เริ่มแล้ว!เขมรขึ้นแจงพระวิหาร-สุรนันทน์หวังศาลเป็นธรรม

เริ่มแล้ว!เขมรขึ้นแจงพระวิหาร-สุรนันทน์หวังศาลเป็นธรรม

เริ่มแล้ว!เขมรขึ้นแจงพระวิหาร-สุรนันทน์หวังศาลเป็นธรรม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวเอพี รายงานว่า กัมพูชา และไทย ได้เริ่มต้นขั้นตอนการต่อสู้ในศาล เพื่อขอให้ศาลสูงสุด ขององค์การสหประชาชาติ พิจารณาชี้ขาดคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของปราสาทพระวิหาร ที่มีอายุร่วม 1,000 ปี ตั้งอยู่บริเวณชายแดนของทั้ง 2 ประเทศ และมีการปะทะกัน เมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากมีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตัวปราสาท ตามคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ 50 ปีก่อน ที่ตัดสินให้ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา แต่ฝ่ายไทยระบุว่า ไม่มีความชัดเจนเรื่องขอบเขต และคัดค้านจนเกิดการปะทะกัน ทั้งนี้ ในปี 2011 ศาลในกรุงเฮก ได้กำหนดให้มีการกำหนดเขตปลอดทหารรอบปราสาท โดยการเคลื่อนย้ายกองกำลังและพลเรือนออกจากพื้นที่พิพาท สำหรับในการแถลงคดีด้วยวาจา จะมีขึ้น 4 วัน โดยวันนี้ เป็นของทางฝั่งกัมพูชา และในวันพุธ ก็จะเป็นฝ่ายไทยชี้แจง 'ฮอร์ นัมฮง'ขึ้นชี้แจงต่อศาลโลกแล้วเมื่อเวลา 15.06 น. คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เริ่มออกนั่งบัลลังก์ เพื่อรับฟังการให้ถ้อยคำแล้ว โดย นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ได้ขึ้นให้ถ้อยคำ ในส่วนของประเทศกัมพูชา ซึ่ง นายฮอร์ นัมฮง ได้กล่าวขอบคุณที่ศาลได้ให้โอกาสในการเข้าชี้แจงในสิ่งต่างๆ จากนั้น นายฮอร์ นัมฮง ได้กล่าวถึงสาเหตุและปัจจัยที่นำคำพิพากษาเก่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา มาร้องขอการพิจารณาใหม่ โดยย้ำว่าการร้องขอครั้งนี้ไม่ใช่การกระทำที่ซ้ำซาก แต่มีความจำเป็นที่ต้องกลับมาที่ศาลแห่งนี้ เพื่อตีความคำพิพากษาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต พร้อมกันนั้น ได้หยิบยกกรณีการปะทะกันในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำให้ปราสาทบางส่วนเสียหาย และทำให้กัมพูชาไม่สามารถพัฒนาพื้นที่บริเวณปราสาทได้ เป็นเหตุให้กัมพูชาได้ประณามการกระทำครั้งนั้น อีกทั้งยืนยันว่า เรื่องเขตแดนได้มีข้อยุติไปแล้วในเอกสารท้ายคำสั่งของศาลในปี 1962 ไปแล้ว สุรนันทน์หวังศาลโลกเป็นธรรมยันชายแดนสงบนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งศูนย์ประสานงานติดตามการต่อสู้คดีปราสาทเขาพระวิหาร เพื่อประสานกับ กระทรวงการต่างประเทศ และทีมกฎหมายที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยรัฐบาลมั่นใจในจุดยืนและข้อมูลหลักฐานที่ฝ่ายไทยมี และก็หวังจะได้รับความเป็นธรรมจากศาลโลก ส่วนผลคดีจะเป็นอย่างไร ยังไม่สามารถบอกได้ว่า ไทยได้เปรียบหรือเสียเปรียบ และเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจในการทำงานของรัฐบาลและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดโดยใช้เหตุใช้ผล เพราะขณะนี้เป็นเพียงการแถลงด้วยถ้อยวาจา ยังไม่มีการตัดสิน แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวคือ อาจจะมีกลุ่มการเมืองไปกระตุ้นทำให้เกิดความรู้สึกรุนแรงและอย่ากังวลว่าจะแพ้หรือชนะ เพราะไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร ไทยกับกัมพูชา ก็ยังเป็นเพื่อนบ้านกัน และทำให้เกิดสันติภาพในภูมิภาคนี้ เพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน และให้กำลังใจทีมกฎหมาย พร้อมระบุ ควรจะนำบทเรียนว่าเหตุใดเรื่องนี้จึงถูกนำขึ้นไปสู่ศาลโลกอีก ซึ่งฝ่ายค้านนั้น รู้ข้อมูลดีที่สุด ส่วนด้านการดูแลประชาชนตามบริเวณแนวชายแดนนั้น ได้ประสานทุกหน่วยงาน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานสิ่งผิดปกติในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มต่อต้านด้วย ไทยชี้พิพาทพระวิหารเป็นความผิดยูเนสโกสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ในวันนี้ ไทยและกัมพูชา จะเริ่มต้นกระบวนการต่อสู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทตามแนวชายแดนจากปัญหาปราสาทพระวิหาร ที่ตั้งอยู่บนเขตแดนของทั้ง 2 ประเทศ ที่พยายามมุ่งเน้น ในประเด็นของการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในดินแดน ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัคนราชทูตไทย ประจำเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในคณะทำงานด้านคดีดังกล่าว กล่าวกับ สำนักข่าว เอบีซี ว่า ปัญหาข้อพิพาท เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของ ยูเนสโก ที่รับรองปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก ในปี 2007 จากการเสนอของกัมพูชาเพียงชาติเดียว ที่พยายามยึดคำตัดสินเดิม เมื่อปี 1962 ที่ระบุให้ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา แต่ลืมคิดถึงพื้นที่โดยรอบ ซึ่งยังไม่ได้มีการตัดสิน  "ผมคิดว่า สาเหตุที่แท้จริงของเรื่องนี้คือ การตัดสินใจที่ทำโดยกัมพูชาฝ่ายเดียว ที่พยายามจดทะเบียนพระวิหาร เป็นมรดกโลก เพราะก่อนนั้น ก็มีแผนจะร่วมกันเสนอชื่อวัดร่วมกัน เนื่องจากบริเวณโดยรอบอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย โดยจะจัดการร่วมกัน" นายวีรชัย กล่าวในขณะที่ นายกอย เกือง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา 1 ในคณะทำงานของฝ่ายกัมพูชา กล่าวว่า สิ่งที่ต้องการในการต่อสู้ครั้งนี้ คือ ความยุติธรรม "สิ่งที่เราต้องการคือ ความยุติธรรม เราไม่ได้ต้องการอะไรจากด้านอื่นๆ และเราไม่ต้องการที่จะสูญเสียสิ่งที่เป็นของเราตามกฎหมาย" นายกอย เกือง กล่าวทั้งนี้ คาดว่า การพิจารณาคดีน่าจะมีขึ้นในเดือนกันยายน นี้ 'ฮอร์ นัมฮง'บอกยอมรับคำตัดสินปี2505การให้การทางวาจาเพิ่มเติม ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยช่วงแรก คณะผู้พิพากษาได้ชี้แจงถึงรูปแบบการให้การของทั้ง 2 ฝ่าย จากนั้น นายฮอร์ นัมฮง รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศของกัมพูชา ชี้แจงว่า ประเทศไทย มีปัญหาเรื่องการตีความตั้งแต่ในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกัน และเกิดการปะทะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ทำให้มีประชาชน และ จนท.ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก โดย นายฮอร์ นัมฮง ย้ำว่า กัมพูชายอมรับคำตัดสินตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน ปี 1962 หรือ ปี 2505 ซึ่งจะขอให้ศาลตีความคำตัดสินในเรื่องอาณาเขต รวมถึงคำสั่งการถอนกำลังทหารบริเวณชายแดนด้วย เพื่อหวังว่าจะช่วยให้คลี่คลายความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศขณะที่ ทนายความของฝ่ายกัมพูชา ชี้แจงด้วยว่า ตั้งแต่แรก ทั้ง 2 ประเทศ ยอมรับคำตัดสินของศาลในแผนที่ภาคผนวก 1 แต่ไทยกลับพยายามสร้างความสับสน โดยอ้างแผนที่อีกฉบับขึ้นมา ซึ่งก่อให้เกิดมีการรุกรานพื้นที่ แม้ว่า ทางกัมพูชา ได้ใช้วิธีการเจรจาทางการทูต แต่ไทยกลับพยายามตีความฝ่ายเดียว ซึ่งมีการใช้คำพูดเสียดสีก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ กัมพูชา ยืนยันว่า การขอให้ศาลตีความครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อการปักปันเขตแดน แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนและลดความขัดแย้ง ให้ดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสำหรับการติดตามการถ่ายทอดสดการให้การทางวาจา ที่กระทรวงการต่างประเทศนั้น ได้มีสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามการถ่ายทอดสดเป็นจำนวนมาก ทนายกัมพูชาร้องศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 1962 ให้ชัด เมื่อเวลา 15.06 น. คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เริ่มออกนั่งบัลลังก์ เพื่อรับฟังการให้ถ้อยคำแล้ว โดยมี นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชา ขึ้นให้ถ้อยคำในส่วนของประเทศกัมพูชาเป็นคนแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้น ศ.ฌอง มาร์ค ซอเรล จากฝรั่งเศส ทนายความฝ่ายกัมพูชาได้ขึ้นให้ถ้อยความต่อเป็นคนที่ 2 โดยกล่าวหา ไทยตีความคำพิพากษาเพียงฝ่ายเดียว และมีท่าทีไม่เป็นมิตร และไทยพยายามทำให้เห็นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนของไทย พร้อมกับหยิบยกข้อ 60 ตามธรรมนูญของศาลโลก เรื่องอำนาจของศาลซึ่งเน้นขอบเขตอำนาจศาล ให้เห็นว่าข้อต่อสู้ของไทยไม่มีผลใดๆ นอกจากนี้ กัมพูชา จึงต้องการให้ศาลอธิบาย และมีคำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับคำพิพากษาในปี 1962 ว่า พื้นที่ตามคำพิพากษามีขอบเขตแค่ไหน และคำว่า ถอนทหาร นั้นจะต้องถอนออกไปตั้งแต่บริเวณไหน อย่างไร เพื่อความชัดเจน เพราะเมื่อปี 2554 ที่ให้ถอนทหารออกจากเขตพิพาทรอบปราสาทพระวิหาร ไทยถอนกำลังทหารออกไปเมื่อศาลโลกมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราว วันที่ 18 กรกฎาคม 2554 แต่ส่งกำลังทหารกลับเข้าไปในพื้นที่พิพาทกับกัมพูชาอีกครั้ง จึงอยากให้ศาลโลกตีความให้เป็นคำสั่งถาวร มิใช่เป็นเพียงคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเท่านั้น ทนายกัมพูชาอ้างไทยแพ้แล้วไม่ยอมรับบรรยากาศภายในศูนย์ข่าวกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อติดตามการถ่ายทอดสดการให้การด้วยวาจาต่อศาลโลก ผู้สื่อข่าวก็ยังคงติดตามการถ่ายทอดสดจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ อย่างต่อเนื่อง โดยภายหลังจากที่ องค์คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สั่งพักการให้การด้วยวาจา เป็นเวลา 10 นาที ล่าสุดองค์คณะผู้พิพากษาได้เปิดให้ทางกัมพูชา ให้การด้วยวาจาต่อ โดยทนายความของกัมพูชา ได้พยายามยกแผนที่ภาคผนวก 1 หรือ 1 : 200,000 ขึ้นมายืนยัน ถึงเส้นแบ่งปักปันเขตแดน และใช้คำตัดสินเมื่อปี 1962 ที่ไทยและกัมพูชาต่างก็ยอมรับ แต่ไทยกลับพยายามเสนอเหตุผลอื่นนอกเหนือจากแผนที่ตามภาคผนวก 1 โดยมองว่า ไทยมีความผิดปกติอย่างชัดเจน เรื่องการยอมรับคำตัดสินของศาล ที่ผู้แพ้ไม่มีสิทธิ์ตีความเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ฝ่ายกัมพูชา ขอให้ศาลตัดสินชี้ขาดให้ยุติเรื่องการตีความ ซึ่งขอให้เปลี่ยนจากมาตรการชั่วคราวในการถอนทหาร ให้เป็นมาตรการถาวร อย่างไรก็ตาม กัมพูชาตั้งข้อสังเกตอีกว่า ไทยเองกระทำการขัดต่อคำสั่งของศาลโลก เปรียบเสมือนการไม่ยอมรับอำนาจของศาลมาโดยตลอด พร้อมกันนี้ กัมพูชา อ้างว่า ไทยเป็นผู้แพ้ แต่ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ โดยขอให้ไทย หยุดเรียกร้อง การเป็นเจ้าของปราสาทพระวิหาร ซึ่งกัมพูชายึดการทำรั้วลวดหนามที่ล้อมรอบตัวปราสาทพระวิหารอย่างหนักแน่น 'สุรพงษ์'โวคำแจงกัมพูชาเป็นไปตามคาดนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า การให้การด้วยวาจาของกัมพูชา ต่อ องค์คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ในช่วงแรกของวันนี้ ถือว่าเป็นไปตามความคาดหมายของไทยทั้งหมด จากการหยิบยกในเรื่องแผนที่ ภาคผนวก 1 และการปะทะกันบริเวณชายแดน ซึ่งมั่นใจว่า ทีมทนายความของไทยจะสามารถชี้แจงทุกข้อกล่าวอ้างของฝ่ายกัมพูชาได้อย่างไรก็ตาม ยังไม่ขอแสดงความเห็นต่อการให้การด้วยวาจาของกัมพูชาในขณะนี้ โดยขอฟังการแถลงของกัมพูชาให้จบก่อน จึงจะมีการประเมินรายละเอียดอีกครั้ง รวมถึงให้ประชาชนรอฟังคำตัดสินที่ชัดเจนของศาลโลกจะดีกว่า ทนายกัมพูชา ยก MOU 43 ชี้ ไทยยอมรับคำตัดสินศาลโลกภายหลังจากที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลโลก สั่งพักการให้การด้วยวาจา เพื่อพักรับประทานอาหารเที่ยงตามเวลาเนเธอร์แลนด์ ล่าสุด องค์คณะผู้พิพากษา ได้ออกนั่งบัลลังก์ต่อ โดย ทนายความของกัมพูชา ยังคงชี้แจงว่า หลักการคิดของไทย ในเรื่องแผนที่นั้น มีตรรกะของตัวเอง เพื่อหาเหตุผลมารองรับการกระทำตามการตีความของศาลโลก ซึ่งทำให้มีปัญหาขณะเดียวกัน ทั้งไทยและกัมพูชา ได้มีการลงนามความตกลง MOU 43 เมื่อปี 2000 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไทยเองก็ยอมรับกับคำตัดสินของศาลโลกด้วยทั้งนี้ องค์คณะผู้พิพากษา จะเปิดให้กัมพูชา ได้ให้การด้วยวาจา จนถึงเวลาประมาณ 21.30 น. ส่วนในเวลา 22.30 น.ในวันนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศ พร้อม นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และ รมว.ศึกษาธิการ และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม จะให้สัมภาษณ์จากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผ่านโทรศัพท์ทางไกล มายังศูนย์ข่าวกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อตอบคำถามผู้สื่อข่าว รวมถึงประเมินผลคำให้การของฝ่ายกัมพูชา ในวันนี้ด้วย ซึ่งภายในศูนย์ข่าวกระทรวงการต่างประเทศ ขณะนี้ ผู้สื่อข่าวยังคงติดตามการถ่ายทอดสด จากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ อย่างต่อเนื่อง -------------------------------------------นายกฯเกาะติดพระวิหารเขมรแจงศาลโลก-ชายแดนเข้มhttp://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=446805
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook