วีรชัยเยี่ยม-นายกฯโทรทางไกลชมทีมทนายคดีพระวิหาร

วีรชัยเยี่ยม-นายกฯโทรทางไกลชมทีมทนายคดีพระวิหาร

วีรชัยเยี่ยม-นายกฯโทรทางไกลชมทีมทนายคดีพระวิหาร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การให้ถ้อยแถลงทางวาจาของทีมทนายความฝ่ายไทยต่อศาลโลก รอบสุดท้ายได้เริ่มขึ้นแล้ว โดย ศ.อแลง แปลเลต์ ทนายความฝ่ายไทย ขึ้นชี้แจงเป็นคนแรก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าศาลไม่มีอำนาจในการตีความในคดีเดิมอีก เนื่องจากกัมพูชาไม่มีเหตุผลที่มีน้ำหนักในการร้องขอให้ศาลตีความ เพราะในคดีเดิมไม่มีเนื้อหาเรื่องเส้นแบ่งเขตแดน ในแผนที่ ภาคผนวก 1 หรือ 1 : 200,000 ที่ศาลเคยปฏิเสธที่จะตัดสินไปแล้ว รวมถึงยืนยันว่า ไทยได้ปฏิบัติตามคำตัดสินในบทปฏิบัติการทุกประการเรื่องการถอนทหาร ขณะเดียวกันสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์ของกัมพูชา ไม่ได้ทักท้วงมติ ครม.ในการขึงรั้วลวดหนามรอบปราสาท ว่าเป็นแค่พื้นที่เล็กน้อย 2 - 3 เมตรเท่านั้น ดังนั้น ถ้าหากศาลรับพิจารณาจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ โดยไม่สามารถทำได้สำหรับการชี้แจงของไทยรอบสุดท้ายในวันนี้ ศาลจะรับฟังถ้อยแถลงจนถึง เวลา 22.00 น. ซึ่งหลังจากการให้ถ้อยแถลงของฝ่ายไทยเสร็จสิ้นลง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะได้มีการโทรศัพท์ทางไกล ไปขอบคุณคณะทำงานทีมกฎหมายฝ่ายไทย ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้วย   'อลินา' ยัน แผนที่เขมรคลาดเคลื่อนน.ส.อลินา มีรอง ทนายความของฝ่ายไทย ระบุอย่างชัดเจนว่า กัมพูชา ต้องการเปลี่ยนชื่อคำร้อง ให้ศาลตีความของเส้นเขตแดน พร้อมทั้งยืนยันว่า ไทยไม่ได้มีการปลอมแปลงแผนที่ใหญ่ หรือ Big Map ตามที่กัมพูชากล่าวหา เพราะไม่มีใครสามารถสร้างแผนที่ขึ้นมาใหม่ได้โดยง่าย แต่ศาลให้ดึงออกมาจากแผนที่ใหญ่ และผู้พิพากษาเองก็ใช้แผนที่นี้ประกอบการพิจารณามาโดยตลอด ทั้งนี้จากการถ่ายทอดเส้นในแผนที่เก่าในภาคผนวก 1 มาลงแผนที่ใหม่นั้น จำเป็นต้องเอาหลักความเป็นจริง คือ ยึดเส้นเขตแดนตามหลักภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ หรือ หลักสันปันน้ำ แต่แผนที่แผ่นที่ 3 และ 4 ของกัมพูชาทำออกมาคลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง คลาดเคลื่อนจากหลักสภาพภูมิศาสตร์ทั้งหมด และยังปฏิเสธที่จะยึดตามหลักสันปันน้ำ ดังนั้น ถือว่า กัมพูชาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสนธิสัญญาในการแบ่งเส้นเขตแดนสันปันน้ำในปี 1904 และปี 1908 และจากการที่กัมพูชายึดแผนที่ในภาคผนวก 1ทั้งนี้ น.ส.อลินา มีรอง กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญจาก IDIU แนะนำสำหรับวิธีการทำเส้นบนแผนที่ ว่าต้องมาจากเขตแดนที่มั่นคงทางธรรมชาติ คือ เส้นสันปันน้ำเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สันปันน้ำ ไม่ใช่สิ่งที่สมมุติขึ้น แต่เป็นเส้นที่มีอยู่จริง ด้าน โดนัล เอ็ม แม็คเรย์ ทนายกฎหมายทีมไทย ขึ้นชี้แจงต่อศาลโลกว่า แผนที่ L7017 หรือ แผนที่ 1:50,000 ยึดแนวรั้วลวดหนาม ตาม มติ ครม.ไทย ซึ่งไม่ได้เป็นแผนที่ลับตามที่กัมพูชากล่างอ้างแต่อย่างใด โดยไทยได้ส่งให้ทางกัมพูชาดูและรับทราบถึงแผนที่แล้วว่า ไทยต้องการใช้แผนที่ดังกล่าวเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ขณะที่ เจมส์ ครอฟอร์ด ทนายความคนที่ 4 ของไทย ได้ยืนยันว่า ไทยได้ปฏิบัติตามข้อบทปฏิบัติการแล้ว คือการถอน กำลังทหารของไทยออก ตามคำตัดสิน ปี 1962 ท้ายสุด นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะ หัวหน้าทีมทนายความ สรุปปิดท้าย ว่า ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาตามคำขอ รวมถึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องตีความ  อีกทั้งคำขอของกัมพูชา ก็ไม่มีมูล โดยได้ชี้แจงถึงค่านิยมและหลักปฏิบัติ ในความคงเส้นคงวาของไทย ที่ยืนยันว่า ปัญหาเขตแดนไม่ได้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาล ในปี 1959 และศาลก็ไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดน ในปี 1962 ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ประเทศคู่ความต้องตกลงกันเอง โดยไทยยืนยันเส้นสันปันน้ำ แม้ว่าเส้นสันปันน้ำจะชี้ให้เห็นว่าตัวปราสาทนั้นอยู่ในฝั่งไทยก็ตาม แต่ไทยก็ยอมรับคำพิพากษาแม้ไม่เห็นด้วย แต่ไทยยังคงเส้นคงวาในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ คำขอให้ศาลตีความไม่ใช่วิถีที่ดีที่สุด ที่จะตีความในคดีที่ตัดสินไปแล้ว  สำหรับประเทศไทยมีหลักฐานแสดงมาโดยตลอด ในเรื่องของเส้นแบ่งตามมติ ครม.และได้ยื่นหลักฐานนี้ให้ศาลตั้งแต่แรก และสอดคล้องตามหลักฐานของกัมพูชา ในแผนที่ภาคผนวก 66C นอกเหนือจากนิสัยของกัมพูชาที่ชอบแย่งหลักฐานของไทยไปใช้  จุดยืนของกัมพูชา ตั้งแต่ปี 1959 มีแต่ความไม่คงเส้นคงวามาตลอด ความไม่คงเส้นคงวาของกัมพูชา ตอนที่ 1 ในปี 1959 กัมพูชา ขอให้พิพากษาเรื่องการบูรณภาพเหนือปราสาท  แต่ในปี 1962 ขอให้ศาลพิพากษาเรื่องเขตแดนและสถานภาพทางกฎหมายในแผนที่ภาคผนวก 1 ไม่น่าแปลกใจศาลได้ปฏิเสธ ความไม่คงเส้นคงวา ตอนที่ 2 กัมพูชายื่นแผนที่ภาคผนวก 1 แต่ในครั้งนี้มีอีกอันที่มีเส้นแบ่งเขตแดน ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะใช้เส้นใดกันแน่ที่จะให้ศาลตัดสิน แต่ก็เงียบไปเพราะไปกระทบกับพื้นที่ ที่ต้องการที่ใหญ่ขึ้น มีการเบี่ยงเบนหลักฐาน ยึดเส้นเทียมในการใช้แบ่งเส้นเขตแดน และในปี 1961 ได้มีการปลอมแปลงรายงานของผู้เชี่ยวของไทยจนจำเค้าโครงเดิมไม่ได้ เป็นการปฏิเสธตามแผนที่ภาคผนวก 66C ที่อยู่ในภาคผนวก 1 ตามอำเภอใจ  ขณะเดียวกัน ความไม่คงเส้นคงวา ตอนที่ 3 กัมพูชา ในปี 1962-1963 ได้เคยยอมรับอย่างเป็นทางการใน เส้นมติ ครม. เส้นรั้วลวดหนามและป้าย มาถึงวันนี้กลับไม่ยอมรับว่า เส้นนี้มีอยู่จริง  ซึ่งที่ผ่านมา กัมพูชา ไม่ได้เรียกร้องพื้นที่แตกต่างกันตามแนวเส้นมติ ครม. ว่า มีความแตกต่างเพียง 2-3 เมตร ไม่มีสำคัญ แต่มาวันนี้ได้อ้างและเรียกร้องถึง 4.5 ตารางกิโลเมตร ความไม่คงเส้นคงวาตอนที่ 4 ข้อเรียกร้องของกัมพูชาในปี 2011 ขอให้ศาลตีความในบทปฏิบัติการใน วรรค 2 แต่มาวันนี้ ขอให้ตีความทั้ง วรรค1 และวรรค2 และความเชื่อมโยงของทั้งวรรค1 และวรรค2  ทั้งนี้ กัมพูชา ใช้จินตนาการมาเป็นข้อเรียกร้อง อ้างแผนที่ในระวาง 3,4  ทำให้เป็นที่น่าสับสนมาก อีกทั้ง พยายามกล่าวอ้างว่าไทย ขอให้ศาลแก้ข้อผิดพลาดในอดีต แต่ลืมไปว่า กัมพูชาเองเป็นผู้นำเรื่องนี้ขึ้นศาล ไม่ใช่ไทย ข้อเท็จจริง ตามแนวชายแดนเส้นแบ่งเขตแดน มีความสงบตามคำสั่งศาล แต่กัมพูชาก็พยายามอ้าง ตามรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ว่ามีกำลังทหารของไทยปรากฏอยู่ในฝั่งของเส้นตามมติ ครม. ดังนั้นการกล่าวอ้างนี้เป็นบ่อนทำลายเสถียรภาพและข้อยุติอย่างไรก็ตาม ไทยไม่ได้ขออะไรไปมากกว่าของที่เป็นของเรา ตั้งแต่ปี 1962 โดยขอย้ำว่า ที่กัมพูชาร้องขอศาลไม่ชอบด้วยเหตุผล เป็นการตีความเอาเอง ปลอมแปลงเอกสารแผนที่และชี้นำศาลว่า แผนที่ L7017 ว่าเป็นแผนที่ลับทั้งที่ไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ ได้เลย  ทั้งนี้ 2 ประเทศ ก็ยังถือว่าเป็นชุมชนอาเซียน ภายใต้หลักนิติธรรมต้องมาก่อน เพื่อให้มีสันติภาพที่ยั่งยืนเกิดขึ้นต่อกัน ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้น การให้ถ้อยแถลงทีมทนายความของไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์ทางไกลไปยังกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยขอบคุณคณะทนายความต่อความตั้งใจเป็นอย่างมากในการทำหน้าที่ ถือว่าทำได้ดีมาก โดยเฉพาะการสรุปปิดท้ายของ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ฐานะหัวหน้าทีมทนายความ  แม้ว่าวันแรก กัมพูชา ได้แถลง คนไทยอาจจะใจหายเล็กน้อย แต่วันนี้ทีมทนายความของไทย ก็ตอบได้ทุกประเด็น  ถือว่าประสบความสำเร็จ จากนั้น นายกฯ ได้กล่าวขอบคุณเป็นภาษาอังกฤษ กับ ศาสตราจารย์ อแลง แปลเลต์ และทีมมนายความชาวต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวก่อนวางสายว่า ทราบว่าทุกท่านได้ทำงานอย่างหนักมาตลอด โดยเฉพาะทั้ง  4 วันที่ผ่านมา ซึ่งคนไทยต่างได้เอาใจช่วย โดยหลังจากนี้ ขอให้ท่านได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และเดินทางกลับไทยอย่างปลอดภัยขณะที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า ในวันที่ 22 เมษายนนี้ เวลา 14.00 น. จะพาทีมทนายความทั้งหมด เข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook