ตร.วางกำลัง รปภ. อุเทนฯประท้วงเต็มที่-จร.ยังปกติ
พ.ต.อ.เทียนชัย คามะปะโส ผกก.สน.ปทุมวัน เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงมาตรการดูแลความปลอดภัย และการจราจร หลังนักศึกษา และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย นัดรวมตัวกัน ประท้วง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอคืนพื้นที่ ว่า ในวันนี้ มีการเตรียมกำลังดูแลทั้งความปลอดภัย จราจร หน่วยลาดตระเวน กองร้อยควบคุมฝูงชนรวม 500 - 600 นาย โดยมีการตั้งด่านรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อป้องกันเหตุตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่งก็ดูแลไปจนยุติการชุมนุม ซึ่งเรื่องความปลอดภัยไม่น่ากังวลเพราะมีการวางกำลังดูแลเต็มพื้นที่ แต่เรื่องที่เป็นห่วง คือ เรื่องปัญหาการจราจร ถ้าคนมาเยอะก็จะติดขัดสาหัสขึ้นกว่าเดิม เพราะบริเวณนี้ ก็ติดขัดเป็นปกติอยู่แล้วโดยเฉพาะวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม จะพยายามไม่ให้มีการปิดการจราจร ตำรวจจะดูแลให้ดีที่สุด เพื่อไม่ให้กีดขวางจราจร ยังไร้เงาศิษย์เก่า-ใหม่อุเทนถวายรวมตัว-จร.ปกติพ.ต.ท.พิเชษฐ์ พวงทอง สว.จร.สน.ปทุมวัน เปิดเผย ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า บรรยกาาศล่าสุด ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ที่จะมีการนัดหมายรวมตัว เพื่อประท้วงการขอพื้นที่สถาบันคืนจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันนี้นั้น ล่าสุด ยังไม่มีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน เดินทางมารวมตัวที่สถาบันแต่อย่าางใด คาดว่าจะทยอยมาในช่วงสายของวันนี้ในส่วนของตำรวจและอาจารย์ของสถาบัน ได้ตั้งจุดตรวจอาวุธที่หน้าสถาบัน ทั้งเครื่องสแกนอาวุธ เพื่อป้องกันเหตุร้าย ส่วนการจราจรด้านหน้าห้างมาบุญครองและถนนพาญาไท ยังคล่องตัวตามปกติ จุฬาฯ แจงผ่านเว็บไซต์ขอพื้นที่คืนอุเทนถวายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีขอคืนพื้นที่ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย โดยได้นำผลการพิจารณาของ คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ กยพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางแพ่ง ระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน สำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดของ กยพ. ใช้เวลาการพิจารณาถึง 2 ปี โดยมีการสอบทั้งพยานหลักฐานและพยานบุคคลของทั้งสองฝ่าย และได้ตัดสินให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ขนย้าย และส่งมอบพื้นที่ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับชำระค่าเสียหาย ปีละกว่า 1,140 ล้านบาท นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 จนกว่าจะส่งมอบคืนพื้นที่แล้วเสร็จ ขณะเดียวกัน ตัวแทนของอุเทนถวาย ได้ยื่นถวายฎีกา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 และมีหนังสือตอบกลับจากสำนักราชเลขาธิการ ว่าให้ผลเป็นไปตามคำวินิจฉัยของ กยพ. ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า การขอคืนพื้นที่นั้น ดำเนินการตามกฎหมายอย่างถูกต้อง โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เช่าพื้นที่เป็นเวลา 68 ปี หมดสัญญา เมื่อปี 2546 ซึ่งจุฬาลงกรณ์ได้เริ่มเจรจาขอคืนพื้นที่มาตั้งแต่ ปี 2518 เพื่อจะนำพื้นที่กว่า 20 ไร่ 3 งาน ไปขยายเขตพื้นที่การศึกษาตามโครงการพัฒนาของมหาวิทยาลัย ตร. 600 นาย ประจำจุดแล้วบรรยากาศล่าสุด กรณีการรวมตัวของ นิสิต นักศึกษา ทั้งศิษย์เก่าและปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เพื่อทวงคืนที่ดินจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย นิสิต นักศึกษา ได้ทยอยเดินทางเข้ามาร่วมกิจกรรม ซึ่งบางส่วนได้เดินทางมารอตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาแล้ว สำหรับการรักษาความปลอดภัยในช่วงเช้า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 100 นาย ทั้งจากกองบังคับการตำรวจจราจร และ สน.ปทุมวัน ดูแลเส้นทางการจราจร บริเวณ ถนนพญาไท พระราม 4 พระราม 1 และบริเวณโดยรอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการจราจร โดยเฉพาะเรื่องการจอดรถกีดขวางการจราจร ซึ่งจะมีเจ้าหน้าเตรียมใช้รถยกเคลื่อนย้ายทันทีหากมีการฝ่าฝืน ส่วนกำลังทั้งหมดอีก 500 นาย ได้ทยอยประจำจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะประตูทางเข้าด้านหน้า ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ พร้อมได้นำเครื่องสแกนอาวุธมาติดตั้งไว้ เพื่อป้องกันการพกพาอาวุธของผู้ร่วมชุมนุม พร้อมทั้งมีการให้ลงทะเบียน สำหรับผู้ที่จะเข้ากิจกรรมก่อนเคลื่อนขบวนในช่วงบ่าย ไปตาม ถนนพญาไท โดยจะมีการจัดกิจกรรมที่หน้าสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ พร้อมยื่นหนังสือเรียกร้องและข้อเสนอต่าง ๆ ที่เคยยื่นไปก่อนหน้านี้ ขณะที่ การจราจรยังคล่องตัว ไม่ติดขัดอย่างที่คาด เนื่องจากประชาชนที่ติดตามข่าว ได้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าวสำหรับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงเปิดการเรียนการสอนและให้บริการประชาชนตามปกติ ส่วนสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ให้นักศึกษาหยุดเรียน ตั้งแต่ 14-15 มี.ค. และกำชับไม่ให้นักศึก เข้าไปร่วมในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น