หวั่น! 10 มี.ค. ดาวหางแพนสตาร์ เฉียดโลกอีก
(7 มี.ค.) ดางหางแพนสตาร์สเคลื่อนเฉียดโลก ใกล้ที่สุด 10 มีนาคมนี้ หวั่นเกิดอุกาบาตตกซ้้ำรอย ดาราศาสตร์ชวนดู เกิดขึ้นแค่ครั้งนี้ครั้งเดียวในชีวิต
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 8-17 มีนาคมนี้ ดาวหางแพนสตาร์ (C/2011 L4 PANSTARRS) จะโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์และโลก โดยในวันที่ 10 มีนาคมนี้ ดาวหางจะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้สามารถรับชมแสงสว่างของดาวหางได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกดินประมาณ 30 นาที โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ดาวหางจะปรากฏอยู่ใกล้ขอบฟ้าบริเวณกลุ่มดาวปลา ซึ่งหากอยู่บริเวณที่ท้องฟ้ามืดสนิทจะมีโอกาสเห็นดาวหางได้ด้วยตาเปล่า แต่ถ้าใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วยดูก็จะเห็นเห็นดาวหางชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ ดาวหางแพนสตาร์ค้นพบโดยกล้อง Pan-STARRS บนเกาะฮาวาย เมื่อเดือนมิถุนายน 2011 โดยจะโคจรมาใกล้โลกเพียงครั้งนี้ ครั้งเดียวเท่านั้นและจะไปกลับมาอีก จึงเป็นโอกาสที่ประชาชนที่จะได้เห็นความสวยงามของดาวหางดวงนี้ในช่วงดังกล่าวแค่ครั้งเดียวในช่วงชีวิตมนุษย์