กราฟ"โพล"บ่งชี้ "จูดี้"ทิ้งแสนเสียง

กราฟ"โพล"บ่งชี้ "จูดี้"ทิ้งแสนเสียง

กราฟ"โพล"บ่งชี้ "จูดี้"ทิ้งแสนเสียง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลือกตั้งผู้ว่า กทม. เส้นกราฟผลสำรวจความนิยม (โพล) ของเอแบค นิด้า และสวนดุสิต ระหว่าง "จูดี้" พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ หมายเลข 9 จากพรรคเพื่อไทย กับ "คุณชายหมู" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายเลข 16 จากพรรคประชาธิปัตย์ มีลักษณะขึ้นๆ ลง ๆ

ช่วงก่อนวันรับสมัคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์มีคะแนนนิยมนำหน้า พล.ต.อ.พงศพัศ

แต่หลังวันรับสมัคร พล.ต.อ.พงศพัศมีคะแนนนิยมนำหน้าตลอดทุกช่วงการสำรวจ แต่เป็นไปในลักษณะค่อยๆ เขยิบขึ้นทีละนิดๆ ทั้ง 3 สำนัก

ส่วนคะแนนนิยมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ขึ้นแล้วลง แล้วกลับมาขึ้นอีกจากนั้นก็ทรงเรื่อยมา

จากการสำรวจทั้งหมด 14 ครั้ง ทั้งสองมีคะแนนความนิยมห่างกันแคบสุดอยู่ที่ 1% ห่างกันมากที่สุดอยู่ที่ 10%

ในจำนวนทั้งหมด 14 ครั้ง ทั้งสองมีคะแนนห่างระหว่าง 4-6% จำนวน 5 ครั้ง

ที นี้เราลองนำสถิติผู้มาใช้สิทธิย้อนหลังไป 4 ครั้ง และคะแนนนิยมจากโพลมาคำนวณเพื่อคาดการณ์ว่า คะแนนเสียงของทั้่งสองจะออกมาประมาณเท่าไหร่

ปี 2543 ผู้มาใช้สิทธิ 58.87%, ปี 2547 ผู้มาใช้สิทธิ 62.50%

ปี 2551 ผู้มาใช้สิทธิ 54.18% อภิรักษ์ โกษะโยธิน จากพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนน 991,018 คะแนน ประภัสร์ จงสงวน จากพรรคพลังประชาชน ได้คะแนน 543,488 คะแนน

ปี 2552 ผู้มาใช้สิทธิ 51% ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนน 934,602 คะแนน ยุรนันท์ ภมรมนตรี จากพรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 611,669 คะแนน

ในการ เลือกตั้งที่กำลังจะถึงนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 4,333,157 คน ถึงแม้ผู้บริหาร กทม.ตั้งเป้าผู้มาใช้สิทธิค่อนข้างสูง "เวอร์" ถึง 70%

แต่ เมื่อประเมินแนวโน้มผู้มาใช้สิทธิในวันที่ 3 มีนาคม 2556 ให้ได้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงที่สุด ก็น่าจะหาได้จากการนำค่าเฉลี่ยของยอดผู้ใช้สิทธิย้อนหลังไป 4 ครั้งมาประเมิน น่าจะออกมาราว 56% หรือประมาณ 2,426,567 คน

ถ้าจำนวนทั้งหมดของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละครั้ง มีค่าเท่ากับจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง คะแนนนิยมเทียบกับคะแนนเสียงที่ได้น่าจะรับ

หลัง วันรับสมัคร โพล 3 สำนักให้คะแนนนิยม พล.ต.อ.พงศพัศ วิ่งสูงสุดอยู่ระหว่าง 40-44% เทียบเป็นคะแนนเสียงได้ 970,626-1,067,689 คะแนน

ส่วนคะแนนนิยม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ วิ่งสูงสุดอยู่ระหว่าง 34-37% เทียบเป็นคะแนนเสียงได้ 825,032-897,829 คะแนน

จะเห็นได้ว่าคะแนนนิยมของ พล.ต.อ.พงศพัศมีความใกล้เคียงกับคะแนนของผู้ได้อันดับหนึ่งในการเลือกตั้งปี 2551 และ 2552

ส่วน คะแนนนิยมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ห่างจากผู้นำราวหนึ่งแสนคะแนน แตกต่างกับคะแนนของผู้ได้อันดับสองในการเลือกตั้งปี 2551 และ 2552 ซึ่งห่างกัน 3-4 แสนคะแนน

ตอนนี้ ยังถือว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ตามหลัง พล.ต.อ.พงศพัศอยู่ไม่ห่าง พรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสทำคะแนนไล่จี้ติดชนิดหายใจรดต้นคอ และพลิกสถานการณ์กลับมาแซงได้

ขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศก็มิอาจนิ่งนอนใจได้จนกว่าผลการสำรวจโพลครั้งสุดท้าย (ก่อน กกต.ห้ามทำ) จะมีคะแนนนำเกิน 10% หรือไม่ ถ้าถึง 15% น่าจะถือเป็นเรื่องยากมากที่คนอื่นจะไล่ตามทัน

แต่เมื่อยังห่างแค่ 10% ตอนนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ เนื่องจากกราฟแสดงความนิยม และแนวโน้มที่นำมาเสนอข้างต้นนี้ เป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นว่า ยอดผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อผลแพ้-ชนะ

ถึง แม้ขณะนี้ พล.ต.อ.พงศพัศจะได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ถ้า กทม. และพรรคประชาธิปัตย์สามารถปั๊มยอดผู้มาใช้สิทธิเพิ่มขึ้นได้อีก 10-15%

โอกาสพลิกแซงไม่ใช่เป็นไปไม่ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook