ปลัด สธ. พร้อมพูดคุยแพทย์ชนบท

ปลัด สธ. พร้อมพูดคุยแพทย์ชนบท

ปลัด สธ. พร้อมพูดคุยแพทย์ชนบท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงกรณีที่กลุ่มแพทย์ชนบทได้ออกมาคัดค้านการปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ว่า ได้เห็นการคัดค้าน ผ่านทางโซเซียลเน็ตเวิร์คแล้ว และพร้อมที่จะทำความเข้าใจกับพี่ๆ น้องๆ ทุกคน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องในองค์กร ที่น่าจะสามารถพูดคุยกันได้ ทั้งนี้ ในกรณีนี้โดยส่วนตัวเห็นว่า เป็นแนวทางที่ดีที่จะพัฒนาระบบการจ่ายเบี้ยเลี้ยง เพราะ สธ. เราไม่ได้มีการปรับมานานแล้ว โดยเงินเบี้ยเลี้ยงของแพทย์ จะลดลงคนละ 5,000 บาทนั้น จะลดลงเฉพาะแพทย์ในโรงพยาบาลในเมืองขนาดใหญ่ ส่วนแพทย์ที่อยู่เขตกันดาร ยังคงได้เบี้ยเลี้ยงเหมือนเดิม "ในกระทรวงมีข้าราชการ 1.8 แสน มีสาขาวิชาชีพ 26 สาขา ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายนี้โดยคาดว่า เร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุข จะได้นำร่างการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนแบบพีฟอร์พี เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป"ขณะที่กรณีจะมีแพทย์ชนบทจำนวนหนึ่ง เดินทางมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 26 มี.ค.นี้ เรื่องนี้ ยังไม่มีใครรู้ ว่าจะมีแพทย์ชนบท เดินทางมากี่คน และจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่าสามารถควบคุมได้เพราะบุคลากรทางการแพทย์นั้น เป็นกลุ่มคนที่เข้าใจหลักการและเหตุผลดีอยู่แล้ว อีกทั้ง ทั้งหมดก็เป็นพี่ๆ น้องๆ กันทั้งนั้น ส่วนกรณีที่มีผู้สนับสนุนจากหลายส่วนได้มาแสดงพลังนั้น ตนเห็นว่าสามารถทำได้เช่นกัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่น่าจะลุกลามปานปลายออกไป เพราะเรื่องนี้ เป็นเรื่องภายในองค์กร ที่คนในองค์กรน่าจะสามารถพูดคุยกันได้ ทั้งนี้ ประเด็นที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกัน ในกระทรวงสาธารณสุข เกิดจากการปรับเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย โดยใช้หลักเกณฑ์พิจารณาจากภาระงาน หรือ พีฟอร์พี (P4P-Pay for Performance) โดย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ตั้งคณะทำงานซึ่งมาจากผู้แทนทุกวิชาชีพจากโรงพยาบาลทุกระดับ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อกำหนดพื้นที่และกำหนดภาระงานในแต่ละวิชาชีพโดยคำนึงสภาพความเจริญของพื้นที่ในปัจจุบัน สถานะทางการเงินของโรงพยาบาลทุกระดับจนได้ข้อสรุปดังนี้มีการปรับพื้นที่สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ พื้นที่เขตเมือง พื้นที่ปกติ พื้นที่เฉพาะ ระดับ 1 และพื้นที่เฉพาะระดับ 2 โดยวางแผนการดำเนินการเป็น 2 ระยะ เพื่อให้บุคลากรและโรงพยาบาล มีเวลาปรับตัว และศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการ เพื่อปรับเปลี่ยนให้เกิดประสิทธิภาพและลดช่องว่างให้น้อยที่สุด ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตามระบบใหม่ระยะแรกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 - 31 มีนาคม 2557 และระยะที่ 2 ตั้งแต่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook