สธ.ออกมาตรการดูแลคนต่างด้าวในระบบสุขภาพ

สธ.ออกมาตรการดูแลคนต่างด้าวในระบบสุขภาพ

สธ.ออกมาตรการดูแลคนต่างด้าวในระบบสุขภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเกี่ยวกับมาตรการในการจัดบริการสุขภาพแก่กลุ่มประชากรต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรี ว่า ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว โดยมีเป้าหมาย 4  กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1. กลุ่มแรงงานสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา 2. กลุ่มครอบครัวที่ติดตามมาพร้อมกับผู้ใช้แรงงาน 3. ต่างด้าวที่ข้ามมารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลตามแนวชายแดน และ 4. ต่างด้าวที่เข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งอาจมีประกันสุขภาพหรือยังไม่มีก็ได้ เพื่อให้ประชาชนทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่าย ทั้ง การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และลดปัญหาเด็กไร้สัญชาติในประเทศด้วย ซึ่งจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วทั้งนี้ สถานการณ์แรงงานต่างชาติ ขณะนี้คาดว่าจะมีกลุ่มคนต่างด้าวพร้อมครอบครัวและบุตรอาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งที่ขึ้นทะเบียนใช้แรงงานในและนอกระบบประกันสังคมรวม 2-3 ล้านคน ในจำนวนนี้ คาดว่า จะเป็นแรงงานผู้หญิงประมาณ 1 - 1.6 ล้านคน ผลการตรวจสุขภาพของ กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2554 พบต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา เป็นโรคติดต่อที่ต้องติดตามรักษาให้หายขาด เช่น มาลาเรีย วัณโรค ประมาณร้อยละ 1 และพบหญิงต่างด้าวที่เข้ามาใช้แรงงานตั้งครรภ์จำนวน 18,355 คน คิดเป็นร้อยละ 1.47 - 1.75 ของหญิงต่างด้าวทั้งหมด หากไม่มีระบบควบคุมใด ๆ คาดว่าจะมีต่างด้าวตั้งครรภ์ปีละประมาณ 16,000 - 24,000 คน คลอดปีละประมาณ 10,000 - 20,000 คน และจะมีเด็กไร้สัญชาติสะสมในประเทศไทยประมาณ 400,000 - 500,000 คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook