั้นลวง เจ้าหน้าที่จะคัดออก"

ประธานคณะกรรมการ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวอีกว่า จากการเก็บตัวอย่างครั้งล่าสุดได้แบบสอบถามประมาณ 1,300 ชุด แต่ใช้ได้จริง 1,160 ชุดเท่านั้น เมื่อนำแบบสอบถามมาแปรผลก็พบว่าหมายเลข 16 มีคะแนนนำหมายเลข 9 แต่เป็นการนำเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ถือว่าไม่มากนัก

นอก จากนั้น ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ยังลงสำรวจพฤติกรรมคน กทม.ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. (หลังการสมัคร 2 สัปดาห์) โดยกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คน ต้องการความเชื่อมั่น 99% ความผิดพลาดไม่เกิน 3% จะต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,099 กลุ่มตัวอย่าง

"มีวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มพื้นที่เขต ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) และในการเลือกเขตของแต่ละกลุ่มเขต ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และสุดท้ายใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) การสุ่มเก็บตัวอย่างจากเขตต่างๆ จำนวน 30 เขต" สิงห์อธิบายอย่างละเอียด

สุดท้าย ผลการเลือกตั้งในวันที่ 3 มีนาคม นอกจากตัดสินตัวผู้ว่าฯ กทม.แล้ว

ยังจะตัดสินความแม่นยำของ "โพล" อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook