เพื่อไทยอัดศาลรธน. ก้าวล่วงนิติบัญญัติจี้ทบทวนบทบาท

เพื่อไทยอัดศาลรธน. ก้าวล่วงนิติบัญญัติจี้ทบทวนบทบาท

เพื่อไทยอัดศาลรธน. ก้าวล่วงนิติบัญญัติจี้ทบทวนบทบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 5 ต่อ 3 รับคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา ให้วินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญผิดมาตรา 68 นั้น เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัย เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์การอิสระที่มาจากรัฐธรรมนูญ และไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การดำเนินการดังกล่าว จึงเป็นการก้าวล่วงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ผิดหลักการถ่วงดุลอำนาจ อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ทบทวนบทบาทการพิจารณา เพื่อป้องกันความขัดแย้ง และไม่ให้เกิดความวุ่นวาย นอกจากนี้ นายพร้อมพงศ์ ยังยืนยันว่า จะไม่ส่งคำชี้แจงไปยังศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนเวลารับคำชี้แจงออกไปถึงวันที่ 15 พ.ค. 'วรินทร์'อัดส.ส.-ส.ว.ไม่รับอำนาจศาลเท่ากับล้มล้างรธน. นายวรินทร์ เทียมจรัส อดีต ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ได้ยื่นไป 3 ประเด็น คือ มาตรา 68 ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ มาตรา 237 ที่แก้เพื่อประโยชน์ของกรรมการบริหารพรรค และมาตร 190 อำนาจในการพิจารณาสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ได้ร้องขอเข้าไปเป็นผู้ร้องร่วมกับ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ซึ่งในส่วนของ ส.ส. และ ส.ว. มีหน้าที่พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ เมื่อไปขอแก้ในลักษณะลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชน ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหน้าที่ และถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรจะมีการทำประชามติ ในเมื่อเรื่องนี้ไม่ผ่านกระบวนการตรงนี้ ศาลก็สามารถพิจารณาได้เลย เพราะเป็นเรื่องของการถ่วงดุลอำนาจ ไม่ใช่เรื่องการก้าวก่ายกันแต่อย่างไรนอกจากนี้ นายวรินทร์ ยังกล่าวอีกว่า การที่สมาชิกรัฐสภา 312 คน คัดค้านไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ก็เป็นการปฏิเสธรัฐธรรมนูญ ปี 50 ซึ่งเท่ากับเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญก็ให้อำนาจศาลไว้อยู่แล้วด้วย ตำรวจเข้มรปภ.บ้านพัก9ตุลาการศาลรธน.พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยถึงมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยศาลรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ว่า ขณะนี้ยังคงใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 3 กองร้อย หรือประมาณ 300 นาย ในการดูแลรักษาความปลอดภัยโดยรอบอาคารศาลรัฐธรรมนูญสำหรับกรณีที่ภายหลัง ศาลรัฐธรรมนูธ มีมติรับคำร้อง พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ที่ให้ระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 เพิ่ม รวมไปถึง กลุ่มคนเสื้อแดง โดยกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ประกาศยกระดับการชุมนุม เกณฑ์มวลชน 1 แสนคน ขับไล่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทางตำรวจจำเป็นต้องเพิ่มกำลังในการดูแลรักษาความปลอดภัยหรือไม่นั้น พล.ต.ต.ปริญญา ระบุว่า ยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังในการรักษาความปลอดภัยศาลรัฐธรรมนูญ หากผู้ชุมนุมยังไม่มีการบุกรุกเข้าไปในสถานที่ราชการ หรือทำลายทรัพย์สินของรัฐขณะที่ ในส่วนของตัวบุคคล คือ ตุลาการทั้ง 9 ท่านนั้น ได้มอบหมายให้ท้องที่จัดกำลังสายตรวจ ไปคอยสอดส่องดูแลที่พักอาศัย เพื่อป้องกันกลุ่มผู้ไม่หวังดีไปก่อเหตุป่วนขวางปาสิ่งของ ทั้งนี้ ตุลาการทั้งหมด ยังไม่มีการร้องขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามแต่อย่างใด ซึ่งหากมีการประสานขอกำลัง ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล ก็จะพิจารณาเพื่อส่งกำลังไปดูแลอย่างใกล้ชิด บวรชี้พท.แถลงจม.เปิดผนึกเท่ากับแจงศาลแล้ว นายบวร ยสินทร ประธานเครือข่ายราษฎรอาสารักษาปกป้องสถาบัน เปิดเผยกับรายการ เปิดข่าวเด่น เจาะประเด็นดัง ถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย จะแถลงจดหมายเปิดผนึก ไม่ยอมรับอำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ทันทีที่มีคำแถลงอย่างเป็นทางการ ตนก็จะแถลงให้สาธารณะได้เข้าใจในประเด็นปัญหา และการแถลงต่อสาธารณะ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นคำชี้แจงต่อรูปคดีที่ได้ยื่นไปเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ คาดว่า จะเป็นการแถลงไม่รับประเด็นในคดีนี้มากกว่า ก็เท่ากับไม่ปฏิเสธว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจ เพราะฉะนั้นเท่ากับเป็นความขัดแย้งในคดี ซึ่งก็มีสิทธิ์ที่จะเห็นต่าง ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำสั่งไปแล้วว่า หากไม่ชี้แจงอย่างเป็นทางการถือว่าไม่ติดใจ เมื่อไม่ติดใจคดีก็ไม่ยุติลง ศาลก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน ก็ไม่มีผลต่อรูปคดี เมื่อถึงเวลาศาลก็เปิดโอกาสให้มาไต่สวน ซึ่งสามารถแถลงด้วยวาจาภายหลังได้   
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook